รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ปัญหาปริมาณน้ำตาลมากเกินไปในอาหารไม่ใช่พบแต่ในส่วนของผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอาหารสำหรับเด็กด้วย ซึ่งอาจนำมาสู่ผลกระทบที่มีต่อสุขภาพ เช่น โรคอ้วน ฟันผุ
องค์การอนามัยโลกเผยแพร่รายงาน ระบุว่า อาหารสำหรับเด็กในท้องตลาดมีส่วนผสมของน้ำตาลมากเกินไป โดยจากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็ก ประมาณ 8,000 ชนิด จากร้านค้ามากกว่า 500 แห่งในประเทศออสเตรีย, บัลแกเรีย, อิสราเอล และฮังการี ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2560 -มกราคม 2561
โดยผลการสำรวจ พบว่า ผลิตภัณฑ์มากกว่าครึ่งให้พลังงานมากกว่าร้อยละ 30 จากน้ำตาล และผลิตภัณฑ์ราว 1 ใน 3 มีการเพิ่มน้ำตาล หรือสารให้ความหวานประเภทอื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เด็กอาจมีน้ำหนักเกิน และเสี่ยงต่อพฤติกรรมติดความหวาน
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก แนะนำให้แต่ละประเทศออกกฎหมายควบคุมปริมาณน้ำตาล และงดเติมน้ำตาล หรือสารให้ความหวานในอาหารสำหรับเด็ก ตลอดจนการติดฉลากเตือนที่ขนม ลูกอม และเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ได้แก่น้ำผลไม้ และนมข้นหวาน ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสำหรับเด็กอายุที่ต่ำกว่า 3 ปี
ที่มา: thainews