ความคิดเห็น SME ต่อสภาพการดำเนินธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐ


          เว็บไซต์ Smartsme.tv ทำการสำรวจความคิดเห็นของ SME ต่อสภาพการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน และความคิดเห็นต่อเรื่องราวต่าง ๆ ของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับ SME ผลการสำรวจพบว่า SME เชื่อมั่น ในอีก 3 เดือนข้างหน้าสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจจะดีขึ้น และมีการวางเป้าหมายและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจชัดเจนมากขึ้น ส่วน PR รัฐฯ สอบตกในเรื่องการประชาสัมพันธ์

          ในการสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจออนไลน์จากผู้ตอบแบบสอบถามทั่วประเทศ จำแนกเป็นธุรกิจการค้า 35.00% ธุรกิจการบริการ 48.00% และการผลิต 63.00% จากการตอบแบบสอบถามออนไลน์ พบว่า SME เชื่อมั่น ในอีก 3 เดือนข้างหน้าสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจจะดีขึ้น แม้ความคิดเห็นของเหล่าผู้ประกอบการ SME ในด้านสภาพการณ์การทำธุรกิจปัจจุบันจะมีความเห็นว่า ธุรกิจของตนเองค่อนข้างติดลบ โดยค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 50 แต่พวกเขายังมีความเชื่อว่า อีก 3 เดือนข้างหน้าเศรษฐกิจอาจจะดีขึ้นกว่านี้อีกแน่นอน

           จากภาพแสดงให้เห็นว่า ในด้านสภาพคล่องทางการเงินปัจจุบันของ SME ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 49.00 ซึ่ง คาดว่าอีก 3 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้นที่ค่าเฉลี่ย 56.00  ด้านหนี้สินโดยรวม SME มีหนี้สินรวมอยู่ที่ 42.50 และในอีก 3 เดือนจะ SME คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 57.00 ส่วนยอดขายรวมในปัจจุบัน SME ประเมินค่าเฉลี่ยของธุรกิจตนเองอยู่เพียง 43.50 และหวังว่าอีก 3 เดือนยอดขายจะเพิ่มมากขึ้นที่ 57.00

             สำหรับผลกำไรขั้นต้นปัจจุบันอยู่ที่ 48.00 ของค่าเฉลี่ยทั้งหมด และประเมินว่าในอีก 3 เดือนจะดีขึ้นถึง 60.00 แต่กำไรสุทธิปัจจุบัน SME ประเมินตนเองมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 43.00 และในอีก 3 เดือนข้างหน้าประเมินว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเพียง 43.50 เท่านั้น ส่วนการลงทุนเพิ่ม  หรือการขยายกิจการ ในปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 48.00 พร้อมทั้งประเมินว่าในอนาคตจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นที่ค่าเฉลี่ย 57.00

         ซึ่งเนื้อหาข้างต้น สอดคล้องกับความคิดเห็นเฉลี่ยเกี่ยวกับสภาพในองค์กร จากการสำรวจพบว่า SME มีการวางเป้าหมายและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากแต่เดิมมา SME มักมีการทำธุรกิจแบบกำไรวันต่อวัน เป็นการทำธุรกิจแบบขายได้เรื่อย ๆ ส่วนมากไม่มีกำหนดเป้าหมาย และวางแผนกลยุทธ์ในอนาคตชัดเจนนัก แต่จากการสำรวจที่ผ่านมาของ Smartsme.tv แสดงให้เห็นว่า SME มีการนำระบบการจัดการ รวมถึงกลยุทธ์ต่าง ๆ มาใช้ในการทำธุรกิจ โดยสามารถสรุปผลการสำรวจได้ดังนี้

– 84.00 มีการนำกลยุทธ์ และวางแผนงานตามเป้าหมายธุรกิจในอนาคต

– 83.50 มีการกำหนดเป้าหมายธุรกิจในอนาคตอย่างชัดเจน

– 56.00 ให้ความสนใจในการลงทุนด้านการตลาด

– 52.00 ให้ความสนใจการลงทุนในกิจกรรมด้านไอที และนวัตกรรมใหม่ ๆ

– 51.00 มีการลงทุนด้านการพัฒนาบุคลากร และองค์กร

– 44.50 วางแผนลดความเสี่ยงด้านการขาดแคลนปัจจัยการผลิตในอนาคต

– 34.50 พยายามหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะทำให้รายได้ในอนาคตของธุรกิจหดตัว

 

          อย่างไรก็ดีการพัฒนาธุรกิจของ SME ในประเทศล้วนแล้วย่อมมีการสนับสนุนจากภาครัฐ หากใครติดตามข่าวสาร จะพบว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริม ผู้ประกอบการ SME ใหม่ ๆ ออกมามากมาย แต่กลับสวนทางกับความคิดเห็นเฉลี่ยต่อนโยบายภาครัฐฯ ในด้านการรับรู้ เข้าถึง และความต้องการที่ Smartsme.tv ได้ทำการสำรวจมา เพราะพบว่า PR รัฐฯ สอบตกในเรื่องการประชาสัมพันธ์

           จากการสำรวจออนไลน์โดย Smartsme.tv ผู้ประกอบการ SME มีการแสดงความคิดเห็นต่อนโยบายภาครัฐฯ ในเรื่องต่าง ๆ สามารถสรุปผลการสำรวจได้ดังนี้

ด้านเงินทุน

ด้านการให้ความรู้

ด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ 

การรับรู้                 43.50

การรับรู้                 43.00

การรับรู้                 40.00

การเข้าถึง              28.50

การเข้าถึง              35.50

การเข้าถึง              32.00

ความต้องการ       69.50

ความต้องการ       71.00

ความต้องการ       68.50

ด้านตลาดสินค้าภายในประเทศ

ด้านตลาดการส่งออก

ด้านกฎระเบียบ และกฎหมายที่เป็นอุปสรรคทางการค้า

การรับรู้                 44.00

การรับรู้               32.50

การรับรู้                 40.00

การเข้าถึง              33.50

การเข้าถึง              28.50

การเข้าถึง              35.50

ความต้องการ       69.50

ความต้องการ       60.50

ความต้องการ       61.50

          ในทิศทางกลับกัน ผู้ประกอบการ SME เองควรทำการศึกษา หรือค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้วยตนเอง เพราะรัฐบาลเองก็มีการปล่อยนโยบาลช่วยเหลือ SME ออกมาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ยกตัวอย่างล่าสุดกระทรวงการคลังได้เสนอแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ทั้งด้านเสริมสภาพคล่อง และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ

          การสำรวจดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า “SME รับรู้นโยบายน้อย เข้าถึงต่ำ  แต่มีความต้องการที่สูงมาก” เป็นไปได้หรือไม่ว่ารัฐบาลมีการประชาสัมพันธ์นโยบายที่น้อยเกินไป หรืออีกประการหนึ่งคือ นักประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลอาจเลือกช่องทางการสื่อสารได้ไม่ตรงกับพฤติกรรมของ SME ในจุดนี้รัฐบาลอาจต้องทบทวนการประชาสัมพันธ์ของตนเองใหม่อีกครั้ง เพื่อประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเต็มที่ เพราะความต้องการในการพัฒนาธุรกิจของ SME นั้นสูงพอทะลุปรอท แต่การรับรู้และการเข้าถึงกลับมีอยู่เพียงน้อยนิด

         โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยในช่วงแรกเป็นการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ด้วยการจูงใจให้ธนาคารของรัฐ ปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ SME มากขึ้น รวมถึงการใช้มาตรการภาษี เข้ามาช่วยในการลดต้นทุนให้กับ SME เพิ่มเติม เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ส่วนมาตรการ ช่วงที่ 2  เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ SME โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม ทำการหาตลาดผ่านสื่อออนไลน์ หรือ E-commerce เพื่อในอนาคตจะกลายเป็นช่องทางในการดำเนินธุรกิจของ SME โดยเฉพาะธุรกิจรายเล็ก

          หากทั้งสองภาคส่วน กล่าวคือผู้ประกอบการ SME และรัฐบาลเอง ไม่นิ่งนอนใจในการสื่อสารกัน จะเป็นการรวมพลังที่ยิ่งใหญ่ และเป็นอีกแรงในการผลักดันพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้แข็งแกร่ง และมีกำลังต่อสู้ในทุกสภาวะที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน