ใครจะไปเชื่อ! “โรคซึมเศร้า” ทำให้คนไทยฆ่าตัวตายปีละ 40,000 ราย


ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เราจะพบเห็นข่าวการฆ่าตัวตายของคนไทยอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งแต่ละคนล้วนมีเหตุผลส่วนบุคคลที่แตกต่างกันออกไปจากสภาพแวดล้อมที่ตัวเองพบเจอ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาครอบครัว ความรัก หรือแม้แต่การใช้ชีวิตที่ล้มเหลว

สถิติที่น่าสนใจของกรมสุขภาพจิต ได้ยืนยันในเรื่องนี้เป็นอย่างดีว่าในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมาคนไทยปลิดชีวิตตัวเองไปประมาณ 40,000 ราย หรือคิดเป็นตัวเลขเฉลี่ยตกอยู่เดือนละ 340 ราย โดยสาเหตุหลักของการฆ่าตัวตายมาจากโรคที่จิตเวชไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือควบคุมอาการได้ ซึ่งโรคเหล่านี้ประกอบด้วยโรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายมากถึง 20 เท่า

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภายนอกที่มีความเสี่ยงให้คนฆ่าตัวตายได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคทางกายภาพ, การติดพนัน, ปัญหาทางด้านการเงิน เหล่านี้ล้วนมีโอกาสทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย อีกทั้ง ในระยะหลังมีการฆ่าตัวตายแบบรมควัน ซึ่งเป็นการฆ่าตัวตายที่ไม่ค่อยพบเห็นสักเท่าไหร่ โดยข้อมูลของศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ เผยว่าตั้งแต่ปี 2540-2560 การฆ่าตัวตายแบบรมควัน พบเพียงประมาณ 0.1% เท่านั้น

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าหนึ่งในปัญหาการฆ่าตัวตายมาจาก “โรคซึมเศร้า” ซึ่งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ มีความรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า ซึ่งเราสามารถสังเกตุคนรอบข้างเราได้ว่ามีพฤติกรรมดังต่อไปนี้หรือไม่

  • ชอบอยู่คนเดียว แยกตัวจากผู้อื่น ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง
  • ติดสุรา ยาเสพติด
  • เคยคิดฆ่าตัวตายมาแล้วก่อนหน้านี้
  • ชอบพูดประมาณว่า “ไม่อยากมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้แล้ว”
  • ประสบปัญหาชีวิต เช่น ล้มละลาย ครอบครัวแตกแยก ผิดหวังจากความรัก
  • เวลาพูดเสี่ยงสั่นเครือ สีหน้ามีความวิตกกังวล

หากพบบุคคลที่น่าสงสัย เป็นไปตามพฤติกรรมที่กล่าวมาข้างต้น เราสามารถให้การช่วยเหลือได้โดยการให้กำลังใจ มอบคำปรึกษาที่ดี รวมไปถึงการออกไปทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ออกกำลังกาย, เดินทางไปท่องเที่ยว แต่หากประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงเกินเยียวก็ควรพบจิตแพทย์ เพื่อขอรับคำปรึกษาต่อไป