MIT ยุติความร่วมมือกับ หัวเว่ย-แซดทีอี สาเหตุละเมิดมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน


สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ได้ประกาศยุติการให้ความร่วมมือกับบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี และแซดทีอี คอร์ป หลังจากผลการสอบสวนของรัฐบาลสหรัฐระบุว่า บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ทั้งสองแห่งของจีนได้ละเมิดมาตรการคว่ำบาตรที่บังคับใช้โดยสหรัฐ

มาเรีย ซูเบอร์ รองประธานฝ่ายวิจัยของสถาบัน MIT กล่าวในแถลงการณ์ว่า ทางสถาบันจะยุติการให้ความร่วมมือและจะไม่ต่อสัญญาใดๆ กับบริษัทหัวเว่ยและแซดทีอี หรือบริษัทในเครือของหัวเว่ยและแซดทีอี เนื่องจากผลการสอบสวนของรัฐบาลกลางสหรัฐบ่งชี้ว่า ทั้งสองบริษัทได้ละเมิดมาตรการคว่ำบาตร

ความเคลื่อนไหวของสถาบัน MIT ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของสหรัฐ เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่หัวเว่ยกำลังเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนัก นับตั้งแต่นางเมิ่ง หว่านโจว ผู้บริหารของหัวเว่ย ได้ถูกทางการแคนาดาจับกุมตัวตามคำร้องของรัฐบาลสหรัฐ โดยนางเมิ่งถูกทางการสหรัฐตั้งข้อหาว่าลักลอบทำข้อตกลงทางธุรกิจกับอิหร่าน ด้วยการใช้บริษัทสกายคอม ซึ่งเป็นบริษัทที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อบังหน้า (shell company) ในการทำธุรกิจกับอิหร่าน ซึ่งถือเป็นการละเมิดมาตรการคว่ำบาตรที่สหรัฐบังคับใช้ต่ออิหร่านในช่วงปี 2552-2557

Huawei เป็นตกเป็นเป้าการโจมตีจากสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง โดยยืนยันว่าหัวเว่ยและ ZTE เป็นตัวแทนของภัยคุกคามความปลอดภัย แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดที่เฉพาะเจาะจง ในเดือนสิงหาคมประธานาธิบดีทรัมป์ได้ลงนามในคำสั่งผู้บริหารสั่งห้ามการใช้อุปกรณ์ Huawei และ ZTE ในเครือข่ายของรัฐบาลสหรัฐฯ ในขณะที่สหภาพยุโรปตัดสินใจพิจารณาว่าจะไม่ทำตามผู้นำของสหรัฐอเมริกา ประเทศในสหภาพยุโรปจะต้องเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 5G และจัดทำมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าวภายในสิ้นปีนี้

อ้างอิง: