รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ใจจริงก็อยากเฮลตี้รับประทานผักหรือสลัดเพื่อสุขภาพแบบคนอื่น แต่เจ้ายีนตัวร้ายนี่สิคอยขัดขว้าง ทำลิ้นไวต่อรสชาติขมจนเป็นเหตุทำให้หลายคนกินผักน้อยลง
ล่าสุด นักวิจัยเสนอรายงานระหว่างการประชุมสมาคมหัวใจอเมริกัน เรื่องการค้นพบยีนบางตัวที่อาจจะเป็นคำอธิบายว่าทำไมบางคนจึงเกลียดหรือไม่ชอบกินผัก โดยระบุว่าปกติแล้วในปากหรือบนลิ้นของเรานั้นมีปุ่มรับรสประเภทต่าง ๆ อยู่อย่างน้อย 25 ประเภทด้วยกัน และราว 25% ของคนเราจะมียีนที่เรียกชื่อว่า PAV อยู่สองคู่ โดยยีนที่ว่านี้จะสร้างความไวต่อรสขื่นทำให้รู้สึกว่าผักมีรสขมนั่นเอง ซึ่งจะมีปฏิกิริยาเป็นพิเศษต่อผักที่มีสีเขียวเข้มหรือประเภทที่มีลักษณะเป็นดอกหรือเป็นหัว เช่น หัวกะหล่ำ กะหล่ำปี หรือผักคะน้า เป็นต้น
นักวิจัยกล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ที่มียีนดังกล่าวจะรับรสของผักเหมือนกับรสชาติของกำมะถัน ทำให้เกิดความไม่ชอบในรสชาตินั้น และผลการวิจัยระบุด้วยว่า คนที่มียีนรับรสขมแบบนี้มีแนวโน้มจะทานผักน้อยกว่าผู้ที่ไม่มียีนดังกล่าวถึงราว 2.6 เท่า
ที่มา : newsroom.heart.org