เมื่อพูดถึง “การออม” หลายๆ คนอาจจะเข้าใจผิด คิดว่าการออมเงินจะทำให้เราร่ำรวย แต่แท้จริงแล้วคำว่าออมก็คือการนำเงินไปฝากไว้ที่ธนาคารเฉยๆ ฉะนั้นการที่มีเงินอยู่ในธนาคารหรือว่าบัญชีเงินฝากอะไรที่ไม่ได้ผลตอบแทนสูงมากนัก อาจจะไม่ได้ช่วยให้เรารวยมากขึ้น แต่ว่าถามว่าเราจำเป็นต้องทำไหม ตอบได้เลยว่าจำเป็น เพราะการออมเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เงินงอกเงยนั่นเอง
เคล็ดลับการออม สำหรับ เอสเอ็มอี ให้มีเงินเก็บไวๆ ทำได้ดังนี้
1. แยกการออมเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกคือการออมส่วนตัว ส่วนที่ 2 คือการออมสำหรับธุรกิจ เนื่องจากจุดประสงค์ของการออมจริงๆ แล้วคือ “รองรับความเสี่ยงหรือว่าความฉุกเฉินบางอย่าง” ที่เราจะต้องดึงเงินออกมาใช้อย่างกะทันหัน ดังนั้นที่บอกว่าให้แยกกันเพราะว่าความฉุกเฉินที่จะต้องดึงเงินมาใช้ของคนหรือของธุรกิจมีความแตกต่างกัน อย่างเช่น ถ้าเป็นตัวเราเอง เราอาจจะเจ็บป่วย ต้องดึงเงินเอามาใช้ หรือว่ามีทรัพย์สินอะไรเสียหายต้องซ่อมแซม แต่ถ้าเป็นธุรกิจก็จะเป็นเรื่องของการที่ขาดสภาพคล่อง อย่างเช่น เราไปขายสินค้าและบริการอะไรแล้วเรียกเก็บเงินไม่ได้ แต่ว่าครบกำหนดที่ต้องจ่ายเงินให้กับคู่ค้า ก็ต้องมีเงินสภาพคล่องเอาไปหมุนก่อน นั่นคือสาเหตุสำคัญที่เราจะต้องแยกก่อนว่าเงินหรือกำไรที่เราได้มา ควรจะเป็นของเราเท่าไหร่ ของธุรกิจเท่าไหร่ แล้วแบ่งเป็นเงินออม
2. ต้องมีเป้าหมายในการออมที่ชัดเจน
การที่เราจะเริ่มต้นออมเงินมันต้องมี Passion มันต้องมีเป้าหมาย ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเป้าหมายที่ต้องการต้องมีเงินก้อนใหญ่ต้องใช้เงินก้อนใหญ่ในอนาคตครับ มันก็ต้องเริ่มสะสม ใช้ยามเกษียณ หรือบางทีบ้านเราอยู่มา 10-20 ปีแล้ว ต้องมีการซ่อมแซม รถใช้มาเป็น 10 ปีแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนหรือไม่ แม้แต่การลงทุนเองก็ตามก็ต้องมีเป้าหมายของการลงทุนเสมอว่าเราจะนำเงินไปลงทุนก้อนนี้เพื่ออะไร เพราะว่าถ้าเกิดว่าเราไม่มีเป้าหมายเราจะลงทุนไม่ถูกเลย ว่าเงินก้อนนี้เราจะเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าเป้าหมายของเรามันอีกไกลแล้วก็ต้องเป็นเงินก้อนใหญ่ เราอาจจะเสี่ยงได้มาก แต่ถ้าเกิดว่าเป้าหมายเราอีกไม่กี่ปี 1 ปี 2 ปีอย่างนี้เราจะลงทุนเสี่ยงมากได้ไหมก็ไม่ควร มันต้องมีเป้าหมายก่อน
3. เริ่มออมทันที อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง
จริงๆ แล้วทันทีที่เริ่มมีเงินเหลือก็ถือว่าเป็นการออมอัตโนมัติอยู่แล้ว แต่จะมีบางคนแบบว่ารอให้เงินเหลือก่อนแล้วเดี๋ยวค่อยออม ก็อาจจะไม่เหลือเพราะว่ามีเรื่องอยากจะใช้นู่น ใช้นี่ อยู่ตลอด สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เรามีเงินเก็บ มีความตั้งใจที่จะเก็บได้ ก็จะมาจากเป้าหมายการเงินของเราเป็นหลัก เพราะว่าถ้าเกิดเราไม่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ เราจะไม่รู้ว่าจะทิ้งแล้วแต่คนจะเก็บมากน้อยเท่าไหร่หรือว่าเราจะฉันจะเก็บไว้ทำไม ฉันเอาไปใช้เพื่อความสุขในวันนี้ก่อนดีกว่าไหม แต่ถ้าเราตั้งเป้าหมายขึ้นมาบางอย่าง แล้วเห็นว่าเป้าหมายนั้นสำคัญ แล้วต้องมี ไม่มีไม่ได้ เราจะได้ตระหนักถึงความสำคัญในการออม
4. ออมเงินอย่างน้อย 20 % ของรายได้
โดย 10 % แรกแบ่งให้เป็นเงินออมส่วนตัว แล้วอีก 10 % เป็นการออมสำหรับธุรกิจ ทั้งนี้หากเรามีรายได้เข้ามาเท่าไหร่ (โดยไม่สนรายจ่าย) ควรออมอย่างน้อยที่สุด 20% เช่น วันนี้ไปรับจ้างงานได้มา 10,000 บาท ต้องเก็บไว้อย่างน้อย 2,000 บาท การตัดทอนทุกครั้งที่เรามีรายได้เพื่อสำรองความเสี่ยงในวันที่เราไม่มีรายได้
5. ต้องมีเงินออมอย่างน้อย 12 เดือน
ซึ่งเป็นส่วนของรายจ่ายประจำต่อเดือนที่ใช้ในธุรกิจ ถ้าเป็นเรื่องของคนทำเป็นฟรีแลนซ์หรือคนที่เป็นพนักงานกินเงินเดือน แนะนำให้มีเงินออมฉุกเฉินประมาณ 3 ถึง 6 เท่าของรายจ่ายในแต่เดือน แต่ถ้าหากเป็นเจ้าของกิจการจะมีความเสี่ยงมากกว่า เพราะฉะนั้นจะออมเท่าไหร่ก็ต้องสำรวจรายรับ รายจ่าย ก่อน ว่า 1 เดือน ธุรกิจเรามีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่แล้วคูณไป 12 เท่า นั่นคือเงินออมที่เหมาะสม
หากวันใดก็ตามที่คุณมีเงินออมถึงระดับที่เหมาะสมเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงเรื่องของเงินฉุกเฉินเรียบร้อยแล้ว ให้เริ่มต้นวางแผนการเงินต่อไปว่ามีเป้าหมายอะไรในชีวิตอีกไกลมากน้อยแค่ไหน จากนั้นค่อยมองว่าเราจะเอาเงินที่เหลือ ที่เกินตรงนี้ มาบริหารจัดการลงทุนต่อเพื่อให้เพิ่มพูนความมั่งคั่งได้อย่างไร
สำคัญที่สุดคืออย่าลืมกระจายความเสี่ยงไว้ด้วยเพราะการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