เมืองต่างๆ ทั่วโลกใช้เทคโนโลยีอะไรในการแก้ปัญหาขยะ


ในแต่ละปีทั่วโลกมีการสร้างขยะขนาด 2 พันล้านตัน อ้างอิงตามข้อมูลของธนาคารโลก ซึ่งขนาดของกองขยะทั่วโลกเทียบเท่ากับน้ำหนักของมหาปิรามิดกันเลยทีเดียว

เรื่องนี้ส่งผลให้ตลาดการจัดการขยะทั่วโลกกำลังเฟื่องฟูคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 530 พันล้านเหรียญในปี 2025 ตามข้อมูลการรายงานของ Allied Market Research

ทำให้เมืองต่างๆ ทั่วโลกต่างก็กำลังหาวิธีจัดการปัญหาขยะกันอย่างเต็มที่ มาดูกันว่าแต่ละเมืองมีวิธีจัดการกันอย่างไรบ้าง

เมืองโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก ทำการเปิดโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ โรงงานที่เผาขยะแทนที่จะเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลสามารถแปลงขยะเป็นพลังงานได้ปีละ 450,000 ตัน ส่งไฟฟ้าให้ 30,000 ครัวเรือน แต่มันก็ยังมีปัญหาเรื่องการปล่อย CO2 จากการเผาไหม้ แต่ก็มีการวางแผนที่จะติดตั้งระบบเพื่อดักจับคาร์บอนที่ถูกปล่อยออกมาจากกระบวนการเผา.

ส่วนเมืองแอดดิสอาบาบาของเอธิโอเปีย เมืองเซินเจิ้นของจีน และเมืองฮานอยในเวียดนาม กำลังมีแผนที่จะสร้างโรงงานผลิตพลังงานจากขยะเช่นเดียวกัน แต่การที่จะทำแบบนั้นได้เมืองนั้นๆ ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งของระบบการรวบรวมขยะที่มีอยู่แล้วก่อน ถึงจะนำไปใช้ทำเป็นพลังงานได้

ในสิงคโปร์และกรุงโซลของเกาหลีใต้ มีการติดตั้งถังขยะอัจฉริยะที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ตั้งอยู่ตามท้องถนน แต่ละถังจะมีเครื่องบีบอัดขยะในตัว ทำให้ถังสามารถเก็บขยะได้มากขึ้น และเมื่อขยะเต็มถังมันจะส่งสัญญาณแจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่ให้มาทำการเก็บขยะ

สำหรับเมืองออสโลของนอร์เวย์ ได้ออกแบบวิธีการเก็บขยะที่ชาญฉลาด โดยใช้วิธีนี้มาตั้งแต่ปี 2555 โดยให้ชาวเมืองใช้ถุงที่มีสีแตกต่างกันสำหรับขยะประเภทต่างๆ และแทนที่จะต้องทำการแยกถังและใช้รถคนละคันเพื่อเก็บขยะตามชนิดของมัน ด้วยวิธีนี้จะเป็นการเก็บทุกอย่างในครั้งเดียว แล้วไปทำการแยกขยะตามสีของถุงด้วยเครื่องอัตโนมัติ

หันกลับมาดูบ้านเรา ยังไม่มีหน่วยงานไหนออกมาให้ความสำคัญกับเรื่องของขยะและวิธีกำจัด ให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมกันเลย

อ้างอิง: