กระทรวงพาณิชย์ ร่วมมือหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน กว่า 20 องค์กร จัดสัมมนา “จับชีพจรเศรษฐกิจไทย พิชิตชัยการค้าชายแดน วางแผนรุก-รับ AEC” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอน กฎระเบียบใหม่ๆ วิธีปฏิบัติ พิธีการศุลกากร การขอใบรับรอง ใบอนุญาตต่างๆ ที่เกี่ยวกับสินค้าข้ามพรมแดน และการขนส่งสินค้าในกลุ่มอาเซียน
นางวันดี ธนาเลิศวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดการสัมมนา “จับชีพจรเศรษฐกิจไทย พิชิตชัยการค้าประเทศอาเซียน วางแผนรุก-รับ AEC” พร้อมผู้เชี่ยวชาญ ในการร่วมเสวนาพิเศษ “กลยุทธ์ส่งออก-นำเข้า เพื่อการค้าประเทศอาเซียนและการค้าชายแดน” ซึ่งถือเป็นมาตรการหนึ่งในการให้ความรู้ผู้ประกอบการรองรับการแข่งขันที่สูงขึ้นในอนาคต
วัตถุประสงค์ของการสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อต้องการที่จะให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ของเอกสารส่งออก ให้แก่ผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC เพราะเนื่องจากกฎระเบียบหลายตัวได้มีการปรับเปลี่ยน ผู้ประกอบการเองยังไม่รู้ไม่เข้าใจ นอกจากนี้ยังมีคลีนิกให้คำปรึกษาจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มาร่วมให้คำปรึกษาในเชิงลึก ซึ่งผู้ประกอบการเองก็สามารถมาเจอตัวจริงและสอบถามได้และก็ยังมีเวิร์คช็อปในเรื่องของสิทธิประโยชน์ ว่าผู้ประกอบการมีสิทธิประโยชน์ ในด้านภาษีอากรอย่างไร ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนประกอบการ และยังทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่ที่มาขอข้อมูลเป็นธุรกิจกลุ่มเอสเอ็มอีในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอาหาร คาดว่าจะช่วยเพิ่มการส่งออกของไทยได้มากขึ้น โดยในปีที่ผ่านมามูลค่านำเข้าและส่งออกกับประเทศเพื่อนบ้าน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องกว่า 9 แสนล้านบาท นางวันดีกล่าว
ต่อมาใน นายปรเมธี วิมลศิริไหน รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ขึ้นปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “ภาวะเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนของไทยครึ่งปีหลังจะไปทางไหน? โดยนายนายปรเมธี เผยว่า แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ จะเป็นแรงกระตุ้นให้การส่งออกของไทยช่วงครึ่งปีหลังขยายตัว แต่อาจไม่ถึงร้อยละ 5 หลังจากที่ไตรมาสแรกการส่งออกของประเทศขยายตัวติดลบร้อยละ 1 พร้อมระบุจากข้อมูลเศษรฐกิจในช่วงเดือน พ.ค. พบว่ามีสัญญาณการค้าการลงทุนที่ดีขึ้น หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.เข้ามาบริหารประเทศ ทำให้ความไม่แน่นอนทางการเมืองเริ่มสงบ เชื่อว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะดีขึ้น ทั้งปีอาจจะดีกว่าที่คาดไว้ในขณะนี้ที่ร้อยละ 1.5-2.5 เนื่องจากแรงกระตุ้นของการเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุนรัฐวิสาหกิจ จึงมีโอกาสเป็นไปได้ที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้(57) จะกลับมาขยายตัวได้ที่ 3–4% ตามเป้าหมายเดิมที่ สศช.ได้คาดการณ์ไว้
อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังต้องจับตาตัวเลขการส่งออกอย่างใกล้ชิด เนื่องจากยังไม่สามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ แม้ทิศทางเศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัว ขณะที่การส่งออกในประเทศเพื่อนบ้านมีการเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 10% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขการส่งออกของไทยอยู่มาก แต่ก็คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้(57) การส่งออกจะกลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา
กลยุทธ์ส่งออก -นำเข้า เพื่อการค้าประเทศอาเซียนและการค้าชายแดน
นายชาญชัย ชัยเฉลิมศักดิ์ ผู้อำนวยการกองสิทธิประโยชน์ทางการค้ากรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ตามข้อตกลงในเขตการค้าเสรีที่ได้ทำร่วมกัน มีสิทธิพิเศษในการลดหย่อนภาษีศุลกากร ในการขนส่งสินค้าได้ สำหรับผู้ที่เป็นผู้นำสินค้าก็จะใช้สิทธิพิเศษตรงนี้ได้ในขณะเดียวกันผู้ส่งออกก็จะส่งสินค้า ก็จะมีค่าปลายทางของประเทศที่ต้องการส่งออกลดลง และการที่จะใช้สิทธิพิเศษเหล่านี้ได้สินค้าของท่านต้องอยู่ในบัญชีรายการที่อยู่ในข้อตกลงในการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี และต้องมีหลักฐานในการยื่นศุลกากร ซึ่งได้แก่ หนังสือการจำหน่ายสินค้า ซึ่งจะมีอยู่หลายประเภทและแตกต่างกันไปตามแต่ละข้อตกลง ซึ่งจะนำมาใช้เป็นสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี และสามารถขอได้ที่กรมการค้าระหว่างประเทศที่เดียว ซึ่งที่นี่จะมีหน่วยงานคอยให้บริการอยู่ในหลายๆที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ปทุมธานี และ นนทบุรี
สำหรับ การที่จะขอหนังสือได้นั้น ต้องเช็คก่อนว่าสินค้าที่ต้องการจะส่งออกนั้นอยู่ในรายการหรือเปล่า ต่อมาต้องเช็คด้วยว่าสินค้าที่จะส่งออกนั้นผลิตตรงตามหลักเกณฑ์ของมาตรฐานสินค้า ถึงจะไปขอหนังสือมาและนำส่งไปให้กับผู้ซื้อปลายทาง สินค้าถึงจะได้รับการลดหย่อนภาษี นอกจากนี้จะต้องนำสินค้าไปขึ้นทะเบียนกับกรมการค้าระหว่างประเทศด้วย แต่ถ้าท่านส่งออกไม่ถูกต้องก็จะมีการขอตรวจสอบย้อนหลังว่าสินค้าของท่านและมีการเรียกเงินภาษีคืน ทำให้ต้องมีการตรวจสอบก่อนเสมอว่าสินค้านั้นอยู่ในเกณฑ์หรือเปล่า เพราะสินค้าคือหัวใจสำคัญในการขอสิทธิพิเศษ และจะมีโครงการนำร่องการส่งออกสินค้าอยู่ 2 โครงการด้วยกัน คือ 1. ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย จะสามารถรับรองเอกสารของตนเองได้ 2. ประเทศไทยยังใช้ไม่ได้เพราะยังติดปัญหาเรื่องการเมืองอยู่ เลยไม่มีใครมารับรองสิทธ์ ความแตกต่างของโครงการนำร่องที่ 1 และ 2 คือโครงการนำร่องที่ 1 ทั้งผู้นำเข้าและผู้ส่งอกสามารถรับรองตนเองได้ ส่วนโครงการที่ 2 ใช้สำหรับผู้ผลิตที่เป็นโรงงานเท่านั้นในการรับรองตัวเอง ซึ่งจะนำมาใช้จริงได้ในปี 2558 แต่โครงการที่ 1 มีใช้แล้วในตอนนี้
ต่อมา นางเบญจมาพร เอกฉัตร ผู้อำนวยการกองควบคุมมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้อธิบายถึง หลัก MRA ว่า คือ ความตกลงร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศที่จะยอมรับร่วมกันในการออกแบบเครื่องมือในการควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการโดยไม่ต้องนำสินค้าผ่านสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ สมอ. โดยประเทศในกลุ่มอาเซียนได้มีการตกลงทำสัตยบันร่วมกันแล้ว อันเป็นการลดขั้นตอนเกี่ยวกับมาตรฐานลงไปให้ง่ายต่อการส่งออก
ด้าน นางสาวภาวนา งามสุทธิ ผู้อำนวยการส่วนคดีแพ่งและศาลปกครอง สำนักกฎหมาย กรมศุลกากร ได้กล่าวถึงบทบาทและหน้าของกรมศุลกากร ในการเข้ามาอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในการนำเข้าและส่งออกโดยกำหนดให้ผู้ส่งออกต้อง1.ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติศุลกากร 2.ต้องต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 3.ต้องจัดทำ(ยื่น)ใบขนส่งสินค้า 4.ต้องชำระภาษีหากมี และในส่วนของกรมศุลกากร จะอำนวยความสะดวกในการนำเข้า-ออก ดังนี้ 1.ใช้ระบบเอกสารน้อยหรือ Paperless 2.ใช้ระบบสุ่มตรวจสอบ Green/Red Line 3.มีเว็บไซต์ ให้ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ 4.ร่วมเจรจาFTA กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลดข้อยกเว้น/อากร 5.มีมาตรการการส่งเสริมการส่งออก 3 มาตรการ 6.จัดทำระบบ National Single Window เพื่อเชื่อมโยงข้อมูล 7.มีเครื่องมือต่างๆในการอำนวยความสะดวก
ต่อมา นางสาวพัชรางศุ์ ประพฤติธรรม นักวิชาการขนส่งชำนาญการ กรมการขนส่งทางบก กล่าวในส่วนของรถที่นำมาวิ่งขนส่งจะต้องมีการชำระภาษีประจำปี ในบริบทของการค้าชายแดนก็จะดูในเรื่องของการอำนวยความสะดวก เพื่อที่จะช่วยให้ประหยัดในเรื่องของเวลาและการเงิน และยังได้ทำข้อตกลงให้รถสามารถเข้าประเทศอื่นๆได้อย่างถูกกฎหมาย และอาเซียนก็ไม่ใช่จุดเริ่มต้นในการเข้าไปทำการค้าในหลายๆประเทศ เพราะได้ได้ทำมานานแล้ว อย่างไทย-ลาว ก็ได้เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2542 และยังได้เพิ่มเส้นทางการเข้าออก ในการขนส่งสินค้าในทั่วประเทศเพื่อให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยมีทั้งหมด 22 เส้นทาง เพื่อเพิ่มความสะดวกในการขนส่ง
ในช่วงท้ายของงานสัมมนาในครั้งนี้ นายสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ บิสเนส คอร์ปอร์เรชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้บรรยายในหัวข้อเคล็ดลับ เจาะลึกประโยชน์ ภาษีอากร พร้อมกันนี้ยังภายในงานยังมีการทำ Workshop:Case Study ผู้เข้าร่วมงานสัมมนาอีกด้วย
ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมงานสามารถดาวน์โหลดข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ใน เว็บไซต์ของศูนย์บริการการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ www. http://onestopservice.ditp.go.th/ หรือเดินทางมาขอใช้บริการได้ ณ ศูนย์บริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ ตั้งอยู่ชั้น 1กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ถนนรัชดาภิเษก สามารถเข้ามาซักถามได้ตลอดเวลาราชการ หรือจะโทรมาสอบถามก็ได้ ที่เบอร์ 02 – 5120123 ต่อ 800, 802