รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
คิดอะไรไม่ออกก็ยัดใส่ไว้ในตู้เย็นไว้ก่อน พอจะออกมาทำอาหารก็เน่าเสียแล้ว อาจเคยชินกับการเก็บวัตถุดิบอาหารเหล่านี้เอาไว้ในตู้เย็น เพราะคิดว่าตู้เย็นจะช่วยถนอมอาหารให้เก็บไว้กินได้นานขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยถูกต้องนัก เนื่องจากอาหารบางชนิด ควรวางไว้ในอุณหภูมิห้องก็พอแล้ว ทั้งนี้การนำไปแช่ตู้เย็นอาจจะทำอาหารเน่าเสีย และมีรสชาติผิดเพี้ยนไปจากเดิมอีกด้วย และยังมีความคิดที่ผิด คิดว่าการนำไปแช่ตู้เย็น เป็นวิธีถนอมอาหารที่ดีที่สุด คงความสดใหม่ไว้ได้นานที่สุด
1.มะเขือเทศ
หากนำผลมะเขือเทศสดๆ ไปแช่ไว้ในตู้เย็นเป็นเวลานาน ผิวที่เคยเต่งตึงก็จะเหี่ยวช้ำ รวมทั้งรสชาติจะเพี้ยนตามไปด้วย วิธีการเก็บมะเขือเทศที่ดีที่สุดคือ ใส่ไว้ในตะกร้าหรือกล่องพลาสติก แล้ววางไว้ในอุณหภูมิห้องปกติ แต่ถ้าอยากให้มะเขือเทศสุกเร็วขึ้น แนะนำให้ห่อไว้ในถุงกระดาษอีก 1 ชั้น
2.กระเทียม
เป็นอาหารที่ไม่ควรเก็บไว้ในตู้เย็นเด็ดขาด มิเช่นนั้นกระเทียมจะเน่าเสียเร็วขึ้น หรืออาจมีต้นอ่อนงอกออกมา วิธีการเก็บกระเทียมที่ถูกต้องคือ เก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำและไม่โดนแสงแดด
3.ฟักทอง
อย่าปล่อยให้ความเย็นในตู้เย็นทำรสชาติของฟักทองหายหมด แต่ควรเก็บไว้นอกตู้ในที่ที่เป็นอุณหภูมิห้องดีกว่า เพื่อรักษาความเหนียวและรสชาติหวานๆ ของฟักทองให้ยังคงอยู่เหมือนเดิม
4.ส้ม
ทั้งส้มและเลมอนต่างก็เป็นพืชในตระกูลเดียวกัน และก็ต้องไม่เก็บไว้ในตู้เย็นเช่นเดียวกัน ทางที่ดีควรเก็บไว้นอกตู้เย็น วางไว้ในที่ที่เย็นและไม่มีแสงส่องถึง อุณหภูมิห้องจะดีต่อพืชผลเหล่านี้มากที่สุด
5.กล้วย
คนที่ชอบกินกล้วยแช่เย็นคงต้องเลือกหน่อยแล้ว เพราะถ้าหากนำกล้วยที่เปลือกยังมีสีเขียวไปแช่ในตู้เย็น ความเย็นจะกักเก็บความสดไว้ ทำให้กล้วยสุกช้าลงมาก ทางที่ดีควรเก็บกล้วยที่ยังเขียวเอาไว้นอกตู้เย็น เพื่อรอให้มันสุกได้ที่แล้วค่อยนำไปแช่จะดีกว่า แม้ว่าเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แต่เนื้อด้านในจะยังคงสุกพร้อมกินเหมือนเดิม
แม้ว่าตู้เย็นจะช่วยรักษาสภาพอาหาร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเอาอาหารทุกชนิดไปเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นได้ อีกทั้งอาจทำให้อาหารบางอย่างเสียเร็วขึ้น