รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
วัยรุ่นถือเป็นวัยที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่การเป็นผู้ใหญ่ โดยธรรมชาติของวัยรุ่นแล้วเขาจะตัดสินใจจากความสุขหรือความสนุกที่ได้รับมากกว่าจะตัดสินใจด้วยเหตุและผล เนื่องจากสมองส่วนการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจยังพัฒนาไม่เต็มที่
ดังนั้นจึงไม่แปลกใจว่าอะไรที่เขาทำแล้วมีความสุข รู้สึกสนุก เขาจึงทำโดยที่ไม่คิดถึงสิ่งที่จะตามมา เช่น ติดคุยโทรศัพท์หรือแชทกับเพื่อนโดยไม่สนใจคนรอบข้างหรือสนใจพ่อแม่ หรือการติดเกม ติดหน้าจอต่างๆ จนไม่ทำการบ้าน เพราะสมองส่วนการคิดวิเคราะห์ตัดสินใจยังโตไม่เต็มที่
พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร จึงได้แนะนำเคล็ดลับในการเลี้ยงลูกวัยรุ่นด้วยกัน 6 ข้อ คือ
1.อย่าคาดหวังว่าลูกวัยรุ่นจะคิดเองได้
อย่างที่ยกตัวอย่างไป ว่าลูกติดแชท ติดจอ จนไม่สนใจสิ่งอื่นรอบตัว ซึ่งบางครั้งพ่อแม่จะคาดหวังว่าลูกจะคิดเองได้ว่า ถึงเวลาที่ต้องลงมาทานข้าวแล้ว ต้องหันมาคุยกับคนอื่นบ้าง หวังว่าลูกจะวางมือถือลงเอง หันมาทำการบ้านเอง ซึ่งอย่างที่บอกว่าเขาตัดสินใจตามความรู้สึก ดังนั้น จึงไปคาดหวังว่าเขาจะคิดเองไม่ได้ ซึ่งพอไม่เป็นไปตามคาดหวัง ก็จะรู้สึก โกรธ โมโห และเกิดการต่อว่าหรือมีปากเสียงกัน ซึ่งตรงนี้จะยิ่งทำลายสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในครอบครัว ดังนั้น การสื่อสารเชิงบวกกับลูกในกรณีเช่นนี้คือ ต้องใช้วิธีพูดคุยแล้ววางกรอบกติกา เช่น วันนี้จะคุยกับเพื่อนนานเท่าไรดี แต่สัก 6 โมง อย่าลืมออกมาทานข้าวนะ เป็นต้น คือให้เขาทำสิ่งนั้นได้อย่างเข้าใจ แต่ต้องวางกรอบเวลาให้เขาด้วย
2.มีทักษะการรับฟังที่ดี
ฝึกลูกให้คิดเป็น ปัญหาหลักๆ ที่ทำให้พ่อแม่และลูกวัยรุ่นสื่อสารกันน้อยลงและไม่ค่อยเข้าใจคือ พ่อแม่ฟังลูกไม่เป็น โดยพ่อแม่จะฟังเพื่อสั่งสอน เพราะถูกตั้งโปรแกรมไว้ว่า พ่อแม่ต้องสั่งสอนลูก เพราะเราสอนลูกมากว่าสิบปี ซึ่งแบบนี้ไม่ได้เป็นการฟังเพื่อฟังลูกอย่างแท้จริง ซึ่งลูกต้องการให้เรารับฟังเขา ไม่ได้ต้องการเล่าให้ฟังแล้วพ่อแม่มาว่า มาด่า มาสั่งสอนเขา ซึ่งหากพ่อแม่ทำพฤติกรรมเช่นนี้เขาก็จะฟังหูซ้ายทะลุหูขวา และรำคาญ เขาก็จะเกิดความคิดว่าต่อไปอย่ารู้เรื่องของเขาเยอะเลย ฟังแล้วพูดเยอะ และเป็นการผลักเขาออกไป ดังนั้น พ่อแม่จึงควรรับฟังลูกอย่างเข้าใจและชวนลูกคุย แต่ไม่ใช่การสั่งสอน คุยเพื่อชวนให้ลูกคิดว่าอย่างนี้เป็นอย่างไร อย่างนั้นเป็นอย่างไร เพื่อฝึกให้เขาคิดเองเป็น
3.ปล่อยให้ลูกเผชิญความผิดพลาดบ้าง
พ่อแม่มักจะไม่อยากให้ลูกต้องเจอกับปัญหาที่เรากังวล แต่จริงๆ แล้วเด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่าง หากไม่ทำการบ้าน วันรุ่นขึ้นต้องเจอครูทำโทษแน่นอน หรือหากเขานอนดึกแล้วตื่นสาย พ่อแม่ก็ต้องไม่รอ ให้เขาไปโรงเรียนเอง หรืออย่างการทิ้งเสื้อผ้าเรี่ยราด ไม่ทิ้งลงตะกร้า ก็ต้องบอกให้ชัดว่า แม่จะซักเสื้อผ้าเฉพาะที่อยู่ในตะกร้าเท่านั้น แล้วต้องทำจริงอย่างที่พูดด้วย เพื่อให้เขารู้ว่าหากเขาทำแบบนี้ เขาจะเจอผลลัพธ์อะไรอย่างไรบ้าง เขาก็จะเรียนรู้และระมัดระวังในพฤติกรรมมากขึ้น
