รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เผยแพร่รายงานภาวะสังคมไทย ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 พบการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ขยายตัวร้อยละ 4.6 รวมถึงคดียาเสพติดเพิ่มขึ้นอีกด้วย
จากรายงานภาวะสังคมไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 ซึ่งถูกเผยแพร่โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ขยายตัวร้อยละ 4.6 โดยแบ่งเป็นปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขยายตัวร้อยละ 6.9 ส่วนการบริโภคบุหรี่ขยายตัวร้อยละ 0.9
จากสถิติที่เพิ่มขึ้นทำให้ต้องมีการเฝ้าระวังในประเด็น ดังต่อไปนี้
1.การได้รับควันบุหรี่มือสองและมือสามในบ้าน
หากผู้ที่อยู่อาศัยร่วมกันได้รับควันบุหรี่มือสองและมือสามในบ้าน มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ รวมถึงเสี่ยงเป็นหลายโรค สอดคล้องกับการศึกษาของศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) พบว่า ในปี 2560 มีครอบครัวที่มีคนสูบบุหรี่มากถึง 4.96 ล้านครัวเรือน คนที่ไม่สูบบุหรี่จึงได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านโดยเฉลี่ยมากถึง 10.33 ล้านคน
2.การเผยแพร่ของบุหรี่ไฮบริด
บุหรี่ไฮบริด เป็นลูกผสมระหว่างบุหรี่ทั่วไปกับบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งถูกออกแบบมาให้พกพาสะดวก ใช้งานง่าย โดยผู้สูบบุหรี่ดังกล่าวจะได้รับสารนิโคตินเหมือนกับบุหรี่ทั่วไป อย่างไรก็ตาม แม้ผู้สูบบุหรี่ปกติจะหันไปสูบบุหรี่แบบไฮบริด แต่สุดท้ายแล้วผู้สูบคนนั้นจะเลือกสูบบุหรี่ทั้งสองอย่างในที่สุด
อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ คือในส่วนของคดีอาญาที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 16.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2561 โดยการรับแจ้งจากคดียาเสพติดเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 โดยเป็นผลมาจากการให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลระดับสูง ด้วยวิธีป้องกันปัญหาใหม่ บำบัดรักษาผู้เสพยากลับสู่สังคมอย่างมีสุขและได้รับการยอมรับจากสังคม