ผลผลิตด้านอุตสาหกรรม(MPI) กุมภาพันธ์ 2557 หดตัว 44% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่ง 5 อุตสาหกรรมหลักที่ทำให้ลดลง ได้แก่ การผลิตยานยนต์ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ ปีโตเลียม เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน อาหารกระป๋องและอาหารแช่แข็ง อีกทั้งอัตราส่วนใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 59.18% จึงทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัว
ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ลดลง โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกุมภาพันธ์ 2557 หดตัวถึงร้อยละ 4.4 ด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 59.18 จากการลดลงของการผลิต อาทิ ยานยนต์ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ ปีโตเลียม เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน อาหารกระป๋องและอาหารแช่แข็ง ซึ่งต่างจากปีที่ผ่านมาที่มีผลผลิตเป็นอย่าวดี แต่เมื่อกลับเข้าสู่ปี 2557 การผลิตค้อนข้างต่ำลง ด้วยเหตุจากผลกระทบด้านการเมือง
สภาวการณ์ผลิตอุตสาหกรรมลดลงตั้งแต่เดือนเมษายน 2556 กระทั่งถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 นับเป็นระยะเวลา 11 เดือน ดังนั้นจึงเล็งเห็นถึงผลกระทบทั้ง 5 สาขาที่สำคัญด้านอุตสาหกรรมของไทยคือ
1)อุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งมีการหดตัวลงเมื่อเปรียบเทียบจากปีที่ผ่านมา ส่วนผลการผลิตคาดว่า จากจำนวนรถ 171,000 คัน มีการลดลงจากช่วงปีก่อนถึงร้อยละ 25.39 ทั้งนี้ในการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศคาดว่ามีจำนวน 71,669 คัน ลดลงจากช่วงปีก่อนถึงร้อยละ 44.16 และการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 คาวว่ามีจำนวน 91,000 คัน ลดลงจากช่วงปีก่อนร้อยละ5.87
2)อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตของเดือนกุมภาพันธ์ 2557 มีการผลิตลดลงในปริมาณ 0.64 ล้านตัน ลดลงถึงร้อยละ 10.89 เนื่องจากภาคเอกชนชะลอการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ สำหรับการส่งออกสินค้าเหล็กมีการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2.63 เพราะการบริโภคในประเทศลดลง จึงจำเป็นต้องมีการส่งออกนอกประเทศ และการนำเข้ามีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยถึงร้อยละ 0.83
3)อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีการปรับตัวลดลงร้อยละ1.03 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งมาจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 2.12 โดย HDD ลดลงถึงร้อยละ 4.68 ขณะเดียวกัน Semiconductor,Monolithic IC มีการเพิ่มขึ้น เนื่องจากนำไปเป็นส่วนประกอบของชิ้นส่วน Smart Phone ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.24 โดยการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.67 ซึ่งมาจากเครื่องปรับอากาศที่มีการส่งออกไปตลาดหลัก
4)อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์เส้นใยและสิ่งทอ จากการสั่งซื้อเพื่อผลิตต่อเนื่องอื่นๆ ทั้งตลาดภายในและต่างประเทศมีการผลิตลดลง โดยเฉพาะตลาดอาเซียน แต่กลุ่มผ้าผืน มีการผลิตขยายตัวจากการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นในตลาดประเทศกัมพูชา ทั้งนี้กลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีการผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากตลาดสหรัฐฯที่เริ่มฟื้นตัว สำหรับการส่งออกในกลุ่มเส้นใย และสิ่งทอฯลดลงในตลาดหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ส่วนกลุ่มผ้าฝืนมีการขยายตัวในอาเซียน อีกทั้งกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสำคัญ คือญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ประกอบกับการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในตลาดค่อนข้างมาก ส่งผลให้ในภาพรวมยังขยายตัวได้
5)อุตสาหกรรมอาหาร ในเดือนกุมภาพันธ์การผลิตในภาพรวมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 9.5 ส่วนการส่งออกในภาพรวมลดลงร้อยละ 6.0 เนื่องจากการผลิตน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น แต่การผลิตสินค้าสำคัญส่วนใหญ่ประสบปัญหาวัตถุดิบได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และการระบาดของโรค ประกอบการสินค้าหลายชนิดมีการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศผู้นำเข้าทั้ง สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ทำให้การส่งออกได้รับผลกระทบจากความผันผวนของระดับสินค้าในตลาดโลก
อย่างไรก็ตาม สศอ. ประมาณปี 2557 GDP อุตสาหกรรมขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ2.0-2.5 และ MPI ขยายตัวในช่วงร้อยละ 1.5-2.0 และMPI ขยายตัวในช่วงร้อยละ1.5-2.0 ดร.วิฑูรย์กล่าวทิ้งท้าย