การเมืองในประเทศไทยส่งผลกระทบการผลิต การจำหน่ายภายในประเทศ และการส่งออกของอุตสาหกรรมในปี 2557 โดยมีการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมจำนวน 300 รายใน 9 อุตสาหกรรม ชี้ถึงกรณีดังกล่าวส่งผลต่อการผลิต การจำหน่ายและการส่งออกลดลง
ยืนยันการเมืองมีผลกับอุตสาหกรรมปี 2557
จากการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าผลกระทบทางการเมืองในปัจจุบันมีผลเกี่ยวเนื่องกับภาคอุตสาหกรรมไทยเป็นอย่างมาก โดยนายธีรทัศน์ อศรางกูร ณ อยุธยา นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ กล่าวว่า ความขัดแย้งทางการเมืองส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในปี 2557 แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกผู้ขายสินค้าภายในประเทศ ได้รับผลกระทบ 82.2% ไม่ได้รับผลกระทบ 17.8% ส่วนกลุ่มที่สองผู้ส่งออก ได้รับผลกระทบ 91.7% และไม้ได้รับผลกระทบ 8.3% ทั้งนี้ภาพรวมชี้ให้เห็นว่า ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ 86.0% และไม่ได้รับผลกระทบ 14.0% ทั้งนี้ถูกโยงมาถึงผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในปี 2557 นี้ว่า ผู้ขายสินค้าในประเทศ ได้รับผลกระทบมาก 39.2% และได้รับผลกระทบน้อย 60.8% ส่วนผู้ส่งออกได้รับผลกระทบมาก 49.1% และได้รับผลกระทบน้อย 50.9% ส่วนภาพรวมทางด้านผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจนั้น รับผลกระทบมาก 43.4% และได้รับผลกระทบน้อย 56.6%
ยอดจำหน่ายลดลง
ในการสำรวจครั้งนี้ศึกษาถึงประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมืองคือ อันดับ 1 คือยอดจำหน่ายสินค้าในประเทศถึง 21.2% และอันดับ 2 การส่งสินค้า 19.6 % อันดับที่ 3 ความน่าเชื่อถือของธุรกิจ 17.8% ส่วนประเด็นของผู้ส่งออกพบว่า อันดับที่ 1 การส่งออก 25.8% อันดับที่ 2 ความน่าเชื่อถือของธุรกิจ 21.8% และอันดับที่ 3 การขนส่วนสินค้า 17.7% ทั้งนี้ประเด็นในภาพรวม อันดับที่ 1 ความน่าเชื่อถือของธุรกิจ 19.5% อันดับที่ 2 การขนส่งสินค้า 18..8% และอันดับที่ 3 การติต่อกับหน่วยงานราชการ 14.6 %
ความยืดเยื้อทางการเมืองส่งผลต่อเนื่อง
ผลสำรวจพบว่าความขัดแย้งทางการเมืองต่อปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมในปี 2557 หากการเมืองยืดเยื้อไม่เกิน 3 เดือน ปริมาณการผลิตลดลงเฉลี่ย-11.2% ถ้ายืดเยื้อไม่เกินครึ่งปี ปริมาณการผลิตลดลง เฉลี่ย–14.4% ยืดเยื้อไม่เกินเดือน 9 ปริมาณการผลิตลดลงเฉลี่ย-18.8% และหากยืดเยื้อตลอดทั้งปี ปริมาณการผลิตลดลงเฉลี่ย-27.2%
ส่วนสัดส่วนผู้ประกอบการที่ปริมาณการจำหน่ายเปลี่ยนแปลงจากความขัดแย้งทางการเมืองกรณีต่างๆ ถ้าหากความยืดเยื้อทางการเมืองไม่เกินเดือน 3 ยอดขายลดลงเฉลี่ย-10.7% ยืดเยื้อไม่เกินครึ่งปี ยอดขายลดลงเฉลี่ย-14.1% ยืดเยื้อไม่เกินเดือน 9 ยอดขายลดลงเฉลี่ย-18.7% และยืดเยื้อตลอดทั้งปีจะส่งผลให้ยอดขายลดลงเฉลี่ย-27.0%
