การปรุงอาหารให้อร่อยเป็นทั้งศาสตร์และเป็นทั้งศิลป์ ศาสตร์ในการปรุงอาหารคือความเชี่ยวชาญในการนำส่วนประกอบต่างๆ มาประสมกันให้ลงตัว มีสูตรตำรับเป็นส่วนประกอบที่ชัดเจน ส่วนจะเอร็ดอร่อยหรือไม่นั้นเป็นศิลป์ที่จะต้องผสมกลมกลืนรสชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความ เผ็ด เค็ม เปรี้ยว หวาน ตลอดจนความกลมกล่อมของรสให้ได้จริตของแต่ละเมนูที่แตกต่างกัน
หนึ่งในเคล็ดลับสำคัญ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการปรุงอาหารให้อร่อยคือความร้อนจากการปรุง ซึ่งอาหารแต่ละชนิด แต่ละวัฒนธรรมก็ใช้ศาสตร์แห่งความร้อนในการปรุงอาหารให้สุกที่แตกต่างกัน อาหารในโซนตะวันตกส่วนใหญ่เป็นการอบ ไม่ค่อยมีกลิ่นในขณะการปรุงอาหาร ต่างจากอาหารในแถบเอเชีย ที่จะเน้นการใช้ไฟแรงในการปรุง และมีกลิ่นแรง
สำหรับอาหารไทยมีวิธีในการปรุงได้หลายลักษณะ เช่น การต้ม ตุ๋น นึ่ง ผัด ทอด เจียว คั่ว รวน ปิ้ง ย่าง เผา ยำ ลวก ซึ่งแต่ละวิธีจะใช้ความร้อนที่แตกต่างกัน เช่น การนึ่งอาหาร (STEAM) จะถูกปรุงให้สุกด้วยไฟระดับปานกลางถึงไฟแรง โดยใช้ไอน้ำที่เกิดจากการต้มทำให้อาหารนั้นสุก อาหารจะไม่มีการสัมผัสโดยตรงกับน้ำที่ต้ม ซึ่งจะส่งผลให้คุณค่าของสารอาหารยังคงอยู่กับอาหารอย่างครบถ้วน เคล็ดลับที่สำคัญสำหรับการนึ่งอาหารให้รสชาติดีนั้น วัตถุดิบที่ใช้จะต้องสดมากๆ
สำหรับ การปรุงอาหารด้วยวิธีการทอด (DEEP FRYING) จะทำให้อาหารสุกโดยการใส่เนื้อสัตว์หรือผักลงไปในน้ำมันที่ตั้งจนร้อน ปริมาณน้ำมันที่ใส่จะต้องมากพอที่จะท่วมอาหารที่จะนำไปทอด อุณหภูมิของน้ำมันที่ใช้ในการทอดเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการปรุงอาหาร ถ้าน้ำมันไม่ร้อน เมื่อใส่อาหารลงไปทอด จะส่งผลให้อาหารอมน้ำมันและไม่น่ารับประทาน อุณหภูมิน้ำมันที่เหมาะสำหรับการทอดอยู่ที่ 180 องศาเซลเซียส (หรือประมาณ 350 องศาฟาเรนไฮต์) ดังนั้นความแรงของไฟในการทอดจึงจำเป็น
ส่วนการปรุงอาหารด้วยวิธีการผัด (STIR-FRYING) ก่อนการผัดทุกครั้งจะต้องตั้งไฟจนกระทะร้อนได้ที่ก่อนจะใส่วัตถุดิบ (เนื้อสัตว์ หรือ ผัก) ลงไปในกระทะ เนื่องจากขั้นตอนการผัดนั้นมักจะใช้เวลาสั้น วัตถุดิบต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการประกอบอาหารจะต้องถูกเตรียมให้พร้อมก่อนเริ่มการผัด ทั้งนี้เมื่อผัดอาหารแล้วจะได้อาหารที่สุกพอดี ไม่ไหม้จากการที่ต้องเสียเวลาเตรียมวัตถุดิบอื่นๆขณะที่ผัดอาหาร
จากความแตกต่างของกรรมวิธีในการปรุงนี่เอง ทำให้การออกแบบ การผลิตวัสดุอุปกรณ์ประกอบการปรุงอาหารจำเป็นต้องเข้าใจและรองรับกรรมวิธีที่หลากหลายได้
สำหรับครัวไทย ในอดีตที่ผ่านมาเป็นครัวเปิด แต่เมื่อวัฒนธรรมห้องครัวจากตะวันตกได้แผ่ขยายเข้ามา ทำให้พฤติกรรมการใช้เครื่องครัวของคนไทยเปลี่ยนไป หันมานิยมสร้างห้องครัวแบบเฟอร์นิเจอร์ Built in ด้วยเครื่องครัวแบบตะวันตกที่ดูโมเดิร์น มีความครบเครื่องของฟังก์ชั่น จึงได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ประสบปัญหาว่าเครื่องครัวบางชนิดที่นำเข้ามาจากยุโรปโดยตรงไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมการปรุงอาหารของคนไทย เพราะเหตุนี้ บริษัท เดอะซิกเนเจอร์ แบรนด์ หรือ เอสบีโอ จึงร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องครัวชั้นนำจากอิตาลี พัฒนาเครื่องครัวที่ตอบโจทย์การปรุงอาหารสไตล์เอเชีย เป็นเครื่องครัวแบบ Built-in ที่มีประสิทธิภาพเหมาะกับการทำอาหารแบบเอเชีย ทั้งกำลังดูดควันและไฟที่แรงในการทำอาหาร แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพมาตรฐานยุโรป ภายใต้ชื่อ เทคโนพลัส (Tecno+) ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากกว่า 15 ชนิด อาทิ เครื่องดูดควัน เตาอบ เตาตั้งพื้น เตาไฟฟ้า
จะเห็นได้ว่าการปรุงอาหารให้อร่อย นอกจากจะต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์แล้ว เครื่องครัวที่ตอบโจทย์นับเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญที่ต้องมีติดครัว ด้วยตัวเลือกที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน การจะหาเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวที่โดดเด่นทั้งดีไซน์และการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเครื่องเดียว ให้เหมาะสมกับการปรุงอาหารที่เราคุ้นเคย จึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป