รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
รัฐบาลญี่ปุ่น เห็นชอบร่างกฎหมาย ห้ามบิดามารดา ลงโทษทางร่างกายต่อเด็ก หลังจากเกิดเหตุทารุณกรรมหลายคดี
รายงานข่าวจากต่างประเทศเปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้เห็นชอบร่างกฎหมายป้องกันการทารุณกรรมเด็กฉบับทบทวน โดยห้ามบิดามารดา ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่สวัสดิการ ลงโทษทางร่างกายต่อเด็ก ไม่ว่าจะอ้างว่าเป็นการทำโทษเพื่ออบรมสั่งสอนก็ตาม อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน
ทั้งนี้ นายกฯ ชินโซ อาเบะ กล่าวต่อที่ประชุมรัฐสภาว่า ผู้ใหญ่ทุกคนมีความรับผิดชอบในการปกป้องชีวิตของเด็ก รัฐบาลจะดำเนินการอย่างรวดเร็วและเด็ดขาดในการป้องกับการทารุณกรรมต่อเด็ก
ร่างกฎหมายนี้ยังกำหนดให้มีทนายความและแพทย์อยู่ประจำที่ศูนย์สวัสดิภาพเด็กแห่งต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์และกฎหมายกับเจ้าหน้าที่สวัสดิภาพเด็ก นอกจากนี้ยังกำหนดโครงร่างของแผนการเพิ่มจำนวนศูนย์ให้คำปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญจะให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงภายในครอบครัว โดยจะพยายามตรวจหาสัญญาณการกระทำทารุณต่อเด็กตั้งแต่เนิ่น ๆ
นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังมีแผนที่จะออกใบอนุญาตแก่เจ้าหน้าที่ทำงานด้านสวัสดิภาพเด็ก โดยรัฐบาลหวังว่าจะผ่านกฎหมายนี้ได้ในการประชุมรัฐสภาสมัยปัจจุบัน
การผลักดันการแก้ไขกฎหมายคุ้มครองเด็กมีขึ้นหลังจากเกิดกรณีทารุณกรรมที่น่าสลดใจหลายครั้ง เช่น กรณีของเด็กหญิงยูอา ฟูนาโตะ วัย 5 ขวบ ที่ถูกทารุณทางร่างกายและทิ้งให้อดอาหารจนเสียชีวิตเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว และกรณีของ เด็กหญิงมิอะ คูริฮาระ วัย 10 ขวบที่ถูกพ่อลงโทษให้แช่น้ำเย็นในฤดูหนาวจนเสียชีวิต เมื่อเดือนมกราคม
ทั้งนี้ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่ทำงานด้านเด็กต่างสนับสนุนร่างกฎหมายของรัฐบาล พร้อมเน้นย้ำว่า การลงโทษโดยอ้างว่าอบรมสั่งสอนของพ่อแม่บางคน ไม่เพียงแต่ก่อความรุนแรงทางร่างกาย แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตใจของเด็กด้วย พ่อแม่บางคนใช้ลูกเป็นที่ระบายอารมณ์ และใช้วิธีการลงโทษที่ทารุณ เช่น ให้อดอาหาร ขังไว้ในห้อง เป็นต้น โดยการลงโทษด้วยวิธีเช่นนี้สมควรจะถูกห้ามด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ จากข้อมูล การรายงานข่าวจากสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา ได้เผยแพร่รายงานพิเศษ โดยอ้างอิงคำให้สัมภาษณ์ของ คลอเดีย แคปปา นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญขององค์การยูนิเซฟ ซึ่งเป็นผู้จัดทำรายงานสถานการณ์เด็กทั่วโลกเมื่อเดือน พ.ย.ปีที่แล้ว พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 2-4 ปี รวมกว่า 300 ล้านคนในประเทศต่างๆ มักถูกทำโทษเพื่อสั่งสอนเรื่องความประพฤติ และเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน