รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
การทำงานในองค์กร หรือออฟฟิศที่ต้องใช้เวลาร่วมกับคนหมู่มาก อาจจะต้องใช้หลายๆ ทักษะในการอยู่ร่วมกันซึ่งอีกหนึ่งทักษะสำคัญที่ควรมี คือการรู้จักกับภาษากาย หรือ Nonverbal Communication เนื่องจากบางครั้งในการทำงานนั้นต้องใช้การสื่อสารแบบไม่ใช้ภาษาพูดเลย โดยสื่อสารผ่านกริยาท่าทางของร่างกาย, การส่งสายตา, ระยะห่างของแต่ละคน, การสัมผัสและการเปล่งเสียง หรือแม้แต่การแต่งตัว ทั้งหมดนี้สามารถเป็นการสื่อสารด้วยภาษากายหมด และยังสามารถใช้ภาษากายควบคู่กับภาษาพูด หรือ Verbal Communication
การสื่อสารแบบภาษากายนั้นมีอิทธิพลมากกว่าภาษาพูดเพียงอย่างเดียวมากๆ ซึ่งแปลว่าเพื่อนร่วมงาน หรือลูกทีมจะตั้งใจฟังสิ่งที่คุณพูด สังเกตท่าทาง จับโทนเสียงว่าคุณต้องการอะไร และการสบตาขณะสนทนากันนั้นจะทำให้อีกฝ่ายเข้าใจเราได้มากที่สุดด้วย การใช้ภาษากายอย่างถูกจังหวะนอกจากจะช่วยให้อีกฝ่ายเข้าใจความต้องการของเราได้ง่ายขึ้น ยังช่วยให้มีมิตรภาพในการทำงานร่วมกันที่ดีขึ้นได้ด้วย
ทักษะการสื่อสารแบบภาษากายนั้น จะมีทั้งหมด 3 รูปแบบ
ลักษณะของภาษากาย
#ภาษากายที่ ขยายความ ภาษาพูด
การใช้กริยาท่าทางขยายสิ่งที่พูดอยู่ในขณะนั้นสามารถช่วยให้การสื่อสารของเราออกไปอย่างชัดเจนขึ้นได้ เช่นการเอามือทุบโต๊ะพร้อมกับการบอกว่าเราไม่พอใจกับสิ่งที่คุณทำซึ่งในตรงนี้คือการขยายความให้อีกฝ่ายเข้าใจชัดเจนว่าเราไม่พอใจ หรือเราควรใช้มือชี้หรือมีการเคลื่อนไหวในขณะที่กำลังนำเสนองานเพื่อให้สิ่งที่เรากำลังนำเสนอนั้นเป็นที่จดจำได้ง่ายขึ้น
#ภาษากายที่ ใช้แทน ภาษาพูด
ในบางครั้งแค่การแสดงออกทางภาษากายเพียงอย่างเดียวก็สามารถทำให้คนอื่นๆ เข้าใจได้ทันทีโดยไม่ต้องเอ่ยปากพูด เช่นการแสดงสีหน้ายิ้มดีใจ บึ้งโกรธ และสีหน้าตกใจ
#ภาษากายที่ สวนทาง กับภาษาพูด
ในบางกรณีภาษากายรูปแบบนี้ในที่ทำงานจำเป็นต้องระวังและต้องรอบคอบก่อนที่จะไปพูดคุยกับใครเพราะหากภาษากายนั้นสวนทางกับสิ่งที่พูดและไม่ดีอาจจะทำให้เกิดการไม่เชื่อใจในที่ทำงานเกิดขึ้นได้
ภาษากายรูปแบบไหนที่ทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ง่าย?
แน่นอนว่าการใช้ภาษากายนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยให้การแสดงออกนั้นชัดเจนขึ้น แต่ในบางสถานการณ์ภาษากายอาจจะทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ง่ายมากๆ เช่นกัน
#การด่วนสรุป – การด่วนสรุปตรงนี้อาจจะเป็นเหตุการณ์ในที่ประชุมแล้วคุณเห็นลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมทีมคุณเอามือเท้าคางอยู่ ซึ่งถ้าหากดูผิวเผิดแล้วมันอาจจะดูเหมือนว่าเขากำลังหลับ แต่เราไม่มีทางรู้เลยว่านั่นอาจจะเป็นท่าที่เขาชอบทำเวลาตั้งใจฟัง หรือเขาอาจจะเหนื่อยจากงานหลายๆ งานของวันนั้นก็ได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรด่วนสรุป และลองใช้วิธีอื่นแทนเช่นการขอพักเบรค
#การลดความน่าเชื่อถือ – หากว่าภาษากายของคุณแสดงออกไม่สอดคล้องกับสิ่งที่คุณพูดแม้จะเป็นแค่ครั้งเดียวก็สามารถทำให้เพื่อนร่วมงานไม่ไว้ใจได้ทันที เช่นเราบอกว่าเรายินดีช่วยเหลืองานของเขาแต่เรากลับแสดงสีหน้าไม่พอใจ หรือเรากำลังให้คำชมกับลูกทีมแต่โทนเสียงนั้นต่ำชาก็แสดงให้เห็นแล้วว่าเราไม่จริงใจกับลูกน้อง ฉะนั้นการคิดถึงสิ่งที่จะพูดและสำรวจตัวเองก่อนที่จะพูดกับใครถือเป็นสิ่งที่ควรทำเหมือนกัน
เทคนิคง่ายๆ เพื่อพัฒนาภาษากายของตัวเองให้ดีขึ้น
สำหรับคนที่อยู่ในตำแหน่งที่สูงหรือระดับหัวหน้าแล้ว People Skill ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ และมันยังช่วยให้ภาษากายดีขึ้นด้วย ฉะนั้นการเข้าใจตัวเองถือเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกที่หัวหน้าอย่างเราต้องเข้าใจตัวเองอย่างชัดเจนก่อน เมื่อเข้าใจตัวเองแล้วสิ่งต่อมาคือรู้แจ้งอารมณ์ของตัวเองในตอนนั้นๆ เพื่อจะได้เรียบเรียงความคิดได้ว่าต้องการจะสื่อสารอะไรออกไป