นายกฯ ชี้มุ่งเน้นส่งเสริมเกษตรกรหนุนอุตสาหกรรมไทย ส.อ.ท. ประชุมสามัญประจำปี 58


        สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จัดงานประชุมสามัญ ประจำปี 2558 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2558 ณ ห้อง Plenary Hall 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีสมาชิกจากทั่วประเทศร่วมประชุมอย่างคับคั่ง และได้รับเกียรติจากนายกรัฐมนตรีในการกล่าวปาฐกาถาพิเศษ

        ด้าน นายสุพันธ์ ชี้ เดินหน้าทำงานร่วมภาครัฐเพื่ออุตสาหกรรม พร้อมให้ความมั่นใจสมาชิก จะดำเนินงานเพื่อประโยชน์สูงสุดของสมาชิก ภาคอุตสาหกรรม สังคม และประเทศชาติ ตั้งเป้าเพิ่มสมาชิกให้ถึงหลัก 10,000 รายในปี 2558

        พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกาฐาพิเศษ ถึงเรื่อง การเสริมสร้างการแข่งขันทางการค้าของอุตสาหกรรมไทย ว่า “หลายเรื่องยังไม่มีการแก้ไขปัญหา หลายเรื่องยังไม่มีมาตรการการแก้ไขที่ชัดเจน แต่วันนี้เราจะมาร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ สิ่งสำคัญคือ ประเทศต้องมีการจัดระเบียบ และการให้ความเป็นธรรมในการลดความเลื่อมล้ำทางสังคม เพื่อความมั่นคงในวันข้างหน้า ทุกวันนี้เศรษฐกิจ ไม่ได้อยู่แค่เพียงในประเทศขของเรา แต่มันคล้องเกี่ยวกับ กระแสโลกในทุก ๆ ด้าน สำหรับเกษตรกรหากเรา สามารถทำให้เขาขายของได้เองที่หน้าสวน จะลดการถูกเอาเปรียบของพ่อค้าคนกลางได้ ยกตัวอย่างที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อมีผลผลิตออกมาจะแบ่งสินค้าเป็น 2 ส่วน ซึ่งส่วนแรกจะนำไปขายให้กับโรงงานผู้ผลิต ต่าง ๆ และส่วนที่สอง จะนำมาจำหน่ายเอง ในส่วนนี้ประเทศไทยเองสามารถทำได้โดยการขอความร่วมมือจาก อบจ. หรือ อบต.  ทั้งนี้ในภาคเศรษฐกิจไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนที่ต้องให้ความร่วมมือกัน ซึ่งผลกระทบต่างๆ ย่อมส่งผลสัมพันธ์กับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของโรคร้ายแรง มลพิษ และการก่อการร้าย ล้วนส่งผลต่อความก้าวหน้าของเศรษฐกิจทั้งหมด

        พลเอก ประยุทธ์ ยังกล่าวอีกว่า รถไฟฟ้าความเร็วสูงจะเร่งให้มีภายในปี 2561-2563 นี้ ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างในปีหน้า โดยรถไฟฟ้าความเร็วสูงนี้จะเป็นสายป่านเชื่อมโยงเศรษฐกิจจากชนบทเข้ามาในเมือง และขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของประเทศก้าวไกลไปได้อีกระดับหนึ่ง นอกจากนี้เศรษฐกิจชายแดนยังมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อ AEC เช่นนี้เราต้องมีการเพิ่มการค้าชายแดนให้มากขึ้น เพราะประเทศเพื่อนบ้านต่างไว้วางใจในสินค้าของประเทศไทย โดย พลเอก ประยุทธ์ แนวคิดคือ “ลงทุนให้น้อยลง แต่เพิ่มผลกำไรให้มากขึ้น ด้วยการลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็นลง”

