5 รูปแบบแอปพลิเคชันยอดนิยมตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คนในภูมิภาคอาเซียน


การศึกษาของ Google, Temasek และ Bain & Co เผยว่า ในทุกๆ วันจะมีผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 50,000 คน เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตในช่วงระหว่างปี 2015-2019 และมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นจาก 100 ล้านคน เป็น 360 ล้านคนในปี 2019

โดยผู้ใช้งาน 90% ของ 360 ล้านคน ใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ จึงทำให้โมบายล์แอปพลิเคชันกลายเป็นที่นิยมในที่สุด โดยในบทความนี้เราจะมาดูผลสำรวจกันว่าแอปพลิเคชันรูปแบบไหนที่ผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นิยมใช้งานกันมากที่สุด

1.อีคอมเมิร์ซ และเรียกรถ

แอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ และเรียกรถ กลายเป็นที่นิยมของผู้คนในภูมิภาคอาเซียน โดยมีบริษัทผู้ให้บริการชั้นนำของโลก ทั้ง Grab , Gojek, Lazada โดยผู้ใช้อีคอมเมิร์ซเพิ่มสูงขึ้น 150 ล้านคนในปี 2019 จากเดิม 49 ล้านคนในปี 2015 ขณะที่ผู้ใช้แอปพลิเคชันเรียกรถก็เพิ่มขึ้น 5 เท่า คิดเป็นจำนวน 40 ล้านคนในปี 2019

 

 

จากข้อมูลชี้ว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ และเรียกรถ กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนนับล้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่ๆ ที่ต้องการความสะดวก, คุ้มค่า และสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างง่ายดาย

2.การชำระเงินแบบดิจิทัล

จากการประเมิน พบว่าภายในปี 2025 ทุกการใช้เงิน 2 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะมี 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะใช้ผ่านออนไลน์ ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าแพลตฟอร์มฟินเทค ซึ่งส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การชำระเงินแบบดิจิทัล รวมถึงบริการด้านการเงินอื่นๆ

 

 

สอดคล้องกับงานวิจัยออนไลน์ที่พบว่าบริการด้านการเงินมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าผู้คนส่วนใหญ่มักจะนิยมใช้บริการผ่านช่องทางออฟไลน์ อย่างไรก็ตาม ชาวสิงคโปร์ 60% และชาวเวียดนาม 50% มีความต้องการซื้อบริการทางการเงินเพื่อทำการวิจัยออนไลน์ ส่วนชาวอินโดนีเซีย 72% ใช้เกตเวย์ออนไลน์ในการหาข้อมูลเรื่องสินเชื่อ

3.เชื่อมต่อสังคม, การทำงาน

ผู้คนในอาเซียนยังคงไว้วางใจ Google Docs สำหรับใช้วางแผนการทำงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนใช้ติดต่อสื่อสารข้ามโลกแบบไร้พรมแดน อีกทั้งเรายังเห็นการใช้แอปพลิเคชันวิดีโอทำการรีวิวสินค้า และเสนอบริการอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ

 

 

ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายทางภาษา ดังนั้นแอปพลิเคชัน Google Translate สามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ในระดับหนึ่ง โดยแอปพลิเคชันเรียกรถ และการเดินทาง มักใช้ Google Translate สื่อสารแบบเรียลไทม์ระหว่างผู้ใช้งานกับผู้ให้บริการ

4.ค้นหาเส้นทาง

แอปพลิเคชันที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสถานที่ และธุรกิจ หรือแม้กระทั่งแนะนำเส้นทางไปยังจุดหมาย เป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่ถูกใช้มากที่สุดในปี 2019 โดยเฉพาะ Waze, Google Maps ซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็น การอัพเดตสภาพการจราจรบนท้องถนน, ให้รายละเอียดข้อมูลการเดินทาง เช่น เวลาที่ใช้เดินทางไปยังจุดหมาย ตลอดจนการบอกรายละเอียดของสถานที่ตั้ง, การเปิดปิดของร้านค้า

 

 

5.ความบันเทิงทุกที่ทุกเวลา

สื่อออนไลน์กลายเป็นช่องทางที่มีการขยายตัว 4 เท่า ในช่วงระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา โดยสร้างมูลค่ามากกว่า 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2019 และคาดการณ์ว่าจะเติบโตมีมูลค่าสูงถึง 32,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2025

 

 

สำหรับแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมคงหนีไม่พ้นคอนเทนต์ด้านสตรีมมิ่งวิดีโอ และเพลง ที่ผู้บริโภคในอาเซียนมักเสพเพื่อความบันเทิง เช่นเดียวกับการโฆษณาบนออนไลน์ที่มีการขยายตัวในภูมิภาคนี้อย่างมีนัยสำคัญ

ตามรายงานของ Google Trends เผยว่าแบรนด์สตรีมมิ่งวิดิโอ ไม่ว่าจะเป็น Hooq, iFlix, Netflix และ Viu จะเติบโตสูงถึงกว่า 5 เท่าในมาเลเซีย ขณะที่ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ เติบโตถึง 7 เท่า ในช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ส่วนแอปพลิเคชันวิดีโออย่าง BIGO LIVE และ TikTok รวมถึงแพลตฟอร์มเกมบนโทรศัพท์มือถือ เช่น Garena’s Free Fire ต่างเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้เช่นกัน

ที่มา: entrepreneur