รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
บ้านเรามีความหลากหลายทางวัฒนธรรมอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ อย่างมากมาย ล้วนแล้วแต่เป็นสีสันของชีวิตของคนทั่วประเทศ โดยเฉพาะประเพณีสงกรานต์ในแต่ละภาคก็มีชื่อเรียกที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันออกไป ส่วนภาคไหนจะเรียกแบบไหน มีวันอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย
“ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” สงกรานต์ภาคเหนือ
สงกรานต์ล้านนา หรือ “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เริ่มตั้งแต่
“วันสังขารล่อง” (13 เม.ย.) ที่มีการทำความสะอาดบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล
“วันเนา” หรือ “วันเน่า” (14 เม.ย.) วันที่ห้ามใครด่าทอว่าร้ายเพราะจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี
“วันพญาวัน” หรือ “วันเถลิงศก” (15 เม.ย.) วันนี้ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าทำบุญตักบาตรเข้าวัดฟังธรรม ก่อนจะไปรดน้ำดำหัวขอขมาญาติผู้ใหญ่ในช่วงบ่าย
“วันปากปี” (16 เม.ย.) ชาวบ้านจะพากันไปรดน้ำเจ้าอาวาสตามวัดต่างๆ เพื่อขอขมาคารวะ
“วันปากเดือน” (17 เม.ย.) เป็นวันที่ชาวบ้านส่งเคราะห์ต่างๆ ออกไปจากตัวเพื่อปิดฉากประเพณีสงกรานต์ล้านนา และ “วันปากวัน” (18 เม.ย.)
“บุญเดือนห้า” สงกรานต์ภาคอีสาน
นิยมจัดกันอย่างเรียบง่าย แต่ว่ามากไปด้วยความอบอุ่น โดยคนอีสานจะเรียกประเพณีสงกรานต์ว่า “บุญเดือนห้า” หรือ”ตรุษสงกรานต์” บางพื้นที่จะเรียกว่า “เนา” และจะถือฤกษ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาบ่าย 3 โมง เป็นเวลาเริ่มงานโดยพระสงฆ์จะตีกลองโฮมเปิดศักราช จากนั้นญาติโยมจะจัดเตรียมน้ำอบหาบไปรวมกันที่ศาลาวัดเพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป แล้วต่อด้วยการรดน้ำดำหัว ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติผู้ใหญ่ เพื่อขอขมาลาโทษจากนั้นก็จะเป็นการเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน
สงกรานต์ภาคใต้
ตามความเชื่อของประเพณีสงกรานต์แบบดั้งเดิมที่ภาคใต้แล้ว สงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งการผลัดเปลี่ยนเทวดาผู้รักษาดวงชะตาบ้านเมือง พวกเขาจึงถือเอา
“วันส่งเจ้าเมืองเก่า” วันแรกของสงกรานต์ (13 เม.ย.) เป็น โดยจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์สิ่งไม่ดีออกไป
“วันว่าง” (14 เม.ย.) ชาวนครจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด และสรงน้ำพระพุทธรูป
“วันรับเจ้าเมืองใหม่” (15 เม.ย.) จะทำพิธีต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงามส่งท้ายสงกรานต์ประเพณีสงกรานต์
สงกรานต์ภาคกลาง
เริ่มขึ้นในวันที่ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์
วันที่ 14 เมษายน เป็น “วันกลาง” หรือ “วันเนา”
วันที่ 15 เมษายน เป็นวันวันเถลิงศก
ทั้ง 3 วันประชาชนจะประกอบพิธีทางศาสนา มีการทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระ การขนทรายเข้าวัดก่อพระเจดีย์ทราย
ไม่ว่าสงกรานต์นี้คุณไปเที่ยวที่ภาคไหน ทั้ง 4 ภาคก็มีกิจกรรมวันสงกรานต์ที่แตกต่างกันออกไป พร้อมให้คุณเรียนรู้กิจกรรมของทุกภาคทั่วประเทศไทย