รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
คอการเมืองเข้าขั้นแฟนพันธุ์แท้ คงมีการติดตามข่าวสารอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งบางครั้งก็ส่งผลต่อสุขภาพจิตของเราได้เช่นกัน โดยทางการแพทย์เรียกว่า “กลุ่มอาการเครียดจากการเมือง” ( Political Stress Syndrome : PSS )
“กลุ่มอาการเครียดจากการเมือง ( Political Stress Syndrome : PSS ) เกิดจากปฏิกิริยาของอารมณ์ และจิตใจจากความสนใจปัญหาทางการเมือง ติดตามสถานการณ์การเมืองอย่างใกล้ชิด หรือ เอนเอียงไปทางกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จนทำให้มีอาการทางกาย จิตใจ และกระทบต่อสัมพันธภาพกับผู้อื่น ที่สำคัญคือความคิดคาดการณ์ที่นำไปสู่ความรู้สึกวิตกกังวล หรือกังวลต่อเหตุการณ์ในอนาคต
สำหรับกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยง ได้แก่ 1.กลุ่มนักการเมือง 2. กลุ่มสนับสนุนทั้ง 2 ฝ่าย 3. กลุ่มผู้ติดตาม 4. กลุ่มผู้สนใจข่าวสารการเมือง และ 5. กลุ่มผู้มีปัญหาสุขภาพจิต
ส่วนลักษณะของอาการจะแบ่งเป็นดังต่อไปนี้
1. อาการทางกาย
2. อาการทางใจ
3. ปัญหาพฤติกรรมและสัมพันธภาพกับผู้อื่น
หากพบว่ามีอาการอย่างที่กล่าวไปข้างต้น เราสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำด้วยการหันเหเปลี่ยนไปสนใจในเรื่องอื่น, หาทางพูดคุยกับคนที่มีแนวคิดเหมือนกันเพื่อเป็นการระบายออก รวมถึงการเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น ออกกำลังกาย, นั่งสมาธิ, ฝึกโยคะ เพื่อเป็นการทำให้จิตใจเกิดความสงบ แต่หากพบว่ายังมีอาการอยู่เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา
ที่มา: กรมสุขภาพจิต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง