เจาะลึกความต้องการสินค้าไทยออกสู่จีน!!


กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจัดโครงการ “พบทูตพาณิชย์พิชิตตลาดต่างประเทศ” หนึ่งในนั้นคือประเทศจีน ได้เผยวิธีการเจาะตลาด แต่ละเมืองในจีนตามอัตราคนชนชั้นกลางมากถึง 250 ล้านคน และมีอัตราขยายถึง 650 ล้านคน ส่วนใหญ่มีความต้องการทางด้านการบริการและการท่องเที่ยว อาหาร สปา   

นายวิทยากร มณีเนตร หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงภาพรวมในประเทศจีนว่า ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีนเป็นคนชั้นกลางมากถึง 250 ล้านคน และมีอัตราขยายเพิ่มขึ้นอีก 650 ล้านคน ซึ่งคนส่วนใหญ่ในประเทศจีนนิยมสินคนที่มีคุณภาพ มีเอกลักษณ์ มากกว่า ทั้งยังไม่สนใจในเรื่องของราคาสินค้าเท่าไรนัก เพราะเน้นด้านคุณภาพมาตรฐาน และการรองรับของสินค้านั้นมากกว่า อีกทั้งในประเทศจีนเมื่อก่อนมีนโยบายในเรื่องของการห้ามมีบุตรเกิน 1 คน แต่ขณะนี้นโยบานนั้นได้เปลี่ยนไปแล้ว ซึ่งตอนนี้คนจีนสามารถมีบุตรได้มากกว่า 1 คน ดังนั้นจึงทำให้เห็นว่า เด็กในประเทศจีนจะมีเพิ่มขึ้น 15-20 ล้านคน ฉะนั้นตรงจุดนี้ถือว่าเป็นโอกาสทางการค้าที่สำคัญ เนื่องจากเมื่อมีเด็กเพิ่มมากขึ้น อัตราความต้องการของสินค้าเครื่องนุ่งห่มของเด็กก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน รวมไปถึงสินค้าจำพวกที่ใช้พลังงานจากพืช ทางประเทศจีนสนับสนุนเป็นอย่างมาก รวมไปถึงในเรื่องของธุรกิจด้านการบริการก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ประเทศจีนต้องการ เนื่องจากประเทศจีนมีความโดดเด่นในเรื่องของการท่องเที่ยว และมีความต้องการทางด้านการบริการเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามธุรกิจประเภทร้านอาหาร สปา เครื่องสำอาง ก็มีโอกาสเหมือนกัน

 นายวิทยากร กล่าวถึงเมืองฮ่องกงของประเทศจีนว่า เมืองฮ่องกงนับว่าเป็นเมืองที่ไม่มีอะไรปิดกั้น หรือเป็นอุปสรรคทางด้านการค้า เพราะฮ่องกงเปิดหมด ส่วนใหญ่สินค้าที่อยู่ในความสนใจของฮ่องกงนั้น ต้องเป็นสินค้าที่มีความโดดเด่นทางด้านเอกลักษณ์ ไม่เหมือนใคร และที่สำคัญฮ่องกงเน้นเรื่องของสุขภาพเป็นอย่างมาก อย่างธุรกิจอาหาร สปา ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ทางฮ่องกงต้องการ นอกจากนี้สินค้าข้าวของไทยก็ยังป็นสินค้าที่โดดเด่นในฮ่องกงเช่นกัน ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกถึง 90% แต่หลังจากที่ข้าวไทยแพงขึ้น ก็มีคู่แข่งก็เข้ามาแทรกแซงเช่นกัน ฉะนั้นสิ่งแรกที่ควรรู้คือราคาของสินค้าต้องให้เหมาะสมกับสินค้า และต้องติด Product ของประไทยให้ชัดเจน ดังนั้นหากผู้ประกอบการประเทศไทยต้องการเข้าไปเจาะตลาดในประเทศจีน สิ่งสำคัญอย่างแรกคือต้องศึกษาความต้องการทางตลาดนั้นให้ดีก่อนเอาสินค้าเราไปลงจำหน่าย

 

น.ส.พรรณกาญจน์ เจียมสุชน ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กวางโจว ประเทศจีน กล่าวว่า มณฑลที่อยู่ในความดูแลของเมืองกวางโจวมีอยู่ 4 มณฑล คือ กวางตุ้ง ไห่หนาน เจียงซี และหูเป่ย ซึ่งแต่ละมณฑลก็มีระบบการค้าที่แตกต่างกันออกไปรวมไปถึงความต้องการของสินค้าไทยด้วย ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเจาะตลาดจีนในเมืองกวางโจว ควรรู้ว่าแต่ละมณฑลนี้มีความต้องการประเภทของสินค้าไทยอะไรบ้าง อย่างเช่น เมืองหูเป่ย ซึ่งนับว่าเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ เพราะหูเป่ยเป็นศูนย์การค้ากลาง ที่สามารถเป็นสะพานเชื่อมโยงประเทศจีนได้ทั่วประเทศ และยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมเหล็กที่สำคัญอีกด้วย ฉะนั้นสินค้าไทยที่สามารถจะเข้าถึงได้ดีก็คือ สินค้าด้านอาหาร เนื่องจากส่วนใหญ่ในประเทศจีนเป็นคนชั้นกลาง การจับจ่ายใช้สอยต่างๆต้องมีคุณภาพ ดังนั้นถ้าหากอาหารไทยเราสามารถเข้าไปยังห้างร้านที่มีชื่อเสียงได้ย่อมดี เพราะคนจีนต้องการสินค้าที่มีคุณภาพและเป็นที่รับรองมาตรฐานได้  ในมณฑลต่อมาคือกวางตุ้ง ซึ่งกวางตุ้งเป็นตลาดหลักที่มีการค้าระหว่างประเทศมานานถึง 40 ปี และยังเป็นเมืองหลวงของกวางโจวอีกด้วย ดังนั้นสินค้าที่นำเข้าและส่งออกมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งสินค้าไทยที่นำเข้ากวางตุ้นส่วนใหญ่เป็นข้าว ผลไม้ อาหารแปรรูป หรือไม้ยางพารา  และสินค้าส่วนมากในกวางตุ้ง 70% เป็นผลไม้ของไทย ฉะนั้นสินหากผู้ประกอบการท่านใดมีสินค้าประเภทนี้อยู่สามารถมาติดต่อกับเราได้

นส.พรรณนากาญจน์  กล่าวเพิ่มเติมว่า เมืองต่อมาคือ เจียงซี เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบที่สำคัญ และยังเป็นแหล่งที่ปลูกข้าวมากที่สุด ทั้งยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าทางด้านเกษตรอีกด้วย ซึ่งทางเจียงซีโดยหลักๆ มีสินค้าประเภทข้าว แร่ธาตุ เหล็ก และที่สำคัญเจียงซีเป็นเมืองที่มีการค้ากับต่างประเทศน้อย เนื่องจากเจียงซีใช้วัตถุดิบภายในเมืองของเขามากกว่า และมณฑลสุดท้ายคือ เมืองไห่หนาน มีลักษณะเมืองเป็นเกาะ ซึ่งเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ และยังมีความโดดเด่นในเรื่องการบริการเป็นส่วนใหญ่ เช่นธุรกิจบริการแก่นักท่องเที่ยว การนวดสปา เป็นต้น ดังนั้นหากผู้บริการต้องการเข้าไปทำธุรกิจในไห่หนานนี้ ธุรกิจด้านการบริการการท่องเที่ยว สปา จะเป็นธุรกิจเหมาะอย่างยิ่ง

