รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
เรื่องของขนมจีน
ชื่อที่ชวนให้สงสัยว่าทำไมถึงมีคำว่า “ขนม” แต่เป็นอาหารมีคำว่า “จีน” แต่ไม่เกี่ยวกับประเทศจีน แล้วมันยังไง
เรื่องมีอยู่ว่า….ขนมจีน เป็นอาหารดั้งเดิมของชาวมอญที่เข้ามาตั้งรกรากในไทย ชาวบ้านเรียกเจ้าก้อนแป้งกลมๆ ทำจากข้าวแล้วจัดเรียงเป็นกลุ่มๆ ขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือเรียกว่า “คนอมจิน” ในภาษามอญ คำว่าคนอม แปลว่า จับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ส่วนจิน แปลว่า สุก คนไทยเรียกเพี้ยนมาเป็น “ขนมจีน”
ส่วนคนไทย ก็รับเอาวัฒนธรรมการบริโภคขนมจีนมาเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ งานบวช งานเลี้ยง มักจะมีการกินกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ สมัยก่อนน่าจะเป็นแป้งหมักเท่านั้น ส่วนน้ำแกงที่ราดก็จะเป็นน้ำยากะทิและเครื่องเคียงผักสดเป็นส่วนใหญ่
แต่ละภาคกินขนมจีนต่างกัน เช่น
คนภาคกลาง กินขนมจีนกับน้ำพริก น้ำยากะทิ (ใส่กระชาย) และแกงเผ็ด กินกับผักหลายชนิด
คนภาคใต้ กินขนมจีนน้ำยากะทิ (ใส่ขมิ้น ถือเป็น เอกลักษณ์ของทางปักษ์ใต้) และแกงไตปลา (แกงพุงปลา) จะมีรสชาติที่ค่อนข้างเผ็ดร้อน กินกับ “ผักเหนาะ” ผักดิบ ผักต้มกะทิ และผักดอง ไข่ต้มยางมะตูม
คนภาคเหนือ กินขนมจีนกับน้ำเงี้ยวหรือแกงฮังเล ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอาหารประจำถิ่น
รูปคนภาคอีสานกินขนมจีนกับน้ำยาป่า ไม่ใส่กะทิ มีน้ำปลาร้าเป็นตัวชูรส แล้วกินกับผักท้องถิ่น และยังนำมาใส่ในส้มตำเรียกว่า “ตำซั่ว” อีกด้วย