ในฐานะพนักงาน…ควรรับมืออย่างไรเมื่อบริษัท…อยู่ในภาวะวิกฤต : ชยางกูร เเก้วบัณฑิต


            นับวันเศรษฐกิจของไทยดูจะแย่ลง ๆ เนื่องจากปัญหาทางความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงเวลาที่ผ่านมา รวมไปถึงเศรษฐกิจโลกก็ยังไม่ฟื้นตัว ไม่ว่าจะเป็นคู่ค้าใหญ่ ๆ เช่น ตลาดสหรัฐ ตลาดในยุโรป ตลาดจีน จนทำให้ภาคการส่งออกยังมีปัญหา นอกจากนั้นการอัดฉีดเม็ดเงินจากภาครัฐก็ยังทำได้ไม่ดีนัก  ดังนั้นหลายๆบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดเล็กยังตกอยู่ในสภาวะขาดทุน หรือบางบริษัทถึงขั้นปิดกิจการ ถ้าเกิดคุณทำงานอยู่ในบริษัทที่อยู่ในสภาวะแบบนี้ควรเตรียมตัวรับมืออย่างไรบ้าง
 
1.อย่าทำตัว เป็นเจ้ากรมข่าวลือ หรือ จับกลุ่มคุยกันกับเรื่องสถานะการเงินที่แย่ๆของบริษัท ถ้าเป็นผู้บริหารนั้นยิ่งต้องคอยประคับประคองการสื่อสารภายในองค์กรให้ดี อย่าทำเป็นคนปล่อยข่าวสะเอง สถานการณ์แบบนี้การสื่อสารสำคัญมาก ถ้าปล่อยให้ข่าวลือมาก บริษัทยิ่งแย่  moraleของพนักงานก็ยิ่งตก พนักงานจะไม่มีจิตใจในการทำงาน งานออกมาก็ไม่ดี ในทางกลับกันควรจะต้องช่วยๆกันปลุกจิตใจเพื่อนร่วมงานให้นำพาบริษัทให้อยู่รอด
 
2.ปกติต้นทุนในธุรกิจมากกว่า 50 % เป็นค่าจ้าง ดังนั้นเวลาบริษัทมีปัญหาในด้านการเงิน บริษัทก็มักจะลดคนงานจากฝ่ายงานที่ไม่ generate income  หรือ poor performer ก่อน เช่น Training ,PR ,admin , HR หรือพนักงานที่ทำงานไม่ meet KPI  ฯลฯ  ดังนั้นบางทีถ้าคุณอยู่ในหน่วยงานแบบนี้ หรืออยู่ในข่ายนี้อาจจะเตรียมเตรียมใจและเข้าใจถึงความจำเป็นของบริษัท
 
3.ถ้าเกิดคิดว่าตัวเองอยู่ในข่ายที่จะโดนเลิกจ้าง อย่าโวยวาย ร้อนรน พยายามรวบรวมสติ และเริ่มคิดหาทางออก ถ้ามันเกิดขึ้นจริง อย่าคิดมากไปก่อนจนเครียดเกิน เพราะจริงๆแล้วคุณอาจจะไม่โดนก็ได้ แต่เพื่อไม่ประมาท คิดแผนคร่าวๆไว้ก่อนก็ได้ จริงๆคุณมีทางเลือกไม่กี่ทาง
 
3.1 หางานใหม่ในลักษณะงานเดิม ซึ่งถ้าภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ถือว่าไม่ง่าย ถ้าคุณไม่เปลี่ยนแปลงตัวเอง
3.2 หางานใหม่โดยไม่ติดยึดกับลักษณะงานเดิม หรือ ที่เหมาะสมกับความชอบ หรือสถานะทางการเงินของคุณ  เช่น เปิดร้านขายของออนไลน์  หรือ ไปเป็นนักลงทุนเล่นหุ้นไปวันๆ
3.3 ถ้าคุณเป็นคนที่มีฐานะอยู่แล้ว อาจจะเตรียมการในเรื่องของชีวิตหลังเกษียณก่อนเวลาอันควร เช่น ดูแลลูกใกล้ชิดขึ้น หางานอดิเรกทำ เพื่อให้ชีวิตมีสุข
3.4 ไปหาคอร์สพิเศษ ที่เพิ่ม skill ในตัวคุณ เช่น  ภาษาที่สาม หรือ วิชาชีพไปเลยที่คุณสนใจ ในกรณีที่อยากทำกิจการตัวเองเพื่อเพิ่มทางเลือกในการหางานใหม่ให้ตัวเอง
3.5 เกริ่นๆกับครอบครัวไว้บ้างว่า สถานะของบริษัทไม่ค่อยดี แต่อย่าไปทำให้ครอบครัวคุณตกใจ เพื่อเวลามันมาถึงทุกคนในครอบครัวจะได้ร่วมกันแก้ปัญหา
3.6 update resume และติดต่อ head hunter และ ที่คุณสนิทให้ช่วยดูงานที่อื่น in case ว่าคุณโดนเลิกจ้าง
3.7 เช็คสถานะทางการเงินของตัวเองและครอบครัว ว่ามีเงินเก็บ หรือ มีค่าใช่จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ เพื่อจะได้เตรียมข้อมูล in case ถูกเลิกจ้างจริงๆ
 
4. อยากให้หาข้อมูลในกรณี ว่าโดนเลิกจ้างแล้วคุณจะได้อะไรบ้าง เช่น ค่าชดเชยในการถูกเลิกจ้าง, provident fund  และปรึกษาผู้ที่มีความรู้ในด้าน HR หรือ กฎหมาย เพื่อให้ทราบว่าบริษัทเลิกจ้างเราแบบเป็นธรรมหรือไม่
 
5. อยู่กับ crisis อย่างมีสติ ทำงานที่ทำอยู่ให้ดีที่สุด จริงๆแล้ว crisis อาจจะไม่เลวร้ายอย่างที่คุณคิดก็ได้
 ในฐานะพนักงานคุณคงทราบแล้วทั้งหมด ถ้าบริษัทที่คุณทำงานอยู่ในสภาวะวิกฤต คุณควรจะรับมืออย่างไร แต่ในทางกลับกันถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการของธุรกิจที่มีสภาพแบบนี้ ผมแนะนำว่าจะทำอะไร อย่าทำอะไรจากมุมมองทางธุรกิจอย่างเดียว คุณควรคิดถึงด้านมนุษยธรรมด้วย วันนี้ถ้าคอยช่วยเหลือกันระหว่างเจ้าของกับพนักงาน ร่วมด้วยช่วยกันจนกระทั่งผ่านสถานการณ์นี้ผมรับรองว่า บริษัทจะแข็งแกร่งกว่าเดิมพร้อมที่เจอปัญหาใดๆที่จะเข้ามาอีกครับ หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทั้งเจ้าของกิจการและพนักงานจะเข้าใจกันมากขึ้นในการแก้ปัญหาร่วมกันเป็นอย่างดี