รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้ากลายเป็นที่นิยมไปทั่วโลก เนื่องจากคำกล่าวอ้างของผู้ผลิตว่าปลอดภัยกว่าการสูบบุหรี่ปกติแบบมวน
โดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอพบว่า นิโคตินที่เกิดจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าจะเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตและส่งผลกับหัวใจโดยตรง ทำให้หลอดเลือดเสียหาย เช่นเดียวกับการสูดอากาศที่มีมลพิษเข้าสู่ร่างกาย แต่นิโคตินที่พบในบุหรี่มวนทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ บุหรี่ไฟฟ้ายังมีสารฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งถูกจัดอยู่ในสารก่อมะเร็ง และอนุภาคขนาดเล็กจากการสูบทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือด จนเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคความดันสูง ส่วนสารปรุงแต่งกลิ่นต่าง ๆ ยังไม่พบความเป็นไปได้ในการก่ออันตรายของสุขภาพ
ทั้งนี้ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าตัวเลขผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มจาก 7 ล้านคนในปี 2011 เป็น 41 ล้านคนในปี 2018 เนื่องจากมีรูปลักษณ์และรสชาติที่ดึงดูดผู้ใช้วัยรุ่น อีกทั้งผู้ผลิตยังโฆษณาชวนเชื่ออย่างหนักหน่วงว่าปลอดภัยกว่าบุหรี่มวน เฉพาะที่สหรัฐพบนักเรียนมัธยมปลายถึง 1 ใน 4 ใช้บุหรี่ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นจาก 2 ปีก่อน 15%
แม้ปัจจุบันจะมีคำสั่งห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าหรือนิโคตินเหลวแล้วใน 39 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย แต่ก็ยังมีการลักลอบนำเข้าและวัยรุ่นหลายคนยังคงใช้บุหรี่ไฟฟ้าอยู่
ที่มา : sciencemediacentre