ส่วนทางด้านน.ส.บุณิกา แจ่มใส ผู้อำนวยการส่วนเอเชียใต้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศประเทศจีน กล่าวว่า เมืองเซี่ยงใฮ้มีมณฑลที่อยู่ในความดูแล 6 มณฑล คือ ปักกิ่ง ซานตง เหลียวหนิง จี๋หลิน เฮยหลงเจียง และ เจียงหู ซึ่งในเซี่ยงไฮ้นี้นับว่าเป็นเมืองที่มีความหลายหลายทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก รวมไปถึงมีประชากร 364 ล้านคนด้วยกัน นอกจากนี้ประเทศจีนพยายามผลักดันเซี่ยงไฮ้ ให้เป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงิน การค้า และเครือข่ายทางการสื่อสารระหว่างประเทศ ดังนั้นหากผู้ประกอบการต้องการที่จะเข้าไปจำหน่ายสินค้าภายในเซี่ยงไฮ้ ต้องรู้จักแต่ละมณฑลของเซี่ยงไฮ้ก่อนว่า ในแต่ละมณฑลของเซี่ยงไฮ้มีความต้องการสินค้าไทยอย่างไร อย่างมณฑลเจียงหู ในทางด้านซีกตะวันออกของเจียงหู ผู้คนมักมีฐานะร่ำรวย และยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญ ทั้งนี้สินค้าไทยส่วนใหญ่ที่นำเข้าไปยังมณฑลเจียงหู เป็นสินค้าจำพวกมันสับปะหลังมากที่สุด สำหรับมณฑลต่อมาคือ มณฑลซานตง ซึ่งเป็นเมืองที่ติดชายทะเล เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ดี และยังเป็นแหล่งผลิตน้ำมันดับที่สำคัญ ส่วนสินค้าของไทยที่นำเข้าซานตงคือยางพารา

นอกจากนี้สำหรับมณฑลเหลียวหนิง จี๋หลิน และเฮยหลงเจียง ใน 3 มณฑลที่มีความคล้ายคลึงกันคือ ขณะนี้ประเทศจีนกำลังที่จะพัฒนาทั้ง 3 มณฑลนี้ให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น รวมไปถึงให้มีการปฏิรูปทางด้านอุตสาหกรรมให้ใหญ่ขึ้น อีกทั้ง ทั้ง 3 มณฑลนี้ยังเป็นแหล่งผลิตข้าวโพดชั้นดี และยังเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญอีกด้วย นอกจากนี้สินค้าอุปโภคบริโภคได้ติดอับดับ 1 ในเซี่ยงไฮ้มาตลอด และขณะนี้ยางพาราประเทศไทยก็เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก และมณฑลสุดท้ายคือปักกิ่ง ซึ่งนับว่าเป็นเมืองหลวง โดยนโยบายส่วนใหญ่มักออกจากปักกิ่ง รวมไปถึงยังเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ และส่วนใหญ่สินค้าที่นำเข้าปักกิ่งคือ สินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือทางการแพทย์ สำหรับสินที่ทางปักกิ่งส่งมายังประเทศไทย ก็เป็นสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน นส.บุณิกา กล่าวทิ้งท้าย

ทางด้านนางชไมพร เจือเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณนครคุนหมิง กล่าวว่า นครคุนหมิง เป็นเมืองที่มีพื้นที่ 21,473 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีประชากรกว่า 8.8 ล้านคน ซึ่งในเมืองนครคุนหมิงมีอุตสาหกรรมหลักคือ เครื่องมือและเครื่องจักร เคมีภัณฑ์ สิ่งทอและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ในนครคุรหมิงก็มีมณฑลร่วมด้วยเช่นกันคือเมืองชุ่ยลี่ ซึ่งเป็นเมืองที่มีการค้าทางชายแดนที่สำคัญ โดยส่วนใหญ่สินค้าของไทยก็สามารถนำเข้าไปยังชุ่ยลี่ได้ ต่อมาคือ เมืองเชียงรุ่ง ก็เป็นเมืองที่มีการค้าทางชายแดนเช่นกัน และเป็นเมืองที่มีพื้นที่ติดกับประเทศไทย โดยห่างกันเพียง 280 กิโลเมตรเท่านั้น และยังมีพรมแดนที่ติดกับประเทศลาวอีกด้วย ซึ่งง่ายต่อการค้าเป็นอย่างมาก

นางชไมพร กล่าวต่อว่า เมืองต่อไปคือ เมืองเหอโข่ว  เป็นเมืองที่ติดกับเวียดนาม มีการค้าทางชายแดนเหมือนกัน ฉะนั้นสินค้านำเข้าไทย-จีนตอนใต้ที่สำคัญคือ สินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ยางพารา เป็นต้น นอกจากนี้ที่สำคัญ ประเทศไทยควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการค้าแบบการแข่งขันให้กลายเป็นการทำการค้าร่วมกันจะดีกว่า เพราะหากมีการร่วมมือในการทำการค้าก็จะเป็นสิ่งที่ดีต่อผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการจีนอีกด้วย