        สำหรับการกล่าวปาฐกาฐาพิเศษในครั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เน้นย้ำในถึงความสำคัญของเกษตรกร เนื่องจากเป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศ โดยขอความร่วมมือ ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน ให้ช่วยเหลือกัน ให้เกิด Smart farmer เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กัน และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมถึงเรื่องการจัดระเบียบในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ การพัฒนาป่าเศรษฐกิจ ให้ชาวบ้านสามารถมีที่ทำกินตามท้องถิ่น เช่นการเก็บของป่า แต่ห้ามตัดต้นไม้ เพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้กับธรรมชาติแบบยั้งยืน ในด้านอุตสาหกรรมพาสเนอร์ ถือเป็นสำคัญ เพราะจะสร้างความร่วมมือได้อีกมากมาย ทั้งในภูมิภาค และขยายวงกว้างมากขึ้น ปัญหาของประเทศไทยอยู่ที่ โลจิสติกส์ที่ยังไม่มีความพร้อม ซึ่งจะสามารถพัฒนาได้ในลำดับต่อไป สำหรับนโยบายของภาครัฐ จะยึดความต้องการของภาคเอกชนเป็นสำคัญ เพราะเอกชนเป็นผู้ที่ทราบปัญหาได้ดีที่สุด โดยรัฐจะเป็นผู้ดูแลอีกที และจะทำให้แก้ปัญหาได้เร็วขึ้น และนำไปสู่การเพิมผลผลิต ในเรื่องของการค้าการส่งออกไปต่างประเทศ ด้านการช่วยเหลือ SMEs สสว. มีการปรับโครงสร้างใหม่ทั้งหมด หน้าที่กำหนดเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ SMEs ในประเทศมีอยู่เกือบ 90% จึงต้องสร้างความแข็งแกร่ง เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่กลับมีปัญหา เรื่องการขึ้นทะเบียน จึงทำให้การส่งเสริมดังกล่าวเกิดขึ้นได้ยาก ทั้งนี้รัฐยังจะมีการจัดตั้งองค์การช่วยเหลือธุรกิจแบบครบวงจร ซึ่งจะต้องทำให้ต่อเนื่องกันทั้งระบบ พร้อมกันนี้พลเอก ประยุทธ์ ยังได้ทิ้งท้ายอีกว่า การที่เศรษฐกิจของประเทศจะดีขึ้นได้ทุกคนต้องช่วยเหลือกัน หากเกิดการเปลี่ยนแปลงอาจก่อให้เกิดความทุกข์หรือไม่พอใจบ้าง แต่ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความสุขแก่ทุกคนทั้งหมด

        พร้อมกันนี้ นายจักรมณฑ์ ผาสุกวานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมกล่าวถึงทิศทางอุตสาหกรรม ว่า “การขายยาง หรือสินค้าทางเกษตรแบบไม่ต่อยอดนั้นเป็นไปได้ยาก ฉะนั้นอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า กระทรวงอุตสาหกรรม โดยเราจะให้การสนับสนุน SMEs โดยตรง แต่ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม SMEs หรือ กลุ่มอุตสาหกรรม ก็จะได้รับการช่วยเหลือทั้งหมด ทั้งนี้การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยไปข้างหน้า ทำอย่างไรให้ยั่งยืน สิ่งแรกที่ผมมองเลยคือ คุณภาพ และสิ่งแวดล้อม เพราะอุตสาหกรรมของประเทศไทยคงไปต่อไม่ได้ หากเราละเลยในเรื่องมลพิษ และกากอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายหน่วยงานจากต่างประเทศ เริ่มเข้ามาตรวจสอบแล้ว ส่วนใหญ่ที่เขาตรวจสอบคือ เรื่องของแรงงานเด็ก การประมง ล่าสุดสิ่งแวดล้อมเริ่มมีการตรวจสอบมากขึ้น และปัจจุบัน EU ค่อนข้างมีความเคร่งครัดในเรื่องของสิ่งแวดรอบมากพอสมควร กระทรวงอุตสาหกรรมพยายามนำโรงงานเกี่ยวกับการกำจัดมลพิษในอุตสาหกรรมเข้ามในประเทศ และมีแผน 5 ปี โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะมุ่งเน้นในเรื่องของการกำจัดกากอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีนิคมเฉพาะในเรื่องนี้ เรียกว่า เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์  สำหรับเรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เราคงต้องเตรียมตัวให้พร้อม ในทุก ๆ ด้าน ประเทศไทยจะเป็นศูนย์การผลิตและการค้าในภูมิภาคได้อย่างไร เราอาจไปสู้กับสิงคโปร์ไม่ได้ แต่เรามีพื้นที่เพียงพอในการเพิ่มอุตสาหกรรม และด้านการท่องเที่ยว และการบริการ ก็ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างหนึ่งที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบซึ่งจะนำเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศได้มากมายจากการเปิดภูมิภาคอาเซียน”

        นายจักรมณฑ์ ยังบอกอีกว่าทุกอย่างกำลังเริ่มขยับตัว และกลุ่มที่มีการขยายตัวอย่างเห็นได้ชัดคือ อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมรถยนต์เองก็เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น ถึงแม้ 2 เดือนที่ผ่านมาจะชะลอตัวอยู่บ้าง ในด้านอุตสาหกรรมน้ำตาล ก็จะมีการจัดระเบียบให้ถูกต้อง แล้วลดระยะทางในการจัดส่งให้สั้นลง และขนานนี้ อุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมดจะเริ่มปรับมาใช้ระบบ ของอ้อยและน้ำตาล เป็นเรื่องงบประมาณที่ใช้ และตัวกำหนดด้านกฎหมายเป็นต้น ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาอยู่ เพื่อแก้ปัญหาแก่เกษตรกรในหลาย ๆ ด้าน ส่วนที่เหลือคือ สิ่งทั่ต้องทำต่อไปคือ ผังเมือง เนื่องจากมีปัญหามาก ตอนนี้จะมีคณะกรรมการที่จะช่วยปรับให้เกิดความสมบรูณ์และลงตัวที่สุดในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศให้เกิดความสมดุล

        สำหรับการประชุมสามัญประจำปี 2558 ของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี พร้อมผู้บริหารระดับสูง กระทรวงอุตสาหกรรม ในครั้งนี้ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การดำเนินงานของอุตสาหกรรมฯ ในปี 2557 ที่ผ่านมา ถือได้ว่าดำเนินงานประสบความสำเร็จตามยุทธศาสตร์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยยวะระปี 2557-2559 ที่ตั้งได้ ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างความเป็นเอกภาพของสมาชิก  โดยร่วมกันจัดทำกรอบแนวคิดและกลยุทธ์ตามกรอลยุทธศาสตร์ ทั้ง 5 พร้อมกับ กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเข้มแข็ง จากความร่วมมือของสภาอุตสาหกรรมจังหวัดทั้งในระดับภาค และระดับจังหวัด

ยุทธศาตร์ที่ 2 ยกระดับอุตสาหกรรมและ SMEs ไทยเป็นศุนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ การส่งเสริมสนับสนุน SMEs เป็นวาระแห่งชาติ  การพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศ การพัฒนาการค้าชายแดน และโลจิสติกส์ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มอุตสาหกรรม ด้วยการจัดตั้ง 10 คลัสเตอร์อุตสาหกรรม การร่วมมือกับต่างประเทศในระดับทวิภาคีและพหุภาคี สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ  การพัฒนาทางด้าน IT/GS1 เพื่อสมาชิก ส.อ.ท.

ยุทธศาตร์ที่ 3 เป็นองค์กรที่มีธรรมภิบาลที่ดี ส.อ.ท. ได้เข้าร่วมการต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยจัดตั้งคณะทำงานต่อต้านคอร์รั่ปชั่นทำงานร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาบุคลากรและปรับโครงสร้างสภาอุตสาหกรรมให้เข้มแข็ง ซึ่ง ส.อ.ทอยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพุทธศักราช 2530 รวมถึงการพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ร่วมกับหน่วยงานราชการต่าง ๆ

ยุทธศาสตร์ที่ 5 สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมภาคอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม โดยให้ความสำคัญกับงานวิจัย พัฒนานวัตกรรม และดึงงานวิจัยที่มีอยู่แล้วมาต่อยอดเชิงพาณิชย์

        ทั้งนี้ นายสุพันธุ์ ยังกล่าวอีกว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผมดำรงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผมพร้อมที่จะทุ่มเททุกสรรพกำลัง ในการดำเนินการตามแนวทางที่วางไว้ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่น และการร่วมมือกับภาครัฐในการพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้งผู้ประกอบการไทยให้เข้มแข็ง พร้อมเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เกิดความมั่งคงและยั่งยืน”