“แฟรนไชส์ร้านอาหาร…เรื่องง่ายๆหรือเรื่องยากๆ” : สุภัค หมื่นนิกร


สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักครับ เผลอแปรบเดียวจะเข้าหน้าหนาวแล้ว เป็นฤดูที่เฉลิมฉลองต่างรวมถึงมีงานแต่งงานหนาแน่นก็ช่วงนี้แหละครับ แต่ก่อนจะถึงเทศกาลพักผ่อนนั้น เจ้าของธุรกิจและฝ่ายบริหารล้วนต้องวางแผนปีหน้ากันทั้งนั้น ทุกคนจะคิดถึงคำว่า ” กลยุทธ์ ” กันมากมาย
 
หนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของร้านอาหารคือ แฟรนไชส์ เพราะแฟรนไชส์เป็นกลยุทธ์การขยายสาขาของร้านอาหาร ถ้าเราเอามาใช้ให้ถูกหลัก จะเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพมากเลยครับ แต่ปัญหาคือ เรารู้จริงไหมว่าการเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์นั้นต้องทำอะไรบ้าง   เตรียมตัวอะไร แผนแฟรนไชส์นั้นต้องทำอย่างไร เราต้องลงทุนอะไรเท่าไหร่บ้าง ใครที่เกี่ยวข้องในโครงการนี้บ้าง นี่แค่เริ่มต้นนะครับ สรุปแล้ว การทำแฟรนไชส์นั้นทำง่ายหรือทำยากกันแน่ล่ะครับ
 
เรามาเริ่มต้นที่มาทราบก่อนดีไหมครับว่า  คำว่าแฟรนไชส์คือ กลยุทธ์การขยายสาขาในระดับธุรกิจ    นั่นแปลว่ามันเป็นกลยุทธ์ที่ต้องคิดในเชิงยุทธ์ศาสตร์เพื่อการแข่งขันกับคู่แข่งขันและชนะใจลูกค้า   นั่นแปลว่าเราต้องทำแผนกลยุทธ์ธุรกิจก่อนว่าเราต้องมีกี่สาขาใน 5-10 ปีข้างหน้า  แฟรนไชส์จึงจะมาตอบโจทย์ให้ธุรกิจเร่งการขยายสาขาให้ได้ แต่ต้องมีแผนว่าสาขาของบริษัทมีเท่าไหร่    สาขาแฟรนไชส์เท่าไหร่    เริ่มต้นเปิดสาขาแฟรนไชส์ที่ใดก่อน    เขตใดหรือโซนใดก่อน  การให้สิทธิ์นั้นมีหลายระดับว่าจะให้เพียง 1แฟรนไชส์ซี่ต่อหนึ่งสาขา เรียกว่า Single Unit Franchise หรือถ้าให้สิทธิ์ 1 คนต่อหลายสาขา จะเรียกว่า Multi Unit Franchise แต่ถ้าให้เป็นอาณาเขตหลายจังหวัด เรียกว่า Sub Area Franchise แต่การทำงานในระดับนี้เราต้องช่วยแฟรนไชส์ซี่สร้างองค์กรด้วย   แต่ถ้าเราจะขยายธุรกิจร้านอาหารของเราไปต่างประเทศ   ขอเตือนไว้ก่อนนะครับ  กลยุทธ์เดียวที่ได้ผลคือ แฟรนไชส์    มิใช่ร่วมทุนหรือไลเซนส์ หลายคนไปแบบร่วมทุน   เจ๊งมานักต่อนักแล้วครับทั้งแบรนด์ใหญ่แบรนด์เล็ก.       ระดับการให้สิทธิ์นี้มี Know How ซ่อนอยู่ในแต่ละระดับ ซึ่งความรู้แบบนี้หาคนรู้จริยากมากในประเทศไทย เพราะเราต้องกำหนดตนเองเป็แฟรนไชส์ซอว์ ถึงแม้เราดึงคนจากแมคโดนัลด์ พิซซ่าคอมปานี  มิสเตอร์โดนัท คนเหล่านั้นแค่รับระบบในฐานะแฟรนไชส์ซอว์มาเท่านั้นเองครับ
 
ระบบแฟรนไชส์เป็นระบบที่ต้องลงทุนก่อนจะได้เงิน เช่นระบบการจัดทำคู่มือปฏิบัติการและการอบรม ถ้าเป็นในองค์กรเราเองเป้าหมายผู้เรียนคือ พนักงานในระดับต่าง แต่ถ้าเป็นระบบแฟรนไชส์นั้น เป้าหมายผู้เรียนคือ แฟรนไชส์ซี่ ซึ่งเป็นคนลงทุน อาจจะจบการศึกษาสูงกว่าเรา ทำงานในองค์กรที่เป็นระบบมากกว่าเรา การจัดทำคู่มือ&การอบรม&เทรนเนอร์นั้นต้องอีกระดับนึงที่ต้องสร้างให้มีความน่าเชื่อถือมากๆ เพราะนอกจากจะต้องคุยเรื่องระบบงานต่างแล้ว ต้องคุยเรื่องธุรกิจต่างได้อรกด้วยเหมือนกันครับ รวมถึงการทำสัญญาที่ต้องมีความผูกพันการทำงานอย่างต่อเนื่องที่อาจจะถึง 10 ปี.  ก็ได้.    ความผูกพันที่ต้องสัญญาร่วมกันคือการทำกิจกรรมการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขาย บริหารค่าใช้จ่าย เพื่อให้ได้ผลกำไร รวมถึงสัญญาว่าจะมีทีมสนับสนุนตลอดอายุสัญญาซึ่งความเป็นจริงคือ. ทีมงานเราไม่ได้อยู่กับเราตลอดเวลา มีเข้ามีออก มาตราฐานงานและมาตราฐานความรู้ ทัศนคติของพนักงานแต่ละคนก็ต่างกันออกไป
 
ประสบการณ์การบริหารธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากพอที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับแฟรนไชส์ซี่ได้ นั่นแปลว่า จำนวนสาขาที่ต้องมี. 3-5 สาขา   ประสบการณ์อายุธุรกิจอย่างน้อย 3 ปี ทีมงานสนับสนุนอย่างน้อย 3 คนเช่น Operation. ( ระบบปฏิบัติงานหน้าร้าน )   Marketing ( การตลาดเพิ่มยอดขาย )  QA ( รักษาคุณภาพสินค้าด้วยมาตราฐาน Food Safety.) เป็นต้น  รวมถึงสิ่งที่ลืมไม่ได้คือ ความสามารถของผู้บริหารหรือเจ้าของว่ามีภาวะการเป็นผู้นำสูงแค่ไหน ระบบการบริหารงานด้านบัญชีการเงินนั้นแสดงออกถึงจริยธรรมของธุรกิจ
 
ท่านผู้อ่านเห็นไหมครับว่า รายละเอียดของระบบแฟรนไชส์นั้นมีเยอะมาก จึงสามารถสะท้อนปัญหาระบบแฟรนไชส์บ้านเราได้อย่างชัดเจนว่า ทำไมระบบแฟรนไชส์บ้านเราถึงไม่แข็งแรง  หาต้นแบบของธุรกิจแฟรนไชส์บ้านเราได้ยากมากโดยเฉพาะร้านอาหารโดยผู้ประกอบการของไทย    
 
ฉบับนี้ผมขอเกิร่นแค่นี้ก่อนนะครับ   ตอนหน้าผมจะเล่าเรื่องขั้นตอนการพัฒนาตนเองเป็นแฟรนไชส์ซอว์อย่างสมบูรณ์เลยครับ