รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
1.ปิด
ปิดภาชนะที่มีน้ำให้มิดชิดเพื่อป้องกันยุงลายวางไข่ และหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะที่มีสีเข้มเพราะจะทำให้เป็นการดึงดูดยุงเข้ามาวางไข่
2.เปลี่ยน
เปลี่ยนน้ำในภาชนะทุกๆ 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง เพื่อป้องกันการแพร่พันธ์ของยุงลายที่จะมีเพิ่มมากขึ้น
3.ปล่อย
ปล่อยปลาหางนกยูงหรือปลาพันธ์ต่างๆที่กินลูกน้ำยุงลายลงในอ่างบัว หรือในภาชนะที่ไม่มีฝาปิด เพื่อที่จะลดจำนวนประชากรยุงลาย
4.ปรับ
ปรับเปลี่ยนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบบ้านเรือนให้มีความปลอดโปร่ง เพื่อที่จะไม่เป็นที่พักอาศัยของยุงลายภัยร้ายของโรคไข้เลือดออก
5.ปฏิบัติ
ปฏิบัติ 4 ข้อข้างต้นเป็นประจำทุก 7 วันเพื่อห่างไกลยุงลายภัยร้ายที่จะฆ่าชีวิตเรา
6.ขัดไข่ทิ้ง
ขัดไข่ยุงทิ้ง โดยจะต้องขัดและล้างภาชนะที่ใช้กักเก็บน้ำ เพื่อทำลายไข่ยุงลายที่เกาะติดกับภาชนะน้ำขังต่างๆออก
** สำหรับบ้านไหนที่มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ขอแนะนำให้เพื่อนๆปลูกพืชสมุนไพรเพื่อไล่ยุงเพื่อเป็นตัวช่วยในการปราบยุงลายให้สิ้นซาก ได้แก่ ต้นยูคาลิปตัส , มหาหงส์ , ตะไคร้หอม , ส้ม , มะกรูด โดยสมุนไพรเหล่านี้ไม่ส่งผลต่อทั้งคนและสัตว์เลี้ยง แถมยังสามารถไล่ยุงลายได้อีกด้วย