4.คุยกันโดยไม่แบ่งแยกเพศ
พ่อแม่มักมีความเชื่อว่า เรื่องอย่างนี้ต้องให้แม่คุยกับลูกสาว เรื่องอย่างนี้ต้องให้พ่อคุยกับลูกชายถึงจะดี ซึ่งจริงๆ แล้วความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกไม่ขึ้นกับเรื่องของเพศเลยอย่างสมมุติพ่อจะกอดลูกสาว ก็กอดไปเลยหากเราไม่ได้คิดอะไรเรื่องทางเพศ ก็ทำเหมือนตอนเขายังเป็นเด็กได้ หรืออย่างพ่อจะพูดเรื่องประจำเดือนกับลูกสาว ก็อาจกังวลว่าตนไม่รู้เรื่องพวกนี้ ควรให้แม่เป็นคนพูด แต่ความจริงแล้วต้องปลดล็อกเรื่องเหล่านี้ในใจตนเองก่อน ว่าพ่อแม่มีหน้าที่คุยกับลูกแล้วช่วยลูกคิด โดยไม่ต้องยึดติดกับเรื่องเพศ ไม่ว่าเรื่องอะไรพ่อและแม่ต้องคุยกับลูกได้ทั้งหมด คุยกับลูกเพศไหน เรื่องใดก็ได้ เพราะจริงๆ แล้วเด็กไม่ได้คิดเลยว่าเรื่องนี้คุยกับพ่อได้คุยกับแม่ได้ แต่หากพ่อแม่สามารถคุยกับลูกได้ทุกเพศทุกเรื่องก็จะทำให้ทุกเรื่องกลายเป็นเรื่องธรรมดาและพูดคุยกันได้
5.ให้พื้นที่ส่วนตัวลูกบ้าง
แม้การเลี้ยงลูกวัยรุ่น เราจะอยากให้ลูกไว้ใจ และมาคุยมาปรึกษากับเราทุกเรื่อง แต่พ่อแม่ต้องยอมรับว่า ลูกทุกคนก็ย่อมต้องมีความลับของตนเองที่ไม่สามารถบอกใครได้เช่นกัน แม้แต่กับพ่อแม่ ซึ่งตนเชื่อว่าลูกทุกคนก็ไม่ได้พูดทุกเรื่องกับพ่อแม่ ทั้งนี้ การที่เขาไม่ได้บอกเรา ไม่ได้แปลว่าเขาไม่ได้ไว้ใจเรา ดังนั้น อย่าคาดหวังว่าเขาจะคุยกับเราทุกเรื่อง หรืออย่ารู้สึกผิดหวังที่เขาไม่เล่าเรื่องนี้ให้เราฟัง เพราะอย่างพ่อแม่เองก็มีความลับที่ไม่ได้บอกกับลูกทุกเรื่องเช่นกัน เราก็ต้องเคารพในพื้นที่ส่วนตัวของลูกด้วยอย่างบางอย่างเป็นเรื่องที่เขาไม่ได้อยากให้เราเป็นกังวล หรือเป็นเรื่องที่เขาอยากแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งตรงนี้ถือเป็นเรื่องที่ดี เป็นการฝึกพัฒนาทักษะความเป็นผู้ใหญ่ที่จะต้องช่วยเหลือและดูแลตนเองได้ โดยพ่อแม่คอยทำหน้าที่ให้คำปรึกษาตอนเขาหาทางออกไม่ได้ก็พอ ไม่ต้องไปคุ้ยทุกเรื่องของลูก
6.เริ่มสื่อสารกับลูกตั้งแต่วันนี้
บางคนอาจกังวลว่าจะมาเริ่มสื่อสารเชิงบวก เพื่อเข้าใจลูกในช่วงวัยรุ่นจะทันหรือไม่ จริงๆ แล้วความสัมพันธ์จะเริ่มก่อร่างขึ้นตั้งแต่เขายังเด็ก หากสื่อสารกันได้ตั้งแต่ยังเล็กก็นับเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะจะเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีต่อเนื่องจนกระทั่งเป็นวัยรุ่น แต่หากจะมาเริ่มตอนลูกเป็นวัยรุ่นแล้วกังวลว่าไม่ทันแล้ว ก็จะยิ่งปล่อยให้ความสัมพันธ์ไม่ดีต่อกันไปเรื่อยๆ จึงต้องบอกว่าเริ่มวันนี้ก็ดีกว่าวันพรุ่งนี้ และเริ่มวินาทีนี้ก็ย่อมดีกว่ารอวินาทีถัดไป การสื่อสารเชิงบวกกับลูกจึงสามารถเริ่มต้นได้ทันที ไม่ต้องรอเวลาอีกต่อไป
หากพ่อแม่เข้าใจความเป็นธรรมชาติของวัยรุ่น ปรับตัวเองจากคนสอนสั่ง มาเป็นคนโค้ชที่คอยรับฟังปัญหา ฝึกให้เขาคิดเองเป็น คิดหาทางออก และแก้ปัญหาด้วยตนเอง การเลี้ยงลูกวัยรุ่นก็ดูจะไม่ใช่เรื่องยากเย็นอีกต่อไป
ข้อมูลจาก: กรมสุขภาพจิต