รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
จริงหรือไม่? ที่สังคมในปัจจุบันมักจะตัดสิน มองคนที่รูปลักษณ์ภายนอก มากกว่าที่จะเข้าไปทำความรู้จักตัวตนของคนๆ นั้น
จริงๆ ค่านิยมของคนในสังคมไทย มักมองอะไรๆ จากเปลือกนอก หรือสิ่งที่มองได้ชัดจากภายนอกเท่านั้น แต่ถ้ามองโลกอย่างลึกซึ้ง คุณจะมองเห็นความจริงอย่างถ่องแท้ คนบางคนแต่งตัวดูหรูหรา แต่กลับไม่มีเงินเก็บ ต้องกู้หนี้ยืมสินมาซื้อของแบรนด์เนม เสื้อผ้าแพงๆ ก็เพื่อใช้เข้าสังคม ให้สังคมยอมรับ ในขณะกลับกันบางคนแต่งกายธรรมดา ไม่เน้นของแพง แต่ก็มีเงินเก็บมากมาย ทำให้เราเห็นได้ว่าในปัจจุบันค่านิยมของคนเราสมัยนี้เปลี่ยนไปมากทีเดียว เช่น คนมีเงินก็อาจจะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าราคาถูกได้
วันนี้ Smart Sme ขอนำเสนอเรื่องราว 10 ความจริงของสังคมไทยเรา มาให้ได้พิจารณากัน
1. คนดี = คนที่แต่งตัวดี
คนเลว = คนที่แต่งตัวไม่ดี
2. คนทำงานเก่ง แต่นำเสนอไม่เก่ง = ไม่เก่ง
คนทำงานไม่เก่ง แต่นำเสนอเก่ง = เก่ง
3. คนที่พูดมากกว่าทำ = คนฉลาด
คนที่ทำมากกว่าพูด = คนโง่
4. คนพูดเก่ง = คนเก่ง
คนฟังเก่ง = คนไม่เก่ง
5. คนดี = คนรวย มีคนนับหน้าถือตา
คนไม่ดี = คนจน ไม่น่านับถือ
6. คนจบ ดร. = ฉลาด
คนจบ ป.4 = โง่
7. พูดภาษาอังกฤษได้ แต่ทำงานไม่เป็น
= ผู้บริหาร เงินเดือนสูง
พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่ทำงานเก่ง
= พนักงานระดับล่าง เงินเดือนน้อย
8. จบปริญญาจากเมืองนอก = เก่ง
จบปริญญาในเมืองไทย = ธรรมดา
9. ขับรถหรู แต่ยังอยู่ห้องเช่า = รวย
นั่งรถเมล์ แต่มีบ้านของตัวเอง = จน
10. ใช้ iPhone รุ่นล่าสุด = คนรวย
ใช้มือถือตกรุ่น = คนจน
อย่างไรก็ตาม มนุษย์เงินเดือนที่เป็นคนธรรมดา ใช้สมองและสองมือในการสร้างเนื้อสร้างตัวจนเป็น คนรวย ได้เองนั้น ก็เป็นเพราะเขามีคุณสมบัติ หรือทัศนคติที่ดี ซึ่งคนธรรมดาอย่างเราๆ สามารถนำมาปรับเปลี่ยนตัวเองให้มีทัศนคติแบบพลังงานบวก และพร้อมก้าวเข้าสู่เส้นทางความสำเร็จตามไปได้ หรือแม้ว่าจะไม่ได้ อย่างน้อยคุณก็ก้าวขึ้นมาอีก 1 ก้าวของชีวิต…ก็ยังดี
ท้ายที่สุดนี้ อยากฝากไว้ว่า “มนุษย์เราไม่ได้เกิดมา เพื่อหาความหมายของชีวิต แต่เราเกิดมา เพื่อใช้ชีวิตให้มีความหมาย”
ข้อมูลจาก Cr.chatchaitalk