“ทนอยู่” VS “อยู่ทน” คุณกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ใด? ของการทำงานในองค์กร


#สังคมแห่งการทำงานเชื่อว่าหลายคนไม่ว่าจะโลกสวยมากแค่ไหน เมื่อมาเจอวัฒนธรรมและการเมืองในการทำงานเข้าไปก็ต้องมีอึ้งจนทำให้เกิดความรู้สึกที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกกันไปบ้าง

การเมืองของการทำงาน 

บางครั้งการชิงดีชิงเด่น แบ่งพรรคแบ่งพวก ปัญหาความขัดแย้งสารพัดรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในการทำงาน เป็นหนึ่งในปัญหาที่คนทำงานหลีกเลี่ยงไม่ได้และมีอยู่ทุกองค์กร

หากใครยังนึกภาพไม่ออก นี่จะเป็นรูปแบบการเมืองในที่ทำงานแบบชัดๆ 

#พรรคข้าใครอย่าแตะ
ถึงแม้ว่าจะเป็นในรูปแบบออฟฟิศ มักจะมีกลุ่มที่เป็นที่ชื่นชอบของเจ้านายโดยเฉพาะ และถ้าพนักงานคนไหนที่ไม่ได้อยู่พรรคเดียวกันพยายามนำเสนอให้ตายก็ไม่ถูกใจอยู่ดี และถ้าหากเป็นพนักงานที่เป็นลูกรัก แม้ว่าพนักงานคนนั้นจะพูดไม่รู้เรื่องขนาดไหนสุดท้ายเจ้านายก็ชื่นชมอยู่ดี

#ผู้นำพรรค
มีพรรคก็ต้องมีผู้นำพรรคแน่นอนว่าเป็นผู้นำย่อมมีอำนาจ การตัดผิดเป็นถูกให้พวกของตัวเองและอำนาจหลายสิ่งเท่าที่บันดาลได้เพื่อคุ้มครองพรรคพวกถือเป็นหนึ่งในอุปสรรคในที่ทำงาน ทำให้พนักงานดีๆ ทนอยู่ไม่ได้

#ลูกรัก
พนักงานประเภทนี้มักติดระบบการเลียเพิ่มเข้ามา พร้อมสโลแกนประจำตัว ไม่ว่านายถามอะไรมา
“ได้ครับพี่ ดีครับผม เหมาะสมครับท่าน” พนักงานลูกรักมักเป็นตัวแปรสำคัญเพราะยิ่งมีคนแบบนี้ในที่ทำงานมากเท่าไหร่
การเมืองในที่ทำงานก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

#ทนอยู่
การทนอยู่ในที่ทำงานที่มีการเล่นการเมือง เพื่อไม่ให้เสียการเสียงานในอนาคตก็เป็นทางเลือกจำเป็นสำหรับหลายคน เพราะในโลกของความเป็นจริงแล้ว หลายคนมีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากมาย การหางานใหม่จึงเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มที่จะเสี่ยง แต่การทนอยู่ในที่ทำงานที่มีการเล่นการเมืองนั้นอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

#อยู่ทน
ถ้าหากการเมืองในที่ทำงานรุนแรงมากๆ “การเล่นการเมืองให้เป็น” คือทางเลือกที่คุ้มค่า ถ้าหากจะเสียหน้าที่งานที่เป็นอนาคตของเรา เพราะคนดี ทำงานเก่ง ก็สามารถยืนหยัดอยู่ให้เป็นในสภาพสังคมที่เลวร้ายได้เสมอไป

จะเห็นอย่างคร่าวๆ ว่ารูปแบบการเมืองในที่ทำงานส่วนใหญ่จะเล่นเป็นพรรคเป็นพวก การทำตัวเป็นกลางไว้ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน พยายามไม่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการเมืองในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการเห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย น่าจะเป็นการดีที่สุด