การตั้งครรภ์ทำให้เสี่ยงเกิดเบาหวาน
นอกจากโรคเบาหวานที่เราคุ้นเคยกันคือเบาหวานประเภทที่ 1 และเบาหวานประเภทที่ 2 ยังมีเบาหวานอีกประเภทหนึ่งที่เราควรทำความรู้จักกันคือเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ Gestational Diabetes Mellitus เรียกย่อๆว่า GDM เกิดขึ้นประมาณร้อยล่ะ 3-4 ของหญิงตังครรภ์
ผู้ที่เป็น GDM คือ ผู้ที่ไม่เคยเป็นเบาหวานมาก่อนการตั้งครรภ์ แต่มาเกิดเป็นตอนตั้งครรภ์ เนื่องจากการตั้งครรภ์ทำให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลายชนิดในร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายเกิดความอื้อต่ออินซูลิน ความดื้อต่ออินซูลินนี้ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีความต้องการอินซูลินจำนวนเพิ่มมากขึ้น หากร่างกายมีจำนวนเบต้าเซลล์ไม่เพียงพอ จะไม่สามารถผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงตังครรภ์จะสูงขึ้น เข้าข่ายเป็นโรคเบาหวานขณะตังครรภ์
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆมาจากรก ดังนั้นเมื่อคลอดบุตรแล้วและรกหลุดออกไประดับฮอร์โมนและน้ำตาลเลือดจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม การเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์คือสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณแม่ท่านนี้มีความเสียงสูงที่จะเป็นเบาหวานในอนาคต จากสถิติพบว่าคุณแม่ที่เป็น GDM มีโอกาสเป็นเบาหวานภายใน 5 ปี หลังคลอดบุตรสูงถึงร้อยละ 50
สิ่งสำคัญสำหรับการดูแล GDM คือการรักษาน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ และลดความเสี่ยงที่เด็กจะเกิดมาผิดปกติ