รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ช่องทางการจำหน่ายในญี่ปุ่น โดยปกติน้ำมันมะพร้าวจะมีการจัดจำหน่ายในร้านค้าอาหารนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ร้าน Kitano Ace และ ร้าน Kaldi Coffee Farm เป็นต้น รวมทั้งร้านค้าผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ แต่นิยมมาก คือ การขายผ่าน On line – Rakuten ทั้งนี้มีกฎระเบียบในการนำเข้าคือ ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย – ญี่ปุ่น (JTEPA)การส่งออกน้ำมันมะพร้าว จากไทยมาญี่ปุ่นไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า แต่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ Plant Protection Act เพื่อป้องกันโรคพืช และแมลง ร่วมถึง Food Sanitation Act เพื่อป้องกันสารตกค้าง และสารปนเปื้อนในอาหาร ทั้งนี้การติดฉลากต้องระบุรายละเอียด เช่น ชื่อประเทศ และผู้ผลิต ผู้นำเข้า ส่วนประกอบ วิธีการเก็บรักษา วันผลิต และวันหมดอายุ เป็นต้น ที่สำคัญหากเป็นสินค้าออแกนิคต้องปฏิบัติตาม Japanese Agricultural Standard : JAS Law ซึ่งเกี่ยวกับมาตรฐาน และการติดฉลาก
ปัจจุบันผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นเกิดความนิยมน้ำมันมะพร้าวเป็นอย่างมากอีกทั้งน้ำมันมะพร้าวที่จำหน่ายอยู่ในญี่ปุ่น ส่วนใหญ่นำเข้าจาก อินเดีย ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และไทย ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมา สคร. ได้จัดการเจรจาธุรกิจและเยี่ยมชมโรงงานให้แก่ผู้นำเข้าญี่ปุ่นที่ต้องการนำเข้าน้ำมันมะพร้าวจากไทย เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในสินค้า ทำให้ผู้นำเข้าจะขอเจรจากับบริษัทที่มีโรงงานผลิต และมีอีกหลายบริษัทให้ความสนใจเช่นกัน ถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทย ที่มีวัถุดิบอยู่แล้วภายในประเทศเป็นจำนวนมาก เพียงพัฒนาสินค้า ทั้งกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน และการบรรจุผลิตภัณฑ์ให้เกิดความน่าสนใจ เพื่อขยายตลาดในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงตลาดโลกต่อไปในอนาคต
สคร.เมืองฟูกูโอเกะ