รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
แกงเขียวหวานเป็นแกงเผ็ดที่นิยมกินกับขนมจีนมากที่สุดโดยลักษณะแกงกะทิที่ดีนั้นเมื่อราดบนเส้นขนมจีนน้ำแกงต้องจับเส้นมีความมันกลมกล่อมจากะทิ เผ็ดหอมจากเครื่องแกงสูตรโบราณที่ต้องมีการคั่วลูกผักชี และยี่หน่า เพื่อให้เกิดความหอม รสชาติออกหวานเล็กน้อยและไม่ควรแตกมันมากเกินไป หากแกงกับเนื้อที่มีความเหนียวเป็นพิเศษ เช่น ไก่บ้าน เนื้อเป็ด เนื้อวัว เมื่อหมักแล้ว ควรนำมาเคี่ยวกับกะทิให้นุ่มก่อนแกง
*เตรียมวัตถุดิบ
ประเภทผัก
มะเขือพวง มะเขือเปราะ แครอท องุ่น ใบโหระพา พริกสดหรือฟัก ยอดมะพร้าว หน่อไม้ ฟังทอง หัวหอมหั่นยาว กระเทียมหั่นหยาบ
ประเภทเนื้อสัตว์
เนื้อไก่ เลือด เนื้อหมู ปลากราย
ประเภทของแห้ง
น้ำพริกแกงเขียวหวาน น้ำตาลทราย น้ำปลา เกลือป่น พริกไทย กะปิ พริกแดง/เขียว
*วิธีทำ
1. ล้างเนื้อหมู/ไก่ ฯลฯ หั่นชิ้นพอสมควร
2. คั้นกระทิโดยแยกดังนี้
– หัวกะทิข้น 1 ถ้วย (สำหรับราดหน้า)
– หัวกะทิ 2 ถ้วย (สำหรับผัดพริกแกง)
– หางกะทิ 3-4 ถ้วย (สำหรับเคี่ยวเนื้อสัตว์)
3. นำเนื้อสัตว์ไปผัดกับหางกะทิพอสุกตักใส่หม้อพักไว้
4. เด็ดมะเขือพวง มะเขือเปราะ แข่น้ำผสมเกลือ
5. ล้างใบโหระพา เด็ดเป็นใบๆหั่นพริกแดง พริกเขียว ใบมะกรูดฉีกเป็นชิ้นๆ
6. นำหัวกะทิมาผัดกับน้ำพริกแกงจนหอม แตกมันใส่น้ำตาลทราย น้ำปลา เกลือ จากนั้นนำมาเทใส่หม้อที่ใส่ไก่
7. ใส่เลือดไก่ในหม้อ ตามด้วยหางกะทิ พอกะทิดือดใส่มะเขือเปราะ มะเขือพวง แครอท และใส่หัวกะทิพอเดือดทั่วใส่พริก ยกลง ใส่ใบมะกรูด ใบโหระพาและผลองุ่น
*เคล็ดลับ*
– สูตรข้างต้นเป็นแกงเขียวหวานสายรุ้งที่มีจุดเด่นอยู่ที่การนำเอาผัก ผลไม้มาเป็นส่วนผสมเพิ่มขึ้น เช่น แครอทและผลองุ่น
– การจะทำเขียวหวานให้อร่อยควรมีการหมักเนื้อสัตว์ก่อนนำมาผัด เพื่อเพิ่มคึวามหอมและให้เนื้อนุ่มมากขึ้น
– การใส่มะเขือและผักต่างๆควรใส่ตอนน้ำแกงเดือดจะทำให้สุกกรอบและไม่ดำ
– การใช้นมสดเพิ่ม จะทำให้น้ำแกงข้มขึ้นและมีความมันอร่อยมากขึ้น
– แกงเขียวหวานภาคใต้จะนิยมใส่ขมิ้น และใส่พริกแดง เขียว น้อยกว่าภาคกลาง
ขอบคุณรูปภาพ : http://cn.lnwfile.com/