Game of Thrones ดูเถื่อนเสี่ยงติดมัลแวร์


รายการโทรทัศน์จะเป็นหนึ่งในรูปแบบความบันเทิงยอดนิยม แต่เมื่อเกิดการการดาวน์โหลดไฟล์แบบ Torrents, การรับชมแบบ Online streaming และการเผยแพร่เนื้อหาผ่านระบบดิจิทัลในรูปแบบอื่น ทำให้รายการโทรทัศน์ต้องประสบปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งในปัจจุบันช่องทางรับชมรายการผิดกฎหมายมีมากมาย โดยเฉพาะผู้ให้บริการ Torrent-tracker และแพลตฟอร์มแบบ Streaming ผิดกฎหมาย แต่มีสิ่งหนึ่งที่แฝงมากับแหล่งของไฟล์ผิดกฎหมายเหล่านั้น ซึ่งก็คือมัลแวร์นั่นเอง

รายการโทรทัศน์ที่ดาวน์โหลดจากแหล่งที่ผิดกฎหมายสามารถถูกแทนที่ด้วยไฟล์มัลแวร์ได้อย่างง่ายดาย แคสเปอร์สกี แล็บ ทำการวิเคราะห์ไฟล์ที่เป็นภัยเหล่านี้ทั้งในช่วงปี 2017 และ 2018 ซึ่งพบว่าชื่อไฟล์ที่ติดอันดับมากที่สุดทั้ง 2 ปีคือ Game of Thrones โดยในปี 2018 พบว่ามีเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ที่ติดมัลแวร์ถึง 17% และมีผู้ใช้งานที่ถูกโจมตีถึง 20,934 ราย

สิ่งนี้คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในปี 2018 แม้ว่าเรื่อง Game of Thrones จะยังไม่มีเนื้อหาตอนใหม่ออกมาเลยก็ตาม โดยในทุกกรณีที่ตรวจพบ ผู้ปล่อยมัลแวร์จะเลือกเนื้อหารายการตอนแรกและตอนสุดท้ายของแต่ละซีซั่น ซึ่งตอนเปิดตัวซีซั่นจะถูกใช้งานมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ตอน The winter is coming ในซีซั่น 1 ของเรื่อง Game of Throne เป็นต้น

บรรดาอาชญากรไซเบอร์กำลังรุกรานโลกออนไลน์อย่างหนักด้วยการใช้ซีรี่ส์โทรทัศน์ยอดนิยมในการกระจายมัลแวร์ไปทั่วโลก โดยพบว่าเรื่อง Game of Thrones, The Walking Dead, และ Arrow ถูกผู้รุกรานนำไปใช้งานมากที่สุด ซึ่งผลการวิจัยในเรื่องนี้ถูกตีพิมพ์ในรายงานข่าวเรื่อง Game of Threats: How cybercriminals use popular TV shows to spread malware เมื่อไม่นานมานี้

ข้อแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อมัลแวร์ที่มาในรูปแบบรายการโทรทัศน์

-ใช้บริการเฉพาะแหล่งข้อมูลแบบถูกกฎหมายที่มีชื่อเสียงในการผลิตและกระจายเนื้อหารายการโทรทัศน์
พิจารณาชื่อและนามสกุลของไฟล์ที่ดาวน์โหลด แม้ว่าคุณจะดาวน์โหลดเนื้อหารายการโทรทัศน์จากแหล่งที่คุณคิดว่าไว้ใจได้และถูกกฎหมายก็ตาม ไฟล์ควรมีนามสกุล .avi, .mkv หรือ mp4 หรืออื่นๆ ที่ไม่ใช่นามสกุล .exe

-พิจารณาความถูกต้องตามกฎหมายของเว็บไซต์อย่างละเอียดรอบคอบ อย่าเข้าไปยังเว็บไซต์ที่ยินยอมให้รับชมรายการโทรทัศน์ได้ จนกว่าคุณจะมั่นใจว่าเป็นเว็บไซต์ที่ถูกกฎหมายและชื่อเว็บไซต์เริ่มต้นด้วย ‘https’ ตรวจสอบว่าเว็บไซต์นั้นเป็นของจริง โดยการตรวจสอบซ้ำที่รูปแบบ URL หรือการสะกดชื่อบริษัท ก่อนเริ่มต้นการดาวน์โหลด

-อย่ากดลิงค์ที่น่าสงสัย อาทิ ลิงค์ที่สัญญาว่าจะให้รับชมเนื้อหาตอนใหม่ล่าสุดก่อนใคร ให้ตรวจสอบตารางออกอากาศของสถานีโทรทัศน์และติดตามในเวลานั้น

อ้างอิง : แคสเปอร์สกี แล็บ