ทั้งนี้สัดส่วนความขัดแย้งทางการเมืองต่อปริมาณการจำหน่ายของผู้ประกอบการที่จำหน่ายในประเทศ ถ้ายืดเยื้อไม่เกินเดือน 3 ยอดขายลดลงเฉลี่ย-10.6% ยืดเยื้อไม่เกินครึ่งปียอดขายลดลงเฉลี่ย-14.2% ยืดเยื้อไม่เกินเดือน 9 ยอดขายลดลงเฉลี่ย-18.8% และยืดเยื้อตลอดทั้งปียอดขายลดลงเฉลี่ย-27.9% สำหรับผู้ประกอบการที่ส่งออกไปประเทศ ถ้ายืดเยื้อไม่เกิดเดือน 3 การส่งออกลดลงเฉลี่ย-9.0% ยืดเยื้อไม่เกิดครึ่งปี การส่งออกลดลงเฉลี่ย-13.8% ยืดเยื้อไม่เกินเดือน 9 การส่งออกลดลงเฉลี่ย-18.6% และยืดเยื้อตลอดทั้งปีการส่งออกลดลงเฉลี่ย-26.3%
ผลกระทบแยกรายอุตสาหกรรม
1.อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ปัจจุบันการผลิตยังไม่ลดลง แม้การเมืองจะยืดเยื้อทั้งปี ร้อยละ 4.2 ที่ยังคงผลิตได้เท่าเดิม และอีกร้อยละ 16.7 จะผลิตมากขึ้น สำหรับการเมืองยืดเยื้อทั้งปี การจำหน่ายในประเทศลดลงถึง -20.0% และการส่งออกไปประเทศจะลดลง -24.0%
2.อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย ปัจจุบันมีปริมาณการผลิตลดลงแล้ว อยู่ที่ 79.2 แต่ผู้ประกอบการอีกร้อยละ 20.8 จะผลิตได้มากขึ้น สำหรับการเมืองยืดเยื้อทั้งปี การจำหน่ายในประเทศลดลงถึง-26.8% และการส่งออกไปประเทศลดลง -31.3%
3.อุตสาหกรรมเครื่องหนัง ปัจจุบันมากกว่าครึ่งมีการผลิตลดลงแล้ว หากการเมืองจะยืดเยื้อทั้งปีร้อยละ 8.3 สามารถผลิตได้เท่าเดิม สำหรับการเมืองยืดเยื้อทั้งปี การจำหน่ายในประเทศลดลงถึง-31.7% และการส่งออกไปประเทศจะลดลง -31.3%
4.อุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ปัจจุบันมีการผลิตลดลง หากการเมืองยืดเยื้อทั้งปีร้อยละ 16.7 สามารถผลิตได้เท่าเดิม สำหรับการเมืองยืดเยื้อทั้งปี การจำหน่ายในประเทศลดลงถึง -33.9% และการส่งออกไปประเทศลดลง -42.5%
5.อุตสาหกรรมกระดาษและสิ่งพิมพ์ ปัจจุบันการผลิตร้อยละ 80 ลดลง หากการเมืองจะยืดเยื้อทั้งปีร้อยละ 6.7 สามารถผลิตได้เท่าเดิม สำหรับการเมืองยืดเยื้อทั้งปี การจำหน่ายในประเทศลดลงถึง -20.0% และการส่งออกไปประเทศลดลง -32.0%
6.อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ปัจจุบันร้อยละ 50 มีการผลิตลดลง แม้การเมืองยืดเยื้อทั้งปี ร้อยละ 13.3 สามารถผลิตได้เท่าเดิม สำหรับการเมืองยืดเยื้อทั้งปี การจำหน่ายในประเทศลดลงถึง-24.0% และการส่งออกไปประเทศลดลง -21.7%
7.อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ปัจจุบันร้อยละ 50 การผลิตลดลง แม้การเมืองยืดเยื้อทั้งปีร้อยละ 8.3 สามารถผลิตได้เท่าเดิม สำหรับการเมืองยืดเยื้อทั้งปี การจำหน่ายในประเทศลดลงถึง -24.4% และการส่งออกไปประเทศลดลง -35.0%
8.อุตสาหกรรมเครื่องจักรและเครื่องใช้ไฟฟ้า ปัจจุบันยังไม่มีปริมาณการผลิตลดลง แม้การเมืองจะยืดเยื้อทั้งปี แต่ผู้ประกอบการร้อยละ 7.7 สามารถผลิตได้เท่าเดิม สำหรับการเมืองยืดเยื้อทั้งปี การจำหน่ายในประเทศลดลงถึง-29.4% และการส่งออกไปประเทศจะลดลง-28.8%
9.อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตลดลง แม้การเมืองยืดเยื้อทั้งปีแต่ร้อยละ 16.7 สามารถผลิตได้เท่าเดิม สำหรับการเมืองยืดเยื้อทั้งปี การจำหน่ายในประเทศลดลงถึง -36.7% และการส่งออกไปประเทศจะลดลง -25.0%