สอนพนักงาน ให้เข้าใจคำว่าการตลาดกับการขาย ให้ดีก่อนทำ : ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์


‘การตลาดนั้นจะกังวลเกี่ยวกับการขายในวันพรุ่งนี้ แต่การขายจะปิดการขายในวันนี้’ ‘รอบ เกิล์ฟแมน’ ผู้ก่อตั้งบริษัทสื่อสารการตลาดในเมืองซานโฮเซ แคลิฟอร์เนีย กล่าว ‘คุณไม่สามารถเริ่มจากการผลิตไปถึงการขายได้โดยข้ามการทำตลาดไป’

ความผิดพลาดที่ซ่อนอยู่ข้อนี้หมายถึงการอ่อนประสบการณ์ในการยืดขั้นตอนในวงจรการขายโดยทั่วไป ผู้ประกอบการมักจ้างพนักงานขายก่อนอื่น แต่ในการจ้างเริ่มแรกนั้นควรเป็นการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญการตลาดคิดถ้อยคำต่างๆ จากนั้นจึงส่งทีมขายออกไปลุยตลาด และเพื่อขายของได้ ขายสินค้าได้จริง ซึ่งสมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำจำกัดของคำว่า”Marketing”ไว้ดังนี้

การตลาด คือ การกระทำกิจกรรมต่างๆ ในทางธุรกิจที่มีผลให้เกิดการนำสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการนั้นๆ ให้ได้รับความพึงพอใจ ขณะเดียวกัน ก็บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ และองค์ประกอบของการตลาด จำเป็นต้องมี…

         1.มีสิ่งที่จะโอนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ คือ สินค้าหรือบริการ

         2.มีตลาด คือ ผู้ชื้อที่ต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ

         3.มีผู้ขายสินค้าหรือบริการ

         4.มีการแลกเปลี่ยน

การตลาดมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับความเป็นอยู่ของมนุษย์ ในสังคม ทำให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกันอย่างเป็นระบบในสังคมมนุษย์แต่ละคน สามารถประกอบ อาชีพที่ ตนเองถนัดและได้ใช้ความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคลได้ อย่างเต็มกำลังความสามารถ และการตลาดมีบทบาทอย่างใหญ่หลวงต่อความเจริญเติบโต และพัฒนาการทางเศรษฐกิจของ ประเทศ เนื่องจากการตลาดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการวิจัย และพัฒนาหาสิ่งแปลกใหม่ มาสนองความ ต้องการของตลาดและสังคม ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาส เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้หลายทางและ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการ  สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค จึงมีผลทำให้เกิด การจ้างงาน เกิดรายได้กับแรงงาน และธุรกิจ ทำให้ประชาชน  มีกำลังการซื้อ และสามารถสนอง ความต้องการในการบริโภค ซึ่งทำให้ มาตรฐาน การครองชีพของบุคคล ในสังคมมีระดับสูงขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและการตลาดเป็นกลไกในการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจ   ด้วยการก่อให้เกิดการบริโภคและการพึ่งพากันอย่างเป็นระบบมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ การสร้างความต้องการและการสนองความต้องการในการบริโภค ผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดการไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจ คือเกิดการจ้างงาน เกิดรายได้ เกิดการบริโภค และเกิดการใช้แรงงาน ซึ่งจะมีการพึ่งพากันและเชื่อมโยงไหลเวียนตามลำดับอย่างเป็นระบบ ผลจะทำให้การดำรงชีวิต ของมนุษยชาติในสังคมอยู่ในระดับที่มีการกินดีอยู่ดี มีความเป็นอยู่ อย่างเป็นสุขโดยทั่วกัน

ส่วนการขายหมายถึงกิจกรรมทางธุรกิจที่ทุกคนได้พบเห็นในชีวิตประจำวันในฐานะผู้บริโภค หรือผู้ซื้อ เช่น การซื้ออาหารรับประทานในโรงเรียน ซื้อขนมและน้ำดื่ม ตลอดจนใช้บริการทางรถประจำทางจากบ้านมาโรงเรียน กิจกรรมดังกล่าวล้วนเป็นสถานการณ์การซื้อ การขายทั้งนั้น                  
           

 การขาย เป็นศิลปะของการชักจูงใจให้คนอื่นคิดหรือกระทำตามความคิดของนักขาย หรือ การขาย หมายถึงกระขวนวิเคราะห์ความจำเป็นและความต้องการของผู้มุ่งหวัง และช่วยให้ค้นพบความจำเป็น ความต้องการ ที่จะได้รับการตอบสนองด้วยความพึงพอใจจากการซื้อสินค้าและบริการที่นักขายนำเสนอ
            

บทบาทของการขาย เป็นการให้บริการชักจูงใจ การติดต่อสื่อสาร การแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการให้เกิดความพึงพอใจและการให้การศึกษาแก่ผู้บริโภค
 

ลักษณะของการขาย
           งานขายมีลักษณะเกี่ยวกับความสามารถในการชักจูงใจและโน้มน้าว หรือใช้ศิลปะการขายเป็นสำคัญ การขายเกิดจากพฤติกรรมภายใน ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิด ความนิยมความชอบ ความพึงพอใจ ความเต็มใจของผู้ซื้อฯลฯ ดังนั้นนักขายจึงมีคุณสมบัติและความรอบรู้หลายประการ เช่น ด้านพื้นฐานการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการขายโดยตรง ต้านจิตวิทยาในการปรับตัวเข้าหาลูกค้า การเตรียมตัวก่อนปฏิบัติงานขาย และการปฏิบัติภายหลังสิ้นสุดการขาย ดังนั้นผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญของการขายเป็นหลัก นอกจากกิจการจะมีสินค้าพร้อมเพื่อขาย มีลูกค้ามุ่งหวังเป็นเป้าหมายสำคัญในการขาย มีบุคลากรปฏิบัติงานขายยังไม่เพียงพอสำหรับการสร้างเสริมการขายให้มีประสิทธิภาพต้องอาศัยศิลปะการขายที่นักขายเหล่านั้นนำมาใช้ในระหว่าการปฏิบัติงานขายด้วย จึงจะบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้
 

การขายสินค้าและบริการ
          กิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายย่อมเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ซึ้งมีอยู่2ประเภท คือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้า และ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นบริการ ผลิตภัณฑ์2ประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าสามารถมองเห็นได้ จับต้องหรือสัมผัสได้ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เป็นบริการไม่สามารถมองเห็นได้ จับต้องสัมผัสไม่ได้ การเสนอสินค้าและการบริการจึงแตกต่างกัน
ความหมายของสินค้าและบริการ
         

 สินค้า หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีตัวตน สามารถมองเห็นได้ จับต้องหรือสัมผัสได้ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สบู่ ตู้เย็น เสื้อผ้า กระเป๋า บ้าน รถยนต์ ฯลฯ
         

บริการ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตัวตน ไม่สามารถมองเห็นได้จับต้องหรือสัมผัสไม่ได้ หรือหมายถึง กิจกรรมที่จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลอื่นเกี่ยวกับความอำนวยความสะดวก ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่สามารถสร้างความพอใจให้กับผู้รับบริการได้ และท่านมีคนเข้าใจการขาย และการตลาดดีไหมครับก่อนจะเข้าใจ หรือไม่เข้าใจงานการขาย และการทำหน้าที่ทางการตลาด และฉบับหน้าจะกล่าวถึง SME ให้เจาะลึกกว่านี้มากขึ้น โปรดติดตามครับ