N95 ขาดตลาดไม่เป็นไร งานวิจัยชี้ “หน้ากากอนามัยซ้อนทิชชู่” ป้องกันฝุ่นละอองได้


หลังสภาพอากาศในกรุงเทพฯ และพื้นที่ปริมณฑล ต้องประสบปัญหาปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เกินค่ามาตรฐาน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าเป็นค่าที่อันตรายต่อสุขภาพ มีความเสี่ยงการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หลอดเลือดโรคเยื่อบุตาอักเสบ และโรคผิวหนัง

สำหรับวิธีป้องกันนั้น ง่ายๆ เลยคือการหาหน้ากากอนามัยมาสวมใส่ เพื่อป้องกันฝุ่นละออง อย่างไรก็ตามหน้ากากที่นำมาสวมใส่นั้นไม่ใช่หน้ากากที่เราเห็นกันทั่วไป แต่ต้องเป็นหน้ากากป้องกันอนุภาคฝุ่นละออง N95 ซึ่งด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่มีผู้คนต้องการเป็นจำนวนมาก จึงทำให้หน้ากากดังกล่าวขาดตลาดไปโดยปริยาย

ทั้งนี้ทั้งนั้น ประชาชนสามารถนำหน้ากากประยุกต์ใช้กับสิ่งของที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน ดูได้จากงานวิจัยของ ศ.ดร. อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณในเรื่องการพัฒนาชุดความรู้ด้านประสิทธิภาพของหน้ากากป้องกันฝุ่นขนาดเล็กที่ได้ตรวจประสิทธิภาพของหน้ากากป้องกันฝุ่นต่อการป้องกันอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5ใน อากาศ โดยทําการวัดระดับรายวัน (24 ชั่วโมง) ของอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก (PM 2.5) ภายในอาคารและ ภายนอกอาคารในอากาศจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน 2551 โดยตั้งเครื่องเก็บ อากาศ Minivol air sampler เพื่อเก็บตัวอย่างอากาศภายนอกอาคารที่ระเบียงทางเดิน ชั้น 2 ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเก็บตัวอย่างอากาศภายในอาคารในห้องปฏิบัติการ Bioassay Research Laboratory ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดยผลลัพธ์ของงานวิจัย พบว่าการใช้หน้ากาก ป้องกันฝุ่นชนิด 3M 8210, N95 และ 3M 9002A สามารถลดระดับ PM 2.5 ในอากาศทั้งภายนอกและภายใน อาคารได้ประมาณ 87 – 96 % ส่วนหน้ากากชนิดที่ใช้ในห้องผ่าตัด (Dura) สามารถลดระดับของ PM 2.5 ได้ประมาณ 48 % การใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูซ้อนอยู่ใน Mask dura สามารถลดระดับ PM 2.5 ได้ดี ขึ้น ถึงมากกว่า 75 – 90 % จากการทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อยืนในสารสกัดจากตัวอย่างอากาศที่เก็บ

ที่มา:งานวิจัยการพัฒนาชุดความรู้ด้านประสิทธิภาพของหน้ากากป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง