แท้-ไม่แท้? รู้กัน! หากจะซื้อสินค้า “Outlet” ต้องเข้าใจกฎทอง ดังต่อไปนี้


เคยสงสัยบ้างไหมว่า ที่เราเห็นร้านค้าหลายๆ ร้านที่เป็นร้านที่มีชื่อเสียงมารวมกันเป็นคอมมูนินี้ขนาดย่อมๆ ขายอะไร? ทำไมติดป้ายลดราคาว่าลดเยอะเหลือเกิน แล้วที่เรียกว่า เอาท์เล็ท มันหมายถึงอะไรกันแน่ 

สำหรับ เอาท์เล็ท (Outlet) คือหนึ่งในประเภทค้าปลีกมีมาเนิ่นนาน โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากโรงงานผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าแห่งหนึ่งในชายฝั่งตะวันออกของประเสหรัฐอเมริกา ได้นำสินค้ามีตำหนิและสินค้าค้างสต็อก (Stock) มาขายให้กับพนักงานในราคาถูก จนเกิดเป็นแนวคิดการวางจำหน่ายสินค้ามีที่ตำหนิ และสินค้าที่ค้างสต็อกในบริเวณโรงงานนั้นๆ หรือบริเวณโรงงาน

 

ล่าสุด สมาชิกพันทิป ท่านหนึ่งได้ตั้งกระทู้เกี่ยวกับเรื่องนี้และได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ในหัวข้อ

 

 

กฎทองที่ต้องทำความเข้าใจ เมื่ออยากเลือกซื้อสินค้า “outlet”

ให้พูดถึงเรื่องราวของสินค้าบนโลกนี้มันก็ล้วนมีมากมายหลากหลายประเภท หลากหลายเกรดให้เราได้เลือกสรร บางครั้งเราก็อยากจะใช้ของที่มันดีๆ แต่ก็นะ…ราคามันก็ยากเกินเอื้อมถึง….แต่ก็ไม่อยากสนับสนุนงานก็อบไง พวกก็อบเกรด A ก๊อปมิลเลอร์ เราเป็นคนนึงที่ไม่อยากใช้ของเหล่านั้น เพราะฉะนั้นสำหรับคนที่มีรสนิยมสูงรายได้ต่ำอย่างเรา ก็คงจะมีแต่สินค้าจาก Outlet ที่เป็นความหวังให้กับเรา เพราะยังคงความเป็นแบรนด์อยู่ แต่สิ่งที่ถูกลดลงไปก็คือคุณภาพนั่นเอง

ก่อนอื่นเลยเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่า สินค้า Outlet เป็นสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นมาโดยไม่ได้มาตรฐาน อาจมีตำหนิบ้างเล็กๆน้อยๆ อันไหนที่พอจะนำออกมาขายได้ ก็เอาออกมาขาย หรือเป็นสินค้าที่หลุดซีซั่นก่อน รุ่นที่ผลิตออกมาเกิน ก็จะถูกจัดจำหน่ายใน Outlet เช่นกัน

ซึ่งเรานับถือคนที่คิดการขายสินค้าประเภทนี้มากเลยนะ มันเป็นวิธีการปล่อยของได้ฉลาดมาก ดีกว่าปล่อยให้สินค้าไม่ได้มาตรฐานนอนตายในโรงงานผลิต โดยเอาเรื่องของาคามาเป็นแรงจูงใจ ลดราคาอย่างแรง แต่ความคาดหวังในตัวสินค้าประเภทนี้ก็ต้องเผื่อใจไว้ด้วยนะ มันอาจจะไม่ได้เนี๊ยบเหมือนงานที่วางบนห้างหรู หรืออาจจะไม่ได้ของแถมอย่างที่ในช็อปเขาได้กัน

แต่เนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยน สินค้าที่จำหน่ายใน Outlet อาจจะไม่ใช่สินค้าที่มีตำหนิ หรือตกรุ่นอีกต่อไป แต่สินค้ากลับถูกผลิตขึ้นมาเพื่อจัดจำหน่ายใน Outlet โดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ก็จะเป็นเกรดที่ต่ำกว่า จึงทำให้สามารถจัดจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าช็อปได้ คือถ้าเป็นคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการก็จะรู้กันเลยว่าอันไหนสินค้าช็อป อันไหนสินค้าOutlet ที่พูดได้เพราะเคยเจอมากับตัวแล้วครั้งหนึ่ง เคยเอารูปไปถามในช็อป พนักงานบอกว่า “มีเฉพาะที่ขายในOutletค่ะ”
โอเคจบไป เป็นความรู้ใหม่ว่ามันมีแบบนี้ด้วย

พูดกันง่ายๆ คือ เป็นของ Outlet จะให้ไปเทียบชั้นกับของจากช็อปแท้มันก็ไปได้ยาก อันนี้คือกฎทองของคนที่ต้องรู้และเข้าใจสำหรับผู้ที่สนใจสินค้า Outlet เพื่อที่จะทำให้เราสามารถใช้สินค้าคุณภาพ Outlet ได้อย่างเข้าใจ

โดยรวมแล้วการใช้สินค้า Outlet ไม่ได้มีความผิดอะไร ส่วนตัวก็ยอมใช้ของที่คุณภาพดร็อปลงมานิดนึง เพื่อจะไม่ใช้สินค้าก็อป หรือถ้าไม่มีปัญญาซื้อจริงๆ ก็ยอมที่จะใช้ของที่ไม่มีแบรนด์ไปเลยดีกว่า รู้สึกสบายใจกว่าเยอะ แต่ถ้าไม่รีบใช้ก็จะเก็บเล็กผสมน้อยเพื่อจะซื้อของจากช็อป ได้คุณภาพคับแก้วสมใจนึกแน่นอน

ปล. แต่เอาจริง เราว่าการเลือกซื้อสินค้าแบรนด์ที่ราคาถูกกว่าช็อปมันก็ยังมีอยู่นะ อาศัยช่วงโปรโมชั่นลดราคาปลายปีเอาก็ได้

 

โดยหลังจากนั้น ได้มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นมากมาย เช่น

  • ผมว่าเรื่องนี้แล้วแต่คนชอบเลย ส่วนตัวสินค้า outlet มันจะเป็นสินค้าตกรุ่นรุ่นที่ยอดนิยมไม่เคยได้ลงมาถึง outlet แน่นอนไม่ว่าจะ high brand หรือ brand ทั่วไป ไม่รู้ว่าที่ เซ็นทรัลวิลเลจ กับของเครือสยามพิวรรธที่จะเปิดใหม่ไม่รู้เป็นไง แต่ที่แน่ ๆ บ้านอยู่แถวบางนา ผมคงไม่ค่อยชอบใจ แค่นี้ก้อรถติดจะตายอยู่แล้ว เหอ เหอ
  • ผมว่า ไม่ใช่ทุกแบรนด์แน่นอนครับ
  • ใช้ของไม่ก๊อป อยู่ที่ความพึงพอใจของคนซื้อ ใช้แล้วมีความสุข ไม่ต้องสนใจคนอื่น
  • ในตปท. มี outlet เยอะค่ะ ใน USA รัฐที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีแทบทุกรัฐ ส่วนมากก็เป็นแนวเอาท์ดอร์ คุณภาพแต่ละที่ก็แล้วแต่ดีเวลลอปเปอร์ บางที่ก็เน้นแบรนด์ไฮสตรีท บางที่ก็มีไฮเอนด์กับไฮสตรีทพอๆ กัน พวกประเทศเมืองหนาวสินค้าแฟชั่นเขาจะต้องเปลี่ยนตามฤดูกาล ก็ต้องรีบหาทางระบายสินค้าที่ขายไม่หมดจากซีซันก่อน outlet จึงเหมาะมาก แต่นักช๊อปก็ต้องทำใจ แบบ/ไซส์ ที่อยากได้อาจจะไม่มี
  • แบบไม่เหมือนกันค่ะ บางคนที่ใช้ของช็อป ก็มาซื้อ outlet เพราะแบบคุณภาพรายละเอียดก็ต้องต่างกันแหละ ลดต้นทุนการผลิต จะให้เหมือนกันก็คงไม่ค่อยยุติธรรมกับคนใช้ช็อป เค้าจ่ายแพงกว่าตั้งหลายเท่า ดีที่สุดคือของหลุดจากช็อป แล้วมาเจอ outlet + เจอลดอีกครึ่ง
  • จากประสบการณ์ ซื้อตอนเซลล์จะดีกว่าของเอาท์เลท
  • ตอบจากประสบการณ์ดูแลแบรนด์ใหญ่มาสามปี

    outlet เน้นการระบายสินค้าในสต็อก

    สินค้าในสต็อกจะถูกคำนวนเป็นค่าดูแลต่อเดือน และค่าเสียโอกาสจากการขาย เช่นถ้าเก็บไว้ 6เดือน มีค่าดูแลเท่าไหร่ เสียโอกาสในการขายเมื่อหลุดจากซีซั่นไปเท่าไหร่ ถ้าเทียบกันแล้ว ค่าดูแลมาก ก็ะปรับราคาให้ลดลงไปอีก

    การทำการตลาดในoutlet สำคัญพอๆกับในช็อป ความยากคือทำอย่างไรไม่ให้กระทบกับยอดขายของช็อป คือต้องยิงตลาดที่ต่างกันจริงๆ และที่ยากพอๆกันกับการทำตลาดคือการบริหารสินค้า เพราะสินค้าที่ขายได้ง่ายๆ มันก็จะหมดก่อนตั้งแต่ในช็อป เหลือแต่ของที่ขายยากมาเข้าในเอาท์เล็ท หรือของขาดไซส์ เมืองนอกจะเรียก lucky size, ดังนั้นราคาจึงมีผลโดยตรงต่อการตัดสินใจ

    สินค้าบางแบรนด์ ถ้ายอดขายเก่าไม่ถึงเป้า จะไม่ให้โควต้าของใหม่ แต่บางแบรนด์ทางต้นทางก็จะลงมากวดขันเรื่องเอาท์เล็ทโดยตรงเลย เพราะถือว่าตัวเลขเติบโตน่าสนใจในช่วงหลายปี

    ส่วนสินค้าในเอาท์เล็ทเข้าใจได้ถูกต้องแล้ว

    1.คือของตกซีซั่น เพราะของจะถูกผลักออกจากหน้าร้านตามซีซั่น ดังนั้นของที่เซลในร้าน อาจจะเซลอยู่20-30% พอหมดช่วงเซล ก็จะถูกผลักเข้าไปที่เอาท์เล็ท เพื่อเคลียร์ที่ว่างให้ของใหม่เข้า ของในเอาท์เล็ทที่ถูกผลักเข้ามาก็จะกลายเป็นของใหม่ของเอาท์เล็ท ที่ต้องเอามาจัดการต่อซัก30%ขึ้นไป

    2.ของมีตำหนิ ของเหล่านี้ไม่ใช่ของที่ผลิตแล้วมีตำหนิมาแต่แรก ของเหล่านั้นจะถูกเรียกกลับหรือทำลาย พวกของตัดป้ายบอกได้เลยว่าถ้าไม่ได้ผลิตในไทยก็ไม่มีอยู่จริง ส่วนใหญ่ของเหล่านี้จะเกิดจากการเวียนขาย เวียนโชว์ สมมติว่าซักสองปีถึงเข้สาอาท์เล็ท ของก็จะเลอะบ้าง สีตกแเพราะไฟเลียบ้าง ขาดบ้าง รุ่ยบ้าง เป็นต้น พอมาเข้าเอาท์เล็ทของเหล่านี้ส่วนใหญ่จะขาย as is แบบราคาเดียว เพราะง่ายต่อการตัดสินใจ

    3. ของที่ผลิตมาเพื่อขายในเอาท์เล็ท อันนี้เห็นในหลายแบรนด์ เพราะเมื่อเอาท์เล็ทเป็นร้านที่รวมของที่ขายไม่ได้ในซีซั่นปกติ และซีซั่นเซล ดังนั้นมันจะขาดแม่เหล็กดูดคนเข้าร้าน เลยจำเป็นต้องป้อนของต่างหากเข้ามาเพื่อดึงคนให้เข้ามาซื้อของ

    ส่วนตัวมองว่า outlet ซื้อได้บางอย่าง อย่างพวกเสื้อผ้า ถ้าไม่ช้ำมาก ไม่เวีบนขายจนช้ำ ก็ถือว่าราคาสมเหตุสมผล แต่บางอย่างก็ไม่ได้ซื้อเช่นรองเท้า เพราะด้วยสภาพกาว มันจะทนทานไม่เท่ารองเท้าที่ใส่ประจำ หรือพวกเครื่องหนังเทียมแบบ pu เพราะจะหลุดลอกตามอายุ คราบกาวก็มีส่วนที่ทำให้คุณภาพของลดลง