รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
กรมการแพทย์ เตือนคนวัยทำงานหรือวัยหนุ่มสาว ระวังภัยโรคเอ็มเอส แขนขาอ่อนแรง ชาตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย มีปัญหาในการเดิน การทรงตัว ตามัวมองไม่เห็น
นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคมัลติเพิลสเคอโรสิส หรือโรคเอ็มเอส คือโรคที่เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นประสาทในสมองและไขสันหลัง สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่แน่ชัด จากข้อมูลพบว่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เช่น ความไม่สมดุลของภูมิคุ้มกัน การติดเชื้อไวรัสบางชนิด
โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายและในช่วงวัยทำงาน อายุเฉลี่ยประมาณ 20-40 ปี โดยผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง ตามองไม่เห็นหรือมองภาพซ้อน มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืน การออกเสียง สะอึก ปวดแสบร้อน หรือคล้ายไฟชอร์ต การทรงตัวที่ผิดปกติ ภาวะเมื่อยล้า ปัญหาด้านความจำ อารมณ์ ความคิด และการควบคุมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ เป็นต้น
ด้านแพทย์หญิงทัศนีย์ ตันติฤทธิ์ศักดิ์ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ สถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคเอ็มเอส ไม่ใช่โรคติดต่อ ผู้ป่วยแต่ละคนจะแสดงอาการแตกต่างกัน บางคนเป็นหนัก บางคนแสดงอาการเป็นครั้งคราว และไม่สามารถคาดเดา การเกิดอาการได้จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก
วิธีการรักษาปัจจุบันยังไม่มีการรักษาแบบให้หายขาด แต่เป็นการรักษาเพื่อฟื้นฟูร่างกายและควบคุมอาการไม่ให้แย่ลง โดยแบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ
1.รักษาด้วยยา ตามอาการของผู้ป่วย จะเป็นยาที่บรรเทาอาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวด
2. การบำบัด โดยยึดเส้นและออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงลดการสั่น และเพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัว โดยออกกำลังกายที่ไม่หนักมาก รวมทั้งยังเป็นการช่วยยืดเส้นอีกด้วย
ผู้ป่วยเป็นโรคเอ็มเอสควรปฏิบัติตัวดังนี้
-งดสูบบุหรี่ ลดการดื่มแอลกอฮอล์
-ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดิน ว่ายน้ำ ยืดกล้ามเนื้อ
-รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รับประทานผักผลไม้ที่มีเส้นใยช่วยในการขับถ่าย
-หลีกเลี่ยงความเครียด
อย่างไรก็ตาม โรคเอ็มเอสเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ควรหมั่นสังเกตร่างกายของตนเอง หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพื่อจะได้รีบรักษาได้อย่างทันท่วงที