รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
เด็กหนุ่มผู้กล้าหาญที่ขับรถระยะทางไกลในทุกวันหยุด เพื่อไปซื้อโดนัท Krispy Kreme ครั้งละหลายร้อยกล่อง เอามาขายต่อในเมืองที่มีความต้องการ “โดนัท” สูง แต่ทุกอย่างต้องจบลงเมื่อเขาได้รับโทรศัพท์จากเจ้าของสินค้า
ไม่มีร้านค้า Krispy Kreme ในมินนิโซตามาเป็นเวลานานถึง 11 ปีแล้ว ทำให้นักศึกษาหนุ่มอย่าง Jayson Gonzalez อายุ 21 ปี มองเห็นช่องว่างที่เกิดขึ้นนี้ เขาทำการลงทุนขับรถจากมินนิโซตาไปยังไอโอวาเป็นระยะทาง 430 กิโลเมตร เพื่อไปยังร้าน Krispy Kreme แล้วทำการซื้อโดนัทกว่า 100 กล่อง แต่ละกล่องมีโดนัทอยู่ 12 ชิ้น นั่นคือความจุที่รถของเขาจะใส่เข้าไปได้ ใช่แล้วเขานำโดนัทกลับไปขาย
โดยเขาคิดค่าบริการเพิ่มขึ้นกล่องละ 3 ดอลลาร์ นั่นคือจากเดิมกล่องละ 17 ดอลลาร์ก็ขายไปในราคา 20 ดอลลาร์ ธุรกิจโดนัทของเขาไปได้ดีมีลูกค้าสั่งซื้อจำนวนมาก บางคนสั่งเกือบ 100 ดอลลาร์ต่อครั้ง แน่นอนละเมื่อมันขายดีขนาดนี้ ก็ต้องเป็นข่าวเป็นธรรมดา
ไม่นานนักหลังจากที่ St. Paul Pioneer Press เขียนข่าวถึงเรื่องราวการทำเงินของ Gonzalez เขาได้รับโทรศัพท์จาก Krispy Kreme ที่บอกให้เขาหยุดทำการขายโดนัทด้วยวิธีแบบนี้ เพราะสร้างความเสียหายให้กับยอดขายที่ดูแลพื้นที่ดังกล่าว (ทั้งๆ ที่ไม่มีสาขาอยู่)
ซึ่ง Gonzalez ที่ตอนนี้รู้จักกันดีในชื่อ “The Donut Guy” ก็ไม่ได้ขัดขืนแต่อย่างใด เขาลงข้อความอำลาลูกค้าประจำของเขาใน Facebook ไปเป็นที่เรียบร้อย
*ล่าสุดทาง Krispy Kreme ยอมให้ Gonzalez ดำเนินธุรกิจต่อในบทบาทของ independent operator ไปเรียบร้อย
อ้างอิง: