รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ถ้าพูดถึงมะเร็งเต้านม ผู้ชายมักคิดว่า “ไม่เกี่ยวกับผมเลยครับ” ขอบอกว่าอย่าเพิ่งไว้วางใจเวลาพูดถึงมะเร็งเต้านม แม้ว่าโรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 100 เท่า แต่ใช่ว่าผู้ชายไม่มีโอกาสเป็นเลย เพราะผู้ชายก็มีเนื้อเยื่อเต้านใเช่นกัน อาการของมะเร็งเต้านมในผู้ชายเหมือนกับที่พบในผู้หญิง ซึ่งในอดีต มะเร็งเต้านใในผู้ชายมักตรวจพบเมื่ออยู่ในขั้นรุนแรงแล้ว หลายคนจึงมองว่ามะเร็งเต้านมของผู้ชายร้ายกาจยิ่งกว่าที่พบในผู้หญิงเสียอีก การเรียนรู้อาการ สัญญาณเตือน และปัจจัยเสี่ยงอาจช่วยคุณให้ไกลจากโรคร้ายชนิดนี้มากขึ้นก็ได้
หลากหลายปัจจัยเสี่ยง
กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์
เป็นอาการที่เกิดจากการมีโครโมโซมเพศผิดปกติ ทั่วไปผู้ชายมีโครโมโซม X และ Y อย่างละ 1 ตัว แต่ผู้ชายในกลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์จะมีโครโมโซม X ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป และโครโมโซม Yอีก 1 ตัว ซึ่งเป็นตัวแบ่งเพศ โครโมโวม X ที่เกินมาจะทำให้การเจริญเติบโตของลูกอัณฑะผิดปกติ ส่งผลให้ผลิตฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนมากขึ้น ทำให้ผู้ชายมีเต้านมขยายใหญ่ จึงมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าคนทั่วไปได้
การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน
ถ้าคุณใช้ยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น ใช้รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก (แม้ความเสี่ยงจะไม่มากเท่าประโยชน์ในการรักษาก็ตาม) หรือฉีดเพื่อให้สรีระดูเป็นผู้หญิงมากขึ้นในสาวประเภทสอง ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้
ปัจจัยด้านพันธุกรรม
ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในชายเกือบร้อยละ 20 มีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ ความบกพร่องที่ยีน BRCA 1 หรือ 2 ทำให้คุณมีโอกาสเสี่ยงทั้งเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็บต่อมลูกหมากมากขึ้น โดยปกติยีนพวกนี้ช่วยป้องกันมะรเ็งโดยสร้างโปรตีนที่ช่วยไม่ให้เซลล์เจริญเติบโตผิดปกติ แต่ถ้ายีนที่ว่าเกิดการกลายพันธุ์ ก็จะไม่สามารถป้องกันมะเร็ง
การฉายรังสี
ถ้าคุณเคยได้รับการรักษาด้วยการฉายแสงบริเวณหน้าอกตอยเป็นเด็กหรือวัยรุ่นมาก่อน คุณอาจมีโอกาสเป้นมะเร็งเต้านใได้เมื่ออายุมากขึ้น
โรคตับและโรคอ้วน
ถ้าตับอ่อนแอทำงานไม่เป็นปกติ เช่น ตับแข็ง ฮอร์โมนแอนโดรเจนในร่างกายจะลดลงในขณะที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้น ทำให้เสี่ยงมีภาวะเต้านมโตและมะเร็งเต้านม เพราะฉะนั้นพวกนักดื่มควรเพลาๆลงบ้าง