มาตรฐานสินค้าการเกษตรไทย เมื่อต้องเข้าสู่ AEC


 กรมส่งเสริมระหว่างประเทศ  จัดสัมมนาในหัวข้อ  การพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรไทยเพื่อเข้าสู่ตลาด AEC  โดยมีวัตถุประสงค์คือ ให้ผู้ประกอบมีความการมีรู้ในเรื่องมาตรฐานของสินค้าเกษตร  เพื่อเพิ่มกำไรในการส่งออกสินค้าเกษตรไทย ไปสู่ตลาดในภูมิภาคเอเชีย

      ภายในงานได้รับเกียรติจากคุณ ชัยศิริ  มหันตชัยสกุล  ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานสุขอนามัยสัตว์  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ  มาเป็นวิทยาการบรรยายในครั้งนี้  โดยเนื้อหาการบรรยายเกี่ยวข้องกับกับการการนำสินค้าเกษตรเข้าสู่ AEC และการสร้างมาตรฐานให้สินค้าเกษตรของไทยสามารถไปสู่ตลาดในอาเซียนได้

    คุณ ชัยศิริ  มหันตชัยสกุล  กล่าวว่า มาตรฐานสินค้าถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประกอบด้วย มาตรฐานทั่วไป  เป็นมาตรฐานที่เป็นการแนะนำและส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์   ส่วนมาตรฐานแบบที่ 2 เรียกว่ามาตรฐานบังคับ เป็นมาตรฐานที่ถูกกำหนดเอาไว้อย่างตายตัวว่าจะต้องเป็นอย่างไร  เช่น   การกำหนดไม่ให้ถั่วลิสงที่ขายตามท้องตลาดมีสารอัลฟ่าท็อกซินมากเกินไป  ซึ่งถือเป็นเรื่องบังคับว่าต้องทำตามที่กำหนดไว้

     ส่วนมาตรฐานสินค้าเกษตรในอาเซียน  ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่การันตรีคุณภาพสินค้าเกษตรของไทยให้สามารถส่งออดไปขายยังต่างประเทศได้  โดยที่ระบบของมาตรฐานสากล จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย การกำหนดมาตรฐาน   การตรวจสอบและรับรอง   มาตรวิทยา  โดยที่ทั้ง 3 ส่วนนี้จะคลอบคลุมในเรื่องของคุณภาพทั้งในส่วนของการผลิตและการขนส่งว่าตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้หรือไม่   เพราะแต่ละประเทศจะมีข้อกำหนดในการนำเข้าสินค้าที่แตกต่างกันออกไป   เช่นประเทศที่เป็นมุสลิมจะไม่อนุญาตให้นำเข้าไก่ที่ถูกฆ่าด้วยการช็อตไฟ  เพราะถือว่าต้องตายแบบไม่เต็มใจ  แต่ต้องฆ่าแบบเชือดคอเท่านั้น  ถึงจะสามารถส่งออกไปยังประเทศที่เป็นชาวมุสลิมได้  ดังนั้นเราจึงต้องดูมาตรฐานของแต่ละประเทศด้วยว่ามีข้อห้ามอะไรบ้าง  ซึ่งต้องทำให้ถูกต้องทั้งในเรื่องการผลิตและการขนส่งตามที่ประเทศต่างๆ ได้กำหนดเอาไว้ด้วย  ถึงจะสามารถสงออกสินค้าไปยังประเทศนั้นๆได้

      ผู้ประกอบการจะทราบได้อย่างไรว่าสินค้าที่ผลิตขึ้นมานั้นได้คุณภาพและมาตรฐานหรือไม่นั้น   ต้องอาศัยหน่วยรับรอง  อาจจะใช้วิธีการนำสินค้าไปตรวจสอบด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์หรือส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปทำการตรวจสอบก็ได้   ทำให้มาตรฐานของสินค้าเกษตรกรรมจึงกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ  เพราะถ้าหากผู้ประกอบการทำไม่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้  หรือว่ามาตรวจพบภายหลัง  จะทำให้ทางผู้ประกอบการเองไม่สามารถส่งสินค้าไปยังประเทศนั้นๆได้   จนกว่าจะทำให้ถูกต้องและผ่านการตรวจสอบเท่านั้น

      สำหรับประโยชน์ของการส่งออกสินค้าเกษตร   เป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าและการเข้าถึงปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพในราคาที่ถูกลง  พร้อมกับเป็นการยกระดับในเรื่องของคุณภาพสินค้า  ให้ดียิ่งขึ้น  เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศมากขึ้น   แต่ผู้ประกอบการก็ต้องยอมรับด้วยว่าจะต้องมีคู่แข่งที่มากขึ้น  จากในหลายๆประเทศในอาเซียน