รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
1. นักบริหารที่ดีจะต้องถือว่าการตั้งเป้าหมายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตและในการที่บริหารกิจการหรืองานอะไรก็ตามที่พลาดไม่ได้
2. ถึงแม้ว่าจะรู้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวด แต่ก็ต้องไม่รีบผลีผลามตั้งเป้าหมายโดยไม่ได้ไตร่ตรองให้รอบคอบ ปรึกษาให้รอบคอบ ถ้าผิดต้องรีบแก้ไขใหม่
3. เมื่อมีการตั้งเป้าหมายที่ดีแล้ว ต้องให้เวลาตัวเองเพียงพอในการวางแผนให้รอบคอบมีกำหนดเวลาชัดเจน มีระบบการติดตามควบคุมวัดผล ประเมินผลตลอดเวลา
4. การตั้งเป้าหมายที่ดี คือการตั้งเป้าหมายในทุกกิจกรรม ทุกฝ่าย ทุกแผนก จะต้องตั้งเป้าหมายรองรับเพื่อให้สอดคล้องกัน เป็นเป้าหมายที่วัดผลได้ ติดตามรายละเอียดได้ทุกขั้นตอน มีผู้รับผิดชอบชัดเจนของแต่ละกิจกรรม มีการปรับแผนตลอดเพื่อให้ทันเหตุการณ์และทันกับการเปลี่ยนแปลง
5. การตั้งเป้าหมายที่ดี คือการให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันตั้งเป้าหมายจะได้มีส่วนร่วมในความรับผิดชอบกัน การบริหารสมัยใหม่จะไม่ให้ฝ่ายบริหารระดับนโยบายตั้งเป้าหมายอย่างเดียว จะเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและพนักงานระดับรองลงมาได้มีส่วนร่วมด้วย จะได้มีการวัดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
6. จะต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในการตั้งเป้าหมายและผิดไปจากแผนงานก็ต้องอดทน อดกลั้น ค่อยๆปรับไป แก้ไขกันไป ไม่ทำให้เกิดบรรยากาศในทางลบ ทำให้เกิดความกลัวในความผิดเลยหลบนิ่งเงียบกันหมด
7. การตั้งเป้าหมายกับการวางแผนดำเนินงานเป็นของคู่กัน จะต้องฝึกฝนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้วางแผนเป็น ให้มีความรอบคอบละเอียดอ่อนพัฒนาตัวเองให้ก้าวขึ้นมาทันกัน จนพนักงานทุกระดับคุ้นกับการวางแผนแม้แต่งานเล็กๆน้อยๆ
8. ในบางองค์กรจะมีการนำบุคคลภายนอกผู้รู้จริงมาร่วมในการวางแผนหรือเป็นที่ปรึกษาบริษัท การประชุมที่ดีแทนที่จะใช้บุคคลภายในองค์กรซึ่งคุ้นกันมากเกินไปและเกรงใจกัน ถ้าใช้บุคคลภายนอกการตั้งเป้าหมายอาจดูดีมีเหตุผล ไม่มีอารมณ์ไม่มีอคติระหว่างฝ่ายเกี่ยวข้อง
9. การตั้งเป้าหมายและการวางแผน คือประสบการณ์ที่ดีที่สุดที่เรียนรู้จากคนอื่นจากที่ประชุม เป็นการฝึกฝนสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับทุกคนเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาพนักงานทุกคนให้เป็นนักวางแผนนักบริหารผู้นำนำบางครั้งการนำเสนอหลักวิชาการก็จะเป็นต้นแบบที่ดีทำให้ทุกคนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆแนวความคิดใหม่ๆ
10. การวางแผนการตั้งเป้าที่ดี คือเขียนบนกระดานให้ชัดเจนติดไว้ในที่เห็นชัดเพื่อเป็นการเตือนใจทุกคน จะได้คอยติดตามดูความเคลื่อนไหวของตัวเองและคนอื่น
11. สร้างระบบติดตามงานโดยใกล้ชิด โดยการประชุมสม่ำเสมอระบบการทำรายงานสม่ำเสมอ กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน มีเรื่องที่ไม่คาดฝัน อาจต้องเรียกประชุมพิเศษ เพื่อแก้ไขให้ทันเหตุการณ์ มิฉะนั้นงานอาจจะไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
12. พยายามยึดเป้าหมายไว้เป็นหลัก อย่ายอมให้มีการเปลี่ยนแปลงง่ายๆ ถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการก็จำเป็นต้องทำ โดยสายตาต้องไม่ละเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีข้อคิดที่สำคัญคือ “มีวิธีที่ดีกว่าเสมอในการทำอะไรให้สำเร็จ”
13. แม้เป้าหมายจะสำคัญที่สุด แต่การควบคุมค่าใช้จ่ายและงบประมาณอย่างกวดขันเข้มงวด ก็ยังเป็นหัวใจแห่งความสำเร็จที่แท้จริง
14. เป้าหมายที่ดีจะต้องทำเป็น 3 แผนทุกครั้ง คือ
– เป้าหมายระดับสูง กรณีที่ประสบความสำเร็จสูงสุดเกินคาดหมาย
– เป้าหมายระดับกลาง ตัวเลขที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด
– เป้าหมายระดับต่ำ อย่างน้อยเป็นตัวเลขที่ไม่ควรจะต่ำกว่านี้
แต่ในบางครั้งก็อาจจะมีเป้าหมายพิเศษที่แอบซ่อนไว้อีกตัวหนึ่งคือกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน ทำให้สถานการณ์เลวร้ายสุดๆ อาจจะลองเขียนเป้าหมายที่เลวร้ายไว้สำรองอีกตัว แล้วดูภาพว่าจะเป็นอย่างไร จะมีทางออกทางหนีทีไล่หรือไม่ ถ้าเกิดขึ้นจริง
15. การตั้งเป้าหมายในทางธุรกิจ จะมีเป้าหมายระยะสั้น เป้าหมายระยะกลางและเป้าหมายระยะยาว การตั้งเป้าหมายที่ดีทั้ง 3 แผน ควรจะประสารสอดคล้องกลมกลืนกันและมีการปรับแผนอยู่เสมอทุกระยะ มิใช่ตั้งทิ้งไว้แล้วก็ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงอะไรในทางธุรกิจเรียกว่าการทำ Rolling Plan คือ แผนขยับหรือทำไปปรับไป ปรับทุกเดือน ทุกไตรมาส และทุก 6 เดือน
ขอบคุณรูปภาพ : http://www.health4win.com/private_folder/aticle/goodwork/start_work/start_work.jpg