กรมพัฒน์เผย ยอดการจดทะเบียนธุรกิจ เดือนมิถุนายน2558และครึ่งปีแรก 2558


           นางสาวผ่องพรรณ  เจียรวิริยะพันธ์  อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่าในเดือนมิถุนายน2558ผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัททั่วประเทศจำนวน 5,161รายเพิ่มขึ้น638 รายคิดเป็น 14%เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2558ซึ่งมีจำนวน 4,523ราย และลดลง 38รายคิดเป็น 0.7% เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2557ซึ่งมีจำนวน 5,199  ราย สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกทั่วประเทศในเดือนมิถุนายน 2558มีจำนวน 1,322ราย

            มูลค่าทุนจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ในเดือนมิถุนายน 2558มีจำนวนทั้งสิ้น11,905ล้านบาทลดลงจำนวน5,627 ล้านบาท  คิดเป็น 32% เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2558ซึ่งมีจำนวน 17,532 ล้านบาทและลดลงจำนวน5,696 ล้านบาท  คิดเป็น 32% เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2557ซึ่งมีจำนวน 17,601 ล้านบาท

            ประเภทธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งสูงสุด 5อันดับแรกได้แก่ ก่อสร้างอาคารทั่วไปจำนวน 522 ราย อสังหาริมทรัพย์ จำนวน312  รายขายส่งเครื่องจักรจำนวน131 ราย  ภัตตาคาร/ร้านอาหาร 128 ราย และขายส่งวัสดุก่อสร้าง 107 ราย ตามลำดับ

            ณ วันที่ 30มิถุนายน 2558  มีห้างหุ้นส่วนบริษัทจำกัดดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศจำนวน 612,177รายมีทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น15.65ล้านล้านบาทแบ่งเป็นบริษัทจำกัด 431,208ราย บริษัทมหาชนจำกัด1,099รายและห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล179,870ราย

           อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  กล่าวเพิ่มเติมว่า ในครึ่งปีแรก 2558มีผู้ยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัททั่วประเทศจำนวน 31,557 รายเพิ่มขึ้น1,555 รายคิดเป็น 5%เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลัง 2557และเพิ่มขึ้น 2,091รายคิดเป็น  7% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2557สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกทั่วประเทศในครึ่งปีแรก 2558มีจำนวน 6,898รายลดลงจำนวน 6,220ราย คิดเป็น 47% เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลัง 2557 และเพิ่มขึ้น จำนวน 1,048 ราย คิดเป็น 18% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2557

           มูลค่าทุนจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ในครึ่งปีแรก 2558  มีจำนวนทั้งสิ้น93,786 ล้านบาทลดลงจำนวน68,576  ล้านบาท  คิดเป็น 42% เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลัง 2557  และลดลง จำนวน  24,975  ล้านบาท  คิดเป็น 21% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2557

             สำหรับแนวโน้มการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทในช่วงครึ่งปีหลัง (ก.ค.-ธ.ค.58) คาดว่าตลอดทั้งปี 2558 จะมีนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ ประมาณ 60,000 – 65,000 ราย  ตามสภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างช้าๆ โดยได้รับปัจจัยบวกที่เป็นแรงสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ ภาคการส่งออก สถานการณ์ภัยแล้งและสภาพเศรษฐกิจโลกซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และส่งผลต่อการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทโดยรวม

            สำหรับเรื่องที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เปิดให้บริการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดข้ามเขตจังหวัด นั้น ในเดือนมิถุนายน2558มีการยื่นขอจดทะเบียนข้ามเขต จำนวน 794ราย จากการจดทะเบียนทั่วประเทศ จำนวน 5,161 ราย หรือ คิดเป็น 15% โดยแบ่งออกเป็น

 – ส่วนกลาง 565ราย  คิดเป็น11%  โดยสำนักงานในส่วนกลางที่รับจดทะเบียนข้ามเขตมากที่สุด คือ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนามบินน้ำ) จำนวน 133 ราย รองลงมา สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 5 (บางนา) จำนวน 106  ราย และ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 3 (รัชดาภิเษก)  จำนวน  90 ราย 

– ส่วนภูมิภาค 229ราย คิดเป็น4%โดยสำนักงานในส่วนภูมิภาคที่รับจดทะเบียนข้ามเขตมากที่สุด คือ สพค.จังหวัดสมุทรสาคร  จำนวน 26 ราย  รองลงมา สพค.สมุทรปราการ จำนวน 24 ราย และสพค.จังหวัดชลบุรี  จำนวน  22  ราย

           นอกจากนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้ายังได้เปิดให้บริการโปรแกรมตรวจสอบข้อมูลทั่วไปของนิติบุคคล   โดยสามารถค้นหาจากรายชื่อหรือเลขทะเบียนของนิติบุคคล  รวมทั้งข่าวสาร  กิจกรรม โครงการต่างๆ และสถานที่ให้บริการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าผ่านมือถือ (Application : DBD e-Service)  โดยระบบจะแสดงผลเป็นภาษาไทย ซึ่งสามารถใช้งานผ่านระบบปฏิบัติการ IOS และ Android เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคลได้ด้วยตนเอง ซึ่งมีสถิติผู้ใช้บริการระบบจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2558 รวมทั้งสิ้น 522,043  ครั้ง โดยในเดือนมิถุนายน2558  มีการเข้าใช้ระบบนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 58,372  ครั้ง คิดเป็น 13%

           อย่างไรก็ตาม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยังคงส่งเสริมให้มีการใช้ e-Commerce เพื่อประกอบธุรกิจและขยายตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกรมได้ออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  (DBD Registered) เพื่อยืนยันการมีตัวตนของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งปัจจุบันนี้มีผู้ยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว จำนวน12,151 ราย 13,811  เว็บไซต์  ประกอบด้วยนิติบุคคล 3,265 ราย คิดเป็น 27%บุคคลธรรมดา8,886 ราย คิดเป็น 73%  โดยธุรกิจที่ขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สูงสุด ได้แก่  ธุรกิจคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตจำนวน 2,447 เว็บไซต์ คิดเป็น 18%  ธุรกิจแฟชั่น/เครื่องแต่งกาย/เครื่องประดับ จำนวน 2,225  เว็บไซต์  คิดเป็น 16%  และธุรกิจการแพทย์และสุขภาพ  จำนวน 1,564 เว็บไซด์  คิดเป็น 11% ตามลำดับ  ซึ่งการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้บริโภคมาใช้บริการ  นอกจากผู้ประกอบธุรกิจร้านค้าออนไลน์แล้ว กรมยังได้หารือกับตลาดกลางออนไลน์ให้กำกับดูแลสมาชิกให้มีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมาย  เพราะหากปฏิบัติไม่ถูกต้องจะมีโทษปรับ และอาจต้องพิจารณางดให้บริการเข้าขายสินค้าในตลาดกลางด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นการขยายตัวของการซื้อขายทางออนไลน์ของไทยให้เติบโตในอัตราก้าวกระโดดเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ

            สำหรับนิติบุคคลที่ยังไม่นำส่งงบการเงินในขณะนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าขอให้นิติบุคคลนั้น       รีบนำส่งงบการเงินโดยเร็วเพราะนอกจากจะต้องชำระค่าปรับตามระยะเวลาที่นำส่งงบการเงินล่าช้าแล้ว     กรมยังได้ร่วมมือกับกรมสรรพากรในการนำส่งรายชื่อนิติบุคคลดังกล่าวให้แก่กรมสรรพากรเพื่อทำการตรวจสอบทางภาษีต่อไป

 

โทษค่าปรับการส่งงบการเงินล่าช้าของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ที่

ประเภทนิติบุคคล

อัตราค่าปรับ (บาท)

ไม่เกิน 2 เดือน

ไม่เกิน 4 เดือน

เกิน4 เดือน

1

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัด

2,000

8,000

12,000

2

นิติบุคคลต่างประเทศและบริษัทมหาชนจำกัด

4,000

48,000

72,000

3

กิจการร่วมค้า

2,000

24,000

36,000

           ปัจจุบัน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เปิดให้บริการรับงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์(DBD e-Filing) ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี XBRL มาสนับสนุนการให้บริการรับงบการเงินผ่านทางเว็บไซต์กรม  www.dbd.go.thเลือก “การนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing)” ผู้ประกอบการสามารถส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ได้ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบ e-Form และรูปแบบ XBRL in Excel ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2558เป็นต้นมา ซึ่งมีสถิติผู้ใช้บริการระบบจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2558มีผู้สมัครลงทะเบียน จำนวน 11,801ราย มาแสดงตัวตนต่อเจ้าหน้าที่ จำนวน 6,194 ราย และส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว จำนวน 2,005ราย โดยระบบนี้ สามารถรองรับการนำส่งงบการเงินของนิติบุคคลทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ทั่วประเทศแต่เมื่อเทียบกับจำนวนนิติบุคคลที่ยังดำเนินการอยู่ทั้งหมด จำนวน 612,177 รายแล้ว จะเห็นว่ามีอัตราส่วนการใช้งานระบบ DBD e-Filing น้อยมาก กรมจึงได้ร่วมมือกับบริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน) หรือ BOL ในการจัดทำฐานข้อมูลงบการเงินในรูปแบบ XBRL สำหรับนิติบุคคลที่นำส่งงบการเงินรอบปีบัญชี 2557เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นิติบุคคลที่จะนำส่งงบการเงินรอบปี 2558 เพียงแค่บันทึกงบการเงินเฉพาะปีล่าสุดปีเดียว โดยไม่ต้องบันทึกข้อมูลงบการเงินรอบปีก่อนหน้าอีก

            ท้ายนี้กรมฯ ยังได้เปิดให้บริการใหม่อีกหนึ่งบริการ คือ การออกหนังสือรับรองนิติบุคคลเป็นภาษาอังกฤษตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2558เป็นต้นมา เพื่อเป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC อย่างเต็มรูปแบบ  ซึ่งตั้งแต่เปิดให้บริการจนถึงวันที่ 30มิถุนายน2558มีผู้มาใช้บริการ ทั้งสิ้น 1,214  คำขอ จำนวน 1,250 ฉบับ แบ่งเป็นส่วนกลาง 790  คำขอ 819 ฉบับ ส่วนภูมิภาค 424 คำขอ431 ฉบับ