เชลล์ พร้อมเปิดรับนักลงทุนปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ
สัมภาษณ์พิเศษผู้บริหารเชลล์
อะไรคือกลยุทธ์หรือความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจของเชลล์ในเมืองไทย
คุณอัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด และกรรมการบริหาร ธุรกิจการตลาดค้าปลีก ภูมิภาคตะวันออก กลุ่มบริษัท รอยัล ดัทช์ เชลล์กล่าวว่า “ความสำเร็จของกลยุทธ์ธุรกิจการตลาดค้าปลีกระดับโลกของเชลล์ มุ่งเน้นความสำคัญที่ 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีน้ำมันคุณภาพสูง สถานีบริการน้ำมันมาตรฐานระดับโลกที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ครบถ้วน และการสนับสนุน การเติบโตของพนักงาน ตลอดจนคู่ค้าของบริษัทฯ ที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน”
“เรามั่นใจว่า เชลล์ มีความแข็งแกร่งและพร้อมผลักดันให้เกิดการเติบโตในธุรกิจค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทย เพื่อมอบประสบการณ์ที่ประทับใจในระดับโลกให้แก่ลูกค้า ตลอดจนนำเสนอสินค้าน้ำมันเชื้อเพลิงใน เกรดพรีเมี่ยมคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ทั่วประเทศ โดยขณะนี้เชลล์มีสถานีบริการน้ำมันกว่า 43,000 แห่งใน 80 ประเทศทั่วโลก”
แผนของบริษัทเชลล์ในปี 2015คืออะไร
คุณ Grant McGregor กรรมการบริหารบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ เน้นเรื่องการขยายตัว ขยายเครือข่าย ขยายสำนักงาน และยกระดับความสัมพันธ์กับพันธมิตรทางธุรกิจ พันธมิตรทางธุรกิจที่หมายถึงนี้คือทั้งนักลงทุนและผู้ค้าขายปลีกรายย่อย ธุรกิจของเราประสบความสำเร็จอย่างมากในประเทศไทย และปีนี้เรากำลังเฉลิมฉลองครบรอบ 123 ปี ธุรกิจเรามีหนทางอีกยาวไกลในประเทศนี้
ผลกระทบยุคดิจิตอล
คุณ Grant McGregor กล่าวว่า “จริงๆแล้วมันก็มีผลกับธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดี เราต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจเป็นอย่างมากเพื่อให้แน่ใจว่าเราสามารถสื่อสารกับลูกค้า และลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับเราได้ในรูปแบบสื่อดิจิตอล การมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยอย่างสมาร์ทโฟนช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้นมาก ไม่ใช่แค่กับลูกค้าเท่านั้น อุปกรณ์ดิจิตอลยังมีส่วนสำคัญอย่างมากในการสื่อสารกับพันธมิตรทางธุรกิจของเรา หลายคนอาจประหลาดใจเมื่อรู้ว่าเราไม่ได้เปิดสถานบริการน้ำมันแค่แห่งเดียวในเมืองไทย มันไม่ใช่ตัวตนของเราเลย สถานบริการน้ำมันของเราทุกแห่งเป็น SME และเราภูมิใจกับความสัมพันธ์ที่เรามีต่อกัน
ผลกระทบจาก AEC
คุณ Grant McGregor กล่าวว่า “ เราตื่นเต้นกับการเปิด AEC เป็นอย่างมาก เราต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนความต้องการทางด้านพลังงานในประเทศไทย AEC เปิดโอกาสที่ดีในการช่วยลดกำแพงระหว่างประเทศรอบๆกันลง ทำให้มีการเดินทาง การใช้พลังงาน และการขนส่งระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น เชลล์อาจเปิดสถานีบริการน้ำมันแห่งใหม่หลายแห่งทางเหนือของประเทศไทยและรอคอยที่จะได้ร่วมงานกับพันธมิตรใหม่ และแน่นอนเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจากหลายๆประเทศที่จะผ่านเข้ามาเมื่อเป็น AEC สำเร็จ”
ทิศทางการขยายธุรกิจของเชลล์เป็นอย่างไรบ้าง
คุณอัษฎา หะรินสุต กล่าวว่า “เชลล์พร้อมที่จะเข้าไปเติมเต็มทุกความต้องการของลูกค้าด้วยผลิตภัณฑ์น้ำมันคุณภาพสูงและบริการอันดีเยี่ยมของเรา ไม่ว่าจะเป็นตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ ทางหลวงสายหลักที่เป็นหัวใจของการขนส่ง หรือในตัวเมืองที่เศรษฐกิจกำลังเติบโต เมื่อเร็วๆนี้สถานีบริการน้ำมันเชลล์แห่งใหม่ได้เปิดให้บริการห่างจากตลาดน้ำอัมพวาเพียงแค่ไม่กี่อึดใจ ในขณะเดียวกันที่ภาคใต้ของประเทศไทย สถานีบริการน้ำมันเชลล์แห่งแรกของจังหวัดระนองก็ใกล้จะแล้วเสร็จเต็มที ไม่เพียงเท่านั้น เขลล์ยังต้องการขยายการบริการออกไปยังพื้นที่ๆเป็นจุดหลักในการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อีกด้วย อาทิ อุบลราชธานี อุดรธานี หนองคาย นครพนม ตาก และสงขลา เป็นต้น”
ถ้าต้องการร่วมทุนกับเชลล์จะได้อะไร
สิทธิประโยชน์เบื้องต้น จากการเป็นผู้ลงทุนเปิดสถานีบริการน้ำมันเชลล์
-
ได้รับผลตอบแทนที่น่าประทับใจ ได้รับคำแนะนำในการประกอบธุรกิจสถานีบริการน้ำมันอย่างใกล้ชิดจากเชลล์
-
มีกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องจากเชลล์
คุณสมบัติเบื้องต้นเพื่อเปิดสถานีบริการน้ำมันเชลล์
-
มีความมุ่งมั่นที่จะทำธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และมีจรรยาบรรณในการทำธุรกิจ
-
มีความเข้าใจกลุ่มลูกค้า และผู้ใช้รถในพื้นที่เป็นอย่างดี
-
ลักษณะพื้นที่ที่ใช้ในการตั้งสถานีตรงตามมาตรฐานที่เชลล์กำหนด
-
มีความพร้อมด้านเงินลงทุนในการก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันตามมาตรฐานที่เชลล์กำหนดและมีเงินทุนหมุนเวียนที่เพียงพอต่อการทำธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน
สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ลงทุน
บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนานมากกว่า 123 ปี อาณาจักรเชลล์เป็นที่รู้จักในประเทศไทยเป็นครั้งแรกพร้อมกับเรือบรรทุกน้ำมัน SS Murex และน้ำมันก๊าดที่ส่งมาเป็นงวดแรกในวันที่ 23 กันยายน 1892 หลังจากนั้นอีก 40 ปี ตลาดน้ำมันก๊าดในประเทศไทยเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และคนไทยก็ใช้น้ำมันก๊าดของเชลล์เป็นเชื้อเพลิงในประเทศ
Markwald & Co. เป็นบริษัทแรกที่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของเชลล์ในประเทศไทย หลังจากนั้น บริษัท The Asiatic Petroleum (Siam) บริษัทสาขาของ Royal Dutch Shell Group of Companies ได้ตั้งให้บริษัท Borneo Co., Ltd. เป็นตัวแทนอย่างเป็นการของเชลล์แห่งประเทศไทย
การน้ำเข้าน้ำมันก๊าด น้ำมันดิบ และ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่างๆ เพิ่มขึ้นจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้น ทำให้การดำเนินงานทุกอย่างของบริษัท The Asiatic Petroleum (Siam) Ltd. ต้องหยุดชะงักลง หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองผ่านพ้นไป รัฐบาลไทยได้เชิญเชลล์กลับมายังประเทศไทยเพื่อดำเนินกิจการที่ค้างจากช่วงก่อนเกิดสงคราม ในปี 1946 The Asiatic Petroleum (Siam) Ltd. ได้เปลี่ยนชื่อเป็น The Shell Company of Thailand Limited หรือบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย ซึ่งบริษัท Shell Overseas Holdings Ltd. เป็นเจ้าของถึง 100%
สำหรับผลิตภัณฑ์น้ำมันและสารเคมี บริษัทได้เปิดคลังเก็บสินค้าหลักและท่าพักสินค้าก่อนจัดจำหน่ายบริเวณช่องนนทรี กรุงเทพมหานคร และยังมีคลังสินค้าอีกหลายคลังที่มีกระจายอยู่อีกหลายแห่ง ทำหน้าที่เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่หล่อเลี้ยงสถานีน้ำมันทั่วประเทศ
นอกจากจะมีผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพแล้ว เชลล์ยังมีส่วนร่วมในสังคมไทยในด้านการพัฒนาการศึกษา ศิลปะ วัฒนธรรม และชุมชน การมีส่วนร่วมในสังคมของบริษัทเป็นที่ตระหนักอย่างมากเมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานตราเกียรติยศหลวง (ตราครุฑ) แก่บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย ในวันที่ 17 สิงหาคม 1990 ซึ่งเชลล์เป็นบริษัทอุตสาหกรรมน้ำมันรายแรกที่ได้รับเกียรติอันสูงส่งนี้
ในปี 1979 เชลล์ได้ตั้งต้นสำรวจทรัพยากรน้ำมันในประเทศไทยภายใต้ชื่อบริษัท Thai Shell Exploration and Production Company Limited ในปี 1981 ได้มีการค้นพบ “แหล่งสิริกิตติ์” บ่อน้ำมันเพื่อการค้าแห่งแรก ของประเทศไทย ณ บริเวณอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร และน้ำมันดิบที่ได้จากแหล่งนั้นจะถูกเรียกว่า “น้ำมันดิบเมืองเพชร”ตามชื่อจังหวัด แหล่งสิริกิตติ์นี้ได้รับการพัฒนาร่วมกันกับ PTT Exploration and Production Public Company Limited ของภาครัฐ โดยมีกำลังการผลิตประมาณ 20000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่ง ปตท. The Petroleum Authority of Thailand (PTT) เป็นผู้ซื้อผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว
เชลล์ได้ขายหุ้นกิจการสำรวจและผลิตน้ำมันทั้งหมดในประเทศไทยให้แก่ PTT Exploration and Production Public Co., Ltd. ซึ่งเซ็นสัญญาซื้อขายกันไปเมื่อ 30 ธันวาคม 2003 Thai Shell Exploration and Production Co., Ltd. ผลิตน้ำมันดิบเมืองเพชรจากแหล่งสิริกิตติ์ได้ถึง 150 ล้านบาร์เรล ก่อนแหล่งดังกล่าวจะถูกส่งต่อให้ PTTEP เป็นผู้ดำเนินกิจการต่อ
ในการพัฒนาแบบตามน้ำ Rayong Refinery Company Limited บริษัทร่วมหุ้นระหว่างเชลล์ที่ถือครองหุ้นอยู่ 64% และปตท.ที่ถือหุ้นอีก 36% ได้ก่อตั้งขึ้น เป็นบริษัทที่บริหารจัดการโรงกลั่นน้ำมันแห่งที่สี่ของไทย ตั้งอยู่ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โรงกลั่นระยองนี้สามารถกลั่นน้ำมันได้ถึง 145,000 บาร์เรลต่อวัน เปิดทำการเมื่อเดือนมกราคม 1996 และเปิดทำการเป็นธุรกิจในเดือนเมษายนปีเดียวกัน แต่เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ในการทำธุรกิจ เชลล์ขายหุ้นโรงกลั่นระยองทั้งหมดให้กับปตท. ในปี 2004