ชี้วัดภาวะดัชนีอุตสาหกรรมไทยลดลง คาดครึ่งปีหลังดีขึ้น


กระทรวงอุตสาหกรรม(อก.) เปิดตัวดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม Industrial Economic Indicator:IEI ซึ่ง เป็นการสะท้อนภาพการเคลื่อนไหวของสภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ ทั้งภาคการผลิต การลงทุน และความเชื่อมั่น ในประเทศไทย รวมไปถึงชี้แนะในครึ่งปีหลัง เมื่อสถานการณ์การเมืองลดลงเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นกว่าเดิม

นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่านับเป็นครั้งแรกที่ได้นำข้อมูลแต่ละหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมจัดทำเครื่องมือชี้วัดภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมตัวใหม่ หรือเรียกว่า “ดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ IEI โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเป็นหน่วงงานหลัก ซึ่งจะเป็นดัชนีที่สะท้อนภาพสภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในระดับประเทศเพื่อให้ผู้สนใจหน่วยงานรัฐ ภาคธุรกิจ นักลงทุน สามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวของสภาวะเศรษฐกิจอุตสากรรมได้อย่างครบถ้วนยิ่งขึ้น อีกทั้งครอบคลุมมิติต่างๆ ดังนี้

1.มิติด้านการผลิต ที่ประกอบด้วยดัชนี 2 ดัชนี คือ ดัชนีอุตสาหกรรม และอัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งแสดงถึงสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของการผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดยแหล่งที่มาของข้อมูลทั้งสองตัวนี้ มาจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งแสดงถึงสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม

2.มิติด้านการลงทุน ประกอบดัวยดัชนีนี้ 4 ดัชนี คือ ดัชนีจำนวนการประกอบกิจการโรงงานที่ขอเปิดกิจการ ดัชนีจำนวนเงินลงทุน ดัชนีจำนวนแรงม้า และดัชนีจำนวนการจ้างงานอขงสถานประกอบกิจการที่ขออนุญาตเปิดกำเนินการ ซึ่งแสดงถึงการลงทุนในการขยายการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยดัชนีทั้ง 4 ตัวนี้เป็นข้อมูลที่ได้จากกรงโรงงานอุตสาหกรรม หารนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ ซึ่งแสดงถึงการลงทุนในการขยายการผลิตของภาคอุตสาหกรรม

3.มิติด้านความเชื่อมั่น ประกอบด้วยดัชนี 5 ดัชนี คือ ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจอุตสาหกรรม ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ดัชนีจำนวนขอรับการส่งเสริมการลงทุนภาคอุตสาหกรรม ดัชนีจำนวนโครงการ ดัชนีเงินลงทุนและดัชนีการจ้างงานของโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ซึ่งดัชนีทั้งหมดนี้แสดงถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อภาคอุตสาหกรรม

นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ กล่าวทิ้งท้ายว่า นอกจากนี้ดัชนีทั้ง 3 มิติ จะทำเป็นดัชนีภาพรวม หรือ Diffusion Index เพื่อวิเคราะห์ร่วมกันสร้างดัชนีภาพรวมเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่แสดงถึงสภาวะอุตสาหกรรมได้อย่างทั่วถึงทุกด้าน ทั้งนี้ยังวิเคราะห์รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของดัชนีแต่ละตัวซึ่งจะทำให้รู้เท่าทันต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในมิติต่างๆมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงเจาะลึก เพื่อวิเคราะห์ทิศทางและแนวโน้มของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใน 3-4 เดือนข้างหน้านี้ด้วย

ภาวะวัดชีพจรด้านอุตสาหกรรมไทย

ดร.สมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ หลายคนไม่สบายใจด้านเงินทุน จึงสะท้อนให้เห็นถึงด้านความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง ซึ่งตอนนี้การส่งออกด้านอุตสาหกรรมอยู่ที่ 50-70% อีกทั้งการส่งออกด้านอุตสาหกรรมนั้น ส่วนใหญ่ อิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์อยู่เป็นอันดับที่ 3  ฉะนั้นเมื่อมองไปข้างหน้าอีก 7 เดือน คาดว่าสถานการณ์ทางการเมืองต้องมีลดลงบ้าง และเชื่อว่าอุตสาหกรรมไทยจะกลับมาสู่สภาวะปกติ และมีความมั่นใจขึ้นกว่าเดิม หากไม่มีการแทรกซึมสถานการณ์หรือผลกระทบต่างๆลงไปต่ำกว่านี้ อย่างไรก็ตามครึ่งปีหลังนี้ สถานการณ์ลดลงอาจขยับเป็นบวกก็ได้

ดร.ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า 5 เดือนที่ผ่านมามีการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการขยายกิจการลดลงถึง 10% ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของนักลงทุนอีกทาง ซึ่งสาเหตุโดยหลักมาจากสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ฉะนั้นต้องดูว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะลดลงหรือไม่ ความมั่นใจก็จะกลับมาเหมือนเดิม ซึ่งโดยส่วนใหญ่ 95% เป็นธุรกิจ SME อีก 5% เป็นนักลงทุน ดังนั้นธุรกิจ SME ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน ถึงแม้สถานการณ์ตอนนี้ยังไม่คงที่เท่าไรนัก แต่ครึ่งปีหลัง SME ไทยจะกลับมาแน่นอน

คุณอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย กรมส่งเสริมการลงทุน กล่าวว่า ตัวเลข BOI เป็นตัวเลขแนวโน้มทิศทางว่าจะขึ้นหรือลง ซึ่งไตรมาสแรกปีนี้ลดลงถึง 50% ของจำนวนโครงการที่มาขอส่งเสริมการลงทุน ถึงแม้โครงการลดลง แต่ขณะเดียวกันเม็ดเงินลดลงน้อยกว่า แต่สำหรับมุมมองความเชื่อมั่นของประเทศไทยยังดีอยู่ แต่ไม่ถึงกับตกต่ำ ส่วนทางด้านชาวต่างชาติ มีการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทยเพิ่มคิดเป็น 13% มากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากทางนักลงทุนต่างชาติเชื่อมั่นบรรยากาศไทย ซึ่งนักลงทุนต่างชาติไม่ได้มองเพียงแค่สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยเพียงอย่างเดียว แต่กลับมองทางด้านนโยบายทางภาครัฐ ว่าการส่งเสริมการลงทุนมีมากน้อยแค่ไหน มีหลักเกณฑ์พิจารณาอย่างไร เป็นต้น ส่วนปัจจัยที่ 2 คือความพร้อมในการรับรองการลงทุนด้วย อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเมืองขณะนี้ อาจส่งผลกระทบบ้าง แต่นักลงทุนต้องดูระยะยาว เช่นหากก่อตั้งโรงงานอย่างน้อย 1-2 ปี โรงงานนั้นเสร็จ สถานการณ์ต่างๆก็หยุดแล้ว ฉะนั้นต้องมีการทบทวนถึงการลงทุนอย่างละเอียด เพื่อจะได้ไม่พลาดโอกาสการลงทุนนี้ไป