กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ DBD รายงานว่า รายได้รวมของกลุ่มธุรกิจรับส่งพัสดุของในปี 58-60 เติบโตเฉลี่ยปีละกว่า 29.10% ทำให้ปัจจุบันธุรกิจการรับส่งพัสดุภายในประเทศได้ขยายตัวและจัดตั้งธุรกิจสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเดือน ม.ค. – เม.ย. 62 มีจำนวนธุรกิจเปิดใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 1.32 เท่า และทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 1.16 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน
ซึ่งสอดคล้องกับการขยายตัวของตลาดอีคอมเมิร์ชในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้นทุกปี และพฤติกรรมการซื้อ-ขาย มีแนวโน้มเลือกเข้าถึงสินค้าบริการผ่านรูปแบบ B2C มากขึ้น ทำให้ไทยมีมูลค่าธุรกิจแบบ B2C เป็นอันดับ 1 ของอาเซียน โดยสูงถึง 24.70 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทิ้งห่างจากมาเลเซียอันดับ 2 ที่มีมูลค่า 19.41 พันล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 3 เวียดนาม มีมูลค่า 8.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 4 สิงคโปร์ มีมูลค่า 4.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ และอันดับ 5 ฟิลิปปินส์ มีมูลค่า 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ปัจจุบัน มีธุรกิจรับส่งพัสดุดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น 570 ราย คิดเป็น 0.08% ของจำนวนธุรกิจทั้งหมด มีมูลค่าทุน 1,705.43 ล้านบาท คิดเป็น 0.01% ของธุรกิจทั้งหมดที่ดำเนินการอยู่ ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบบริษัทจำกัด และมีมูลค่าทุนไม่เกิน 5 ล้านบาทสูงถึง 97.19%
ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ กว่า 350 ราย หรือคิดเป็น 61.40% และกระจายตัวอยู่ใน เขตปริมณฑล เช่น นนทบุรี 41 ราย ปทุมธานี 35 ราย และสมุทรปราการ 32 ราย การที่ธุรกิจนี้กระจายตัวอยู่ในเขตพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากมีความหนาแน่นของประชากรสูง เป็นแหล่งการค้า และแหล่งกระจายสินค้าของประเทศ
ส่วนอันดับรองลงมาตามภูมิภาค ก็ได้แก่ ภาคกลาง 127 ราย คิดเป็น 22.28% ภาคตะวันออก 28 ราย 4.91% ภาคอีสาน 28 ราย 4.91% ภาคเหนือ 19 ราย 3.34% ภาคใต้ 14 ราย 2.46% และภาคตะวันตก 4 ราย 0.70%
จากมูลค่าการลงทุนทั้งหมด 1,705.43 ล้านบาท แบ่งเป็น นักลงทุนชาวไทย 1,413.39 ล้านบาท คิดเป็น 82.88% ส่วนนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในธุรกิจนี้สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สิงคโปร์ 229.79 ล้านบาท 13.47% จีน-ฮ่องกง 17.05 ล้านบาท 0.82% อังกฤษ 12.07 ล้านบาท 0.71% และสัญชาติอื่นๆ 36.14 ล้านบาท 2.12%
คาดการณ์ว่าธุรกิจรับส่งพัสดุจะยังขยายตัวต่อไป และจะมีการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้น จากผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่นำแบรนด์จากต่างประเทศเข้ามา เช่น Best Express บริษัทร่วมทุนกับอาลีบาบาจากจีน, KerryExpress จากฮ่องกง, DHL จากเยอรมนี, SCG Express ที่ได้ร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่น, และ Flash Express ที่ร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการไทยและจีน หรือแม้แต่ FedEx Express ที่ผนึก TNT เพื่อสร้างเครือข่ายการขนส่งด่วนทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวมไปถึงกลุ่มบริการส่งด่วนภายในหนึ่งวันอย่าง Line Man, LaLaMove, Grab Express และอีกหลายแบรนด์ ซึ่งล้วนแต่มีแนวโน้มขยายตัวตามพฤติกรรมการซื้อ-ขายแบบ B2C
อนาคต คาดว่ากลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจนี้ จะมุ่งไปที่การพัฒนาระบบเทคโนโลยี เช่น AI รวมถึงการพัฒนาแอปฯเพื่อรองรับการให้บริการ และจะมีการขยายสาขาให้บริการเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในการคัดแยกสินค้า บรรจุหีบห่อ และสร้างจุดเชื่อมโยงในการพักและส่งต่อสินค้า ให้ครอบคลุมลูกค้าทั่วประเทศ ทำให้สถานที่ที่ยังเข้าไม่ถึงบริการขนส่งสินค้ามีโอกาสเติบโตสูง
ด้านกลยุทธ์จะเน้นไปที่การแข่งขันเรื่องราคา และแคมเปญส่งเสริมการขาย เพื่อสร้างแรงจูงใจจากลูกค้า และแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดจากผู้ประกอบหน้าเก่า รวมทั้งจะให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ ควบคุมมาตรฐานให้ที่ยอมรับของลูกค้าทั้งในแง่ของระยะเวลาจัดส่ง ความปลอดภัยของสินค้า รวมถึงการแก้ปัญหาทั้งก่อนและระหว่างการจัดส่ง
สำหรับใครที่ต้องการต่อยอดโอกาสธุรกิจ มองหาคอนเน็กชั่น หรือสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ อย่าลืมแวะไปที่งาน Smart SME EXPO 2019 ในแนวคิด #ที่เดียวจบพบทางรวย 4-7 กรกฎาคม 2562 ฮอลล์ 7-8 อิมแพ็คอารีน่า เมืองทองธานี
โดยผู้เข้าชมจะได้พบกับการรวบรวมแนวคิดการทำธุรกิจไว้มากมาย อาทิ โซนธุรกิจสุขภาพ-ความงาม โซนธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม โซนนวัตกรรม โซนแฟรนไชส์ โซนสถาบันการเงิน และโซนสนับสุนนการทำธุรกิจ SMEs
ลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนใครได้ที่ expo.smartsme.co.th
ผู้ประกอบการที่สนใจร่วมออกบูธ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ 08-6344-5358 , 09-4915-4624