รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
อ่านแล้วถึงกับต้องแอบยิ้มเบา ๆ เพราะงานวิจัยชิ้นล่าสุดจากมหาวิทยาลัยควีนส์เบลฟาสต์ ประเทศไอร์แลนด์เหนือชี้ให้เห็นว่า “การหลงตัวเอง” แบบพอดี ช่วยสร้างความแข็งแรงให้สุขภาพจิต
คอสตาส ปาปาจอจิอู ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยควีนส์เบลฟาสต์ หนึ่งในผู้เขียนงานวิจัยชิ้นนี้กล่าวว่า คนที่มี “ภาวะหลงตัวเอง” หรือ ภาวะการสนใจตนเองและประเมินค่าตัวเองมากเกินไป อาจช่วยให้เกิดความเข้มแข็งในการต่อสู้กับอาการทางจิตบางประเภท เช่น โรคซึมเศร้าและภาวะเครียด เนื่องจากการหลงตัวเองเป็นกลไกการป้องกันตัวเองของมนุษย์
สำหรับภาวะหลงตัวเองในงานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือภาวะหลงตัวเองที่ถูกเรียกว่า “การหลงตัวเองแบบให้ค่าสูง” (grandiose narcissism) เป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญตัวเองเกินพอดีและสนใจฝักใฝ่กับชื่อเสียง อำนาจ และสถานะของตน และ “การหลงตัวเองแบบอ่อนไหว” (vulnerable narcissism) อยู่ในกลุ่มที่มองว่าการกระทำของคนอื่นมุ่งร้ายกับตน ซึ่งผลลัพธ์จากงานวิจัยชิ้นนี้สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่มีภาวะหลงตัวเองแบบให้คุณค่าตัวเองสูงว่า มีโอกาสลดความเสี่ยงในการประสบกับภาวะเครียดหรือภาวะซึมเศร้า
โดย เรมานิ เดอร์วาซูเล นักจิตวิทยาคลินิก กล่าวเสริมว่า บทสรุปดังกล่าวจำเป็นต้องมองด้วยความระมัดระวัง เพราะงานวิจัยชิ้นนี้ต้องการสนับสนุนความหลากหลายของบุคคล และไม่มองว่าภาวะหลงตัวเองเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี แต่มองว่าเป็นเพียงผลผลิตจากวิวัฒนาการและการแสดงออกของธรรมชาติมนุษย์เท่านั้น
นอกจากนี้งานวิจัยดังกล่าวยังสะท้อนว่า ประชากรวัย 18 – 25 เป็นกลุ่มที่หลงตัวเองที่สุด
ที่มา : CNN