DBD e-Filing การบริการรับงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์


           กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเปิดตัวโครงการให้บริการรับงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี XBRL มาสนับสนุนการให้บริการในการรับงบการเงินเพื่อให้ผู้ประกอบการใช้บริการผ่านเว็บไซต์ได้

           สามารถเข้าไปใช้เครื่องมือได้ที่เว็บไซต์ของกรม www.dbd.go.th  โดยเลือกเมนู “การนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing)” ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ได้ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบ E-Form และรูปแบบ XBRL in Excel ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2558 เป็นต้นมา ซึ่งมีสถิติผู้ใช้บริการสมัครลงทะเบียน จำนวน 10,736 ราย มาแสดงตัวตนต่อเจ้าหน้าที่ จำนวน 5,440 ราย และส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์แล้วจำนวน 1,981 ราย โดยระบบนี้ สามารถรองรับการนำส่งงบการเงินของนิติบุคคลทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ทั่วประเทศโดย 5 จังหวัดที่มีการนำส่งสูงสุดได้แก่

(1)      กทม.                     จำนวน 713 ราย                  คิดเป็นร้อยละ 35.9

(2)      นครราชสีมา           จำนวน 143 ราย                   คิดเป็นร้อยละ 7.2

(3)      นนทบุรี                  จำนวน 127 ราย                   คิดเป็นร้อยละ 6.4

(4)      สมุทรปราการ         จำนวน 115 ราย                    คิดเป็นร้อยละ 5.8

(5)      ขอนแก่น                จำนวน 106 ราย                   คิดเป็นร้อยละ 5.3

            สำหรับสถิตินำส่งงบการเงินประจำปี 2558 มีนิติบุคคลที่นำส่งงบการเงินแล้วร้อยละ 81 ของนิติบุคคล   ที่ต้องนำส่งงบการเงิน  หรือคิดเป็นจำนวน 441,661 ราย  เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (1 ม.ค.- 2 มิ.ย. 57) เพิ่มขึ้นจำนวน  25,017  ราย คิดเป็นร้อยละ 6 ซึ่งนิติบุคคลนำส่งงบการเงินรอบปีบัญชี 2556 มีจำนวน 416,644 ราย  ทั้งนี้ ในปี 2558 สามารถแยกพื้นที่ในการนำส่งงบการเงิน ได้ดังนี้

–  ส่งงบที่กรุงเทพมหานคร                                        จำนวน 248,247 ราย         คิดเป็น 56%

–  ส่งงบที่ภูมิภาค                                                      จำนวน 191,722 ราย         คิดเป็น 43%

–  ส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing)         จำนวน     1,981 ราย         คิดเป็น   1%

            อย่างไรก็ตาม ยังมีนิติบุคคลที่ยังไม่นำส่งงบการเงินอีก 19% หรือคิดเป็นจำนวน 103,695 ราย กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงขอเชิญชวนให้นิติบุคคลที่ยังไม่ได้นำส่งงบการเงินให้รีบนำส่งงบการเงินโดยเร็ว  เนื่องจากกรมได้กำหนดอัตราค่าปรับตามระยะเวลาที่นำส่งงบการเงินล่าช้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

ที่

ประเภทนิติบุคคล

อัตราค่าปรับ (บาท)

ไม่เกิน 2 เดือน

ไม่เกิน 4 เดือน

เกิน4 เดือน

1

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัด

2,000

8,000

12,000

2

นิติบุคคลต่างประเทศและบริษัทมหาชนจำกัด

4,000

48,000

72,000

3

กิจการร่วมค้า

2,000

24,000

36,000

 

            และกรมฯ ยังเพิ่มทางเลือกในการขอหนังสือรับรองให้ผู้ประกอบธุรกิจโดยเปิดให้บริการออกหนังสือรับรองนิติบุคคลเป็นภาษาอังกฤษตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2558 เป็นต้นมา เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC อย่างเต็มรูปแบบ