รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
กระทรวงสาธารณสุข เผย สมัชชาอนามัยโลกถกปัญหาดื่มเหล้าคนทั้งโลก ชี้ธุรกิจเหล้ารุกตลาดใหม่และเอเชียหนัก ส่งผลนักดื่มเพิ่มขึ้น 34% ในรอบ 7 ปี
นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถรียร ที่ปรึกษางานต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า มีการรายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 72 ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอแลนด์ จัดขึ้นเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งประเด็นดังกล่าวถือเป็น 1 ใน 5 ปัจจัยเสี่ยงหลักของการเกิดโรคไม่ติดต่อที่กำลังเป็นวาระระดับโลกขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น)
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เป็นผู้แทนภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก (WHO-SEARO) รวม 11 ประเทศ ได้แสดงความกังวลถึงปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงอย่างมากในทวีปเอเชีย โดยพบว่าระยะ 7 ปีทีผ่านมา หรือระหว่างปี 2553-2560 มีสัดส่วนการดื่มแอลกอฮอล์สูงขึ้นถึง 34%
โดยค่าเฉลี่ยการดื่มแอลกอฮอล์ในเอเชียจากเดิมอยู่ที่ 3.5 ลิตร/คน/ปี ขยับขึ้นเป็น 4.7 ลิตร/คน/ปี โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการขยายการลงทุนของธุรกิจแอลกอฮอล์ข้ามชาติที่มุ่งเป้าขยายฐานลูกค้าในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และทำการตลาดผ่านโลกออนไลน์อย่างหนัก
นพ.วิโรจน์ กล่าวอีกว่า แนวโน้มในอีก 10 ปีข้างหน้าการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนทั้งโลก รวมถึงคนเอเชียจะเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ขณะเดียวกัน สุรายังเป็นสิ่งเสพติดเพียงประเภทเดียวที่ไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศควบคุม มีเพียงยุทธศาสตร์โลกว่าด้วยการจัดการปัญหาแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นเครื่องมือวิชาการที่พัฒนามานานกว่า 10 ปีแล้ว
แม้การจัดการปัญหาที่ผ่านมาจะมีความก้าวหน้า แต่ยังไม่เพียงพอกับการลดปัญหาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งด้านสุขภาพและสังคม การควบคุมปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คือวาระสำคัญ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานหลายภาคส่วนในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศและนานาชาติ