“คิดแบบผู้นำสิงคโปร์” : สุรวัฒน์ ชมภูพงษ์


เมื่อครั้งก่อนผมเคยเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศสิงคโปร์ในมุมมองของผมที่ได้ไปพบไปเห็นและรู้สึกอย่างไรก็เขียนไปอย่างนั้น การที่ผมมีความสนอกสนใจเรื่องราวของประเทศสิงคโปร์เพราะผมสงสัยมานานแล้วว่า ผู้นำของเขาคิดและทำอะไรจึงได้รับความร่วมมือจากคนในชาติจนได้รับการยอมรับอย่างที่อาจเรียกได้ว่าเป็นเอกฉันท์  การพัฒนาประเทศรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วแม้จะพบปัญหาอุปสรรคบ้างก็ฟันฝ่าไปได้โดยตลอด  ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นก็แทบจะเรียกได้ว่าไม่มีหรือมีก็น้อยที่สุดในภูมิภาคอาเซียนนี้  ครั้นจะอ้างว่าประชากรเขาน้อยจึงดำเนินอะไร ๆ ได้ง่ายก็อาจจะจริงอยู่ แต่มันก็ไม่แน่เสมอไป เพราะบางประเทศประชากรน้อย แต่ถ้าผู้นำขาดวิสัยทัศน์ ขาดศรัทธาจากผู้คน ไม่เอาจริงเอาจังก็คงจะทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน

 

มาถึงวันนี้ วันที่โลกเปลี่ยนแปลงไปมากมาย   เทคโนโลยีทางการสื่อสารทำให้โลกใบนี้แคบลงอย่างเห็นได้ชัดเจน การเคลื่อนย้ายผู้คน การเคลื่อนย้ายเงินตรา การเคลื่อนย้ายแรงงานเกิดขึ้นทั่วทุกภูมิภาค การที่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)  กำลังจะเปิดอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบในปลายเดือนธันวาคม ปี 2015 ทำให้สิงคโปร์น่าจะมีความหนักใจและน่าจะต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการมากขึ้น เพราะถูกรุมเร้าจากทั้งปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง แต่แล้วจู่ ๆ ท่านผู้นำของประเทศสิงคโปร์ คือ ท่านนายกรัฐมนตรี (Ko Jok Tong: 吳作棟) ก็ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ประชาชนชาวสิงคโปร์ทราบโดยทั่วกันว่า

 

Chin UP, Everyone

“Do not walk around with your head hanging so low, as if we have been diagnosed with a grave condition.  We might be a little out of sorts, but it is not life- threatening.  When the global economy recovers, so will we.  We should, therefore, keep her spirits up and fight off any gloom.  There is a bigger battle after this.”

 

– PM Goh, urging Singaporeans to keep their morals

 “อย่าทำคอตก  เดินวนไปเวียนมา

ราวกับว่าแพทย์ได้วินิจฉัยว่า ท่านกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤติ

พวกเราอาจจะรู้สึกขุ่นมัวบ้าง แต่นี่ไม่ใช่ลางร้ายของชีวิตหรอก

เมื่อเศรษฐกิจโลกดีขึ้น เราก็จะดีขึ้นด้วย

ดังนั้น พวกเราจึงควรที่จะทำจิตใจให้เบิกบานและต่อสู้กับความมืดมนที่ย่างกรายเข้ามา ยังมีสงครามที่ใหญ่ว่านี้รออยู่อีก”

 

จากคำกล่าวของท่านนายกรัฐมนตรี โก๊ะ จ๊ะตง (Ko Jok Tong: 吳作棟) ผู้นำประเทศสิงคโปร์ข้างต้นทำให้เราต้องมานั่งพิจารณากันต่อไปว่า แล้วการจะไปสู่เป้าหมายทางเศรษฐกิจที่ผู้นำสิงคโปร์คิดมันจะมีขั้นตอนวิธีการดำเนินการในรูปแบบใด แล้วเราก็มากระจ่างขึ้นเมื่อท่านผู้นำสิงคโปร์ให้นโยบายการนำประเทศไปสู่ความเป็นสุดยอด (Going for the TOP) ของประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจในสถานการณ์ปัจจุบัน ก็คือ

 

1. Be Global (ครอบคลุมทั่วโลก)   คือต้องสนับสนุนให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้าของประเทศสิงคโปร์ให้ครอบคลุมไปทั่วโลก   ไม่ใช่สร้างเงื่อนไข คือมีข้อจำกัดอยู่เฉพาะประเทศสิงคโปร์ประเทศเดียว หรือเฉพาะภูมิภาคนี้เท่านั้น การสร้างเครือข่ายทางการค้าให้ครอบคลุมไปทั่วโลกต้องใช้เวลาแต่ก็ต้องเร่งดำเนินการเสียตั้งแต่บัดนี้เพื่อความยั่งยืนในระยะยาวของการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์

 

2. Create New Enterprise (ต้องสร้างกิจการใหม่ ๆ) กิจการใหม่ ๆ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น เพราะโลกทุกวันนี้ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือพาณิชยกรรม เพราะประชากรของโลกเพิ่มขึ้น และประชากรของโลกมีอายุยืนยาวขึ้น การสร้างกิจการใหม่ ๆ เพื่อรองรับความต้องการของตลาด จึงเป็นสิ่งที่ควรจะสร้างให้เกิดขึ้น

 

3. Spur Bright Ideas (กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ) ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เป็นสิ่งที่โลกต้องการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จได้ในยุคปัจจุบันนี้ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ทั้งสิ้น หากยังคิดแบบเดิม ทำแบบเดิม  ไม่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นเลย ก็ยากที่จะพัฒนาให้ธุรกิจก้าวหน้าได้ และคนหนุ่มสาวยุคใหม่ก็มักจะใฝ่ที่จะเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดในการสร้างสรรค์ ประดิษฐ์กรรมใหม่ ๆ เสมอเป็นทุนอยู่แล้ว

 

4. Restructure Economy  (ปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่)โดยสร้างเศรษฐกิจที่ดีจะช่วยให้การพัฒนาไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น ดังนั้นการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจที่สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปรวมทั้งความต้องการของตลาด จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ

 

5. External Talent  Fool (สร้างและขยายคลังสติปัญญา)คลังสมองหรือคลังสติปัญญาจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการสร้าง การส่งเสริมและการให้การสนับสนุนด้วยความตั้งใจจริง ทั้งนี้เพราะคลังสติปัญญาจะเป็นแหล่งรวมความรู้ความสามารถและศักยภาพของผู้คนที่จะก่อให้เกิดปัญญาในการสร้างสรรค์คนเพื่อความก้าวหน้าของการพัฒนาธุรกิจและพัฒนาประเทศต่อไป

ฟังความคิดแบบผู้นำของสิงคโปร์ที่จะทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าโดยเริ่มต้นจากการให้ขวัญและกำลังใจกับผู้คนในประเทศก่อน แล้วค่อย ๆ บอกกระบวนการให้ผู้คนค่อย ๆ ติดตามแล้วดำเนินการไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เชื่อว่าผู้นำประเทศนี้คงจะ “เอาอยู่” ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะผันผวนไปมากน้อยเพียงใดก็ตาม คราวนี้หันมามองผู้นำประเทศเราบ้างซิครับว่ามีขั้นตอน กระบวนการและให้ขวัญกำลังใจแก่นักธุรกิจหรือคนในชาติอย่างไรบ้าง?  แต่ผมก็มีความเชื่อว่าผู้นำไทยก็คงจะคิดอะไรไว้หลายอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับสโลแกนที่นำเสนอว่า OUR HOME COUMTRY  Stronger Together”  ด้วยหลักการที่ว่า Prosperity + Stability + Sustainability คือ ความมั่งคั่ง ความมั่นคงและความยั่งยืนนั่นเอง ผมขอเอาใจช่วยครับ