บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เมนูยอดฮิตเด็กไทย ภัยเงียบโรคขาดสารอาหาร


บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกผู้คนทั่วไป ด้วยราคาที่ถูก มีขั้นตอนการประกอบอาหารที่ไม่ยุ่งยาก และหาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าทั่วไป จึงทำให้เป็นเมนูที่หลายคนเลือกซื้อไว้ในที่พักอาศัย

อย่างไรก็ตาม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกำลังจะทำให้เด็กๆ ในอาเซียนเป็นโรคขาดสารอาหารจากการบริโภคในจำนวนที่มากจนเกินไป โดยเฉพาะในประเทศฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่แม้จะมีเศรษฐกิจเฟื่องฟู แต่ด้วยภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น ตลอดจนผู้ปกครองทำงานมักจะทำงาน, ไม่มีเวลา รวมถึงไม่ใส่ใจในเรื่องโภชนาการ จึงทำให้เด็กเลือกที่จะบริโภคบะหมี่สำเร็จรูป

ตามรายงานของ Unicef ระบุว่า 3 ประเทศที่กล่าวมาข้างต้นร้อยละ 40 ของเด็กอายุ 5 ขวบ เป็นโรคขาดสารอาหาร ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก โดย Henrietta Fore ผู้อำนวยการของ Unicef กล่าวว่า หากเด็กยังรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เรากำลังจะพ่ายแพ้กับการต่อสู้กับการให้พวกเขาได้รับโภชนาการที่ดี

ด้าน Hasbullah Thabrany ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของอินโดนีเซีย ซึ่งให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว AFP พูดถึงเรื่องนี้ว่า ครอบครัวส่วนใหญ่คิดว่าการที่ทำให้ลูกได้รับอาหารจนอิ่มท้อง คือเรื่องสำคัญที่สุด แต่ไม่ได้คิดถึงสารอาหารที่จะได้รับ ไม่ว่าจะเป็น โปรตีน, แคลเซียม หรือไฟเบอร์ สอดคล้องกับ Mueni Mutunga ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการของ Unicef ที่กล่าวว่าครอบครัวมีแนวโน้มที่จะจัดอาหารแบบดั้งเดิม, ราคาไม่แพง และง่ายต่อการรับประทาน

Mueni Mutunga ยังพูดต่อไปว่า ปัจจัยด้านความยากจนก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน โดยอินโดนีเซียกลายเป็นประเทศที่มีการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากเป็นอันดับ 2 ของโลก คิดเป็น 12.5 ล้านซอง รองจากจีน ในปี 2018

แม้ว่าฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และมาเลเซีย จะเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง แต่ประชาชนหลายสิบล้านรายยังคงต้องตรากตรำทำงานเพื่อหารายได้ให้เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต

สำหรับประเทศไทย การบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็อยู่ในอัตราที่น่ากังวลอยู่ไม่ใช่น้อย โดยข้อมูลจาก World Instant Noodles Association พบว่าไทยอยู่ในอันดับ 9 ซึ่งมีอัตราการบริโภคอยู่ที่ 3,460 ล้านซองต่อปี

ที่มา:thestar