สวทช. พร้อมช่วยเหลือพัฒนา SME ไทย


       สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. เป็นหน่วยงานที่มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก ด้วยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาในภาคการ เกษตรและภาคอุตสาหกรรม

       คุณกุลประภา นาวานุเคราะห์ จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยแห่งชาติ (สวทช.) ได้เข้าร่วมให้ข้อมูลบทบาทหน้าที่ของสวทช. เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพ SME ไทยว่า สวทช.ได้ดำเนินงานผ่านการทำงานร่วมกันของศูนย์ทั้ง 5 ศูนย์ ได้แก่

  • ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)  มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
  • ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัสดุต่างๆ
  • ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) พัฒนางานด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  • ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)  มุ่งพัฒนางานด้านนาโนเทคโนโลยี
  • ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) มุ่งให้ความช่วยเหลือนักวิจัยและบริษัทต่างๆ ในการนำผลงานการ ค้นพบและเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ได้บริการสนับสนุนภาคเอกชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

โดยทั้ง 5 ศูนย์นี้จะนำมาพัฒนาในส่วนต่าง ๆ ที่เป็นความสำคัญต่อ SME คือ

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

  • อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
  • เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย
  • ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

ด้านกำลังคน

  • การฝึกอบรม
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • การเสาะหานักวิจัย
  • การแลกเปลี่ยนคน

ด้านธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา

  • การบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี
  • การถ่ายทอดเทคโนโลยี และใช้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา
  • อุดหนุนค่าที่ปรึกษา 50%

ด้านการเงินและมาตรการภาษี

  • มาตรการเพิ่มลดหย่อนภาษี R&D เป็น 300%
  • เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
  • เงินร่วมลงทุน
  • กองทุนเพื่อพัฒนา STI

ด้านเทคโนโลยี

  • ข้อมูลและการเสาะหาเทคโนโลยี
  • การให้คำปรึกษาเทคโนโลยี
  • การวิเคราะห์และทดสอบ
  • การรับจ้างและร่วมวิจัย ฯลฯ

สวทช. กับการสร้างผลกระทบและความยั่งยืน ในภาคเศรษฐกิจ ความสามารถการแข่งขันอย่างยั่งยืน การลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จากพันธมิตรมากขึ้น

  • พันธมิตรกับภาคเอกชน และภาครัฐ
  • สวทช. เป็นทางเลือกแรกในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
  • การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น อาคาร IMC-II

 ในภาคสังคมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้ ความมั่นคง ปลอดภัย และสุขภาพ การนำงานไปสู่ชุมชน

  • สร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
  • การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ต่อสังคม

       บทบาทสวทช. สร้างผลกระทบและความยั่งยืนทางด้านอาหาร การเกษตรและพลังงาน ด้วยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กลไกการส่งมอบเพื่อการใช้ประโยชน์คือ

  • สร้างความเป็นเลิศในการวิจัยและการบริหารจัดการผลงานที่มีประสิทธิภาพ
  • มีอุทยานวิทยาศาสตร์ประทศไทย ระยะที่สอง เพื่อให้ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถเข้ารับชมเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเกิดแรงผลักดันในการพัฒนาธุรกิจได้
  • บุคลากรวิจัยและวัฒนธรรมมุ่งเน้นลูกค้า
  • การจัดการภายในอย่างมีประสิทธิภาพ

        ในด้านเทคโนโลยี มีโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย Industrial Technology Assistance Program (iTAP) ทั้งนี้ iTAP จะเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของ SME อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ด้านเทคโนโลยี อาทิ การวินิจฉัยปัญหาทางเทคนิค การให้คำปรึกษาเทคนิค โดยผู้เชี่ยวชาญไทยและต่างประเทศ การสนับสนุนด้านการเงินบางส่วนในการพัฒนาเทคโนโลยี การจัดฝึกอบรมและสัมมนาวิชาการ และการเสาะหาเทคโนโลยีทั้งในประเทศและต่างประเทศ

        ในด้านเทคโนโลยี สวทช. มีบริการวิเคระห์ ทดสอบ และสอบเทียบตามมาตรฐานสากล การบริการวิเคราะห์ทดสอบ และสอบเทียบ มีความสำคัญต่อการพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กลาง และมุ่งหวังผลิตภัณฑ์ของภาคเอกชนมีมาตรฐานตรงกับความต้องการของลูกค้า

        อีกทั้งยังมีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าลอิเล็กทรอนิกส์ (ศทอ.) Electrical and Electrical Product Testing Center (PTEC) ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (ASEAN) โดยได้รับหมายเลข 2013-001/2012 PTEC เพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่งออกไปจำหน่ายในประเทศสมาชิกของอาเซียนอีก 9 ประเทศ เมื่ออาเซียนเปิดเสรีทางการค้าในปี 2558 ด